รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
22 กรกฎาคม 2564
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
เมื่อวันพุธที่ 21 กรกฎาคม 2564 ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ผศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับ“กล่องรอดตาย” ต้นแบบช่วยผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาตัวที่บ้านระหว่างรอเตียง ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กับสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้น ลดความเสี่ยงต่อการป่วยหนักและเสียชีวิต
ภายใน “กล่องรอดตาย” ประกอบด้วยปรอทวัดไข้ 1 แท่ง เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว 1 เครื่อง ยาพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัม 5 แผง ยาฟ้าทะลายโจรแบบแคปซูล 450 มิลลิกรัม 1 กระปุก หน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮอล์ 1 หลอด บนกล่องจะมี QR code ที่ผู้ป่วยสามารถสอบถามอาการ และทำตามคำแนะนำในคลิปวิดีโอได้
ผศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยถึงการนำกล่องรอดตายมาใช้งานจริงว่า กล่องรอดตายนี้จะใช้งานควบคู่กับรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษพระราชทาน ที่ออกตรวจเชิงรุกตามพื้นที่ต่างๆ หากพื้นที่ไหนพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เจ้าหน้าที่จะแจกกล่องต้นแบบนี้ให้ผู้ป่วยไปดูแลตัวเองในเบื้องต้น ที่ผ่านมาได้ผลิตกล่องรอดตายไปแล้วกว่า 1,000 กล่อง และจะทำอย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ขอเชิญนักอ่าน อ่าน E-book ฟรี ที่ ฬ book club
SHECU เชิญร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการในงาน Chula Safety 2022
15 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 – 12.00 น. และ 13.30 – 15.30 น.
Zoom และชั้น 2 อาคารเฉลิมราชสุดากีฬาสถาน
กิจกรรมพัฒนาศักยภาพในการสร้างนวัตกรรมการปฏิรูปประเทศ “เวลาแห่งนวัตกรรม….สู่การปฏิรูป กับสำนักงาน ป.ย.ป.”
สมัครเรียนออนไลน์หลากหลายวิชาน่าสนใจกับ CHULA MOOC ประจำเดือนสิงหาคม 2565
จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “Decentralized Finance and Blockchain” ภายใต้ความร่วมมือผ่าน Degree Plus
อธิการบดีจุฬาฯ ต้อนรับนิสิตจุฬาฯในโอกาสเปิดภาคการศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2565
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้