รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
4 สิงหาคม 2564
ข่าวเด่น
จากการบรรยายเรื่อง “ประเด็นสำคัญในการเก็บและการเตรียมวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ของ Pfizer-BioNTech” EP.2 ซึ่งคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 เพื่อตอบข้อสงสัยและเตรียมความพร้อมแก่เภสัชกรที่รับผิดชอบในการรับมอบวัคซีนชนิด mRNA จาก Pfizer และป้องกันความผิดพลาดในการจัดการวัคซีน
ผศ.ภก.ดร.บดินทร์ ติวสุวรรณ และ ผศ.ภญ.ดร.ณัฏฐดา อารีเปี่ยม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ให้ข้อมูลว่า ในเบื้องต้นคาดว่าวัคซีนจะถูกจัดส่งไปถึงโรงพยาบาลต่างๆ ด้วยอุณหภูมิ -70 องศาเซลเซียส ทางโรงพยาบาลจะเก็บรักษาวัคซีนในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส เมื่อเก็บในตู้เย็นแล้ว วัคซีนจะมีอายุเพียง 1 เดือน หรือ 31 วันเท่านั้น
ผศ.ภก.ดร.บดินทร์ และ ผศ.ภญ.ดร.ณัฏฐดา ได้เผยถึงข้อกังวลในเรื่องการขนส่งวัคซีนจาก โรงพยาบาลต้นทางที่รับกระจายวัคซีนต่อไปยังหน่วยงานย่อย จะต้องมีการควบคุมอุณหภูมิตลอดการขนส่ง รวมถึงประเด็นเรื่องการป้องกันไม่ให้วัคซีนกระทบกระแทก เนื่องจากโครงสร้างของวัคซีน mRNA ค่อนข้างบอบบาง การบรรจุยาในภาชนะเพื่อการขนส่งจึงเป็นความท้าทายที่เภสัชกรต้องวางแผนเตรียมการไว้แต่เนิ่นๆ
นอกจากนี้ยังมีข้อกังวลในเรื่องวัคซีนชนิด mRNA ซึ่งมีความแตกต่างในการผสมและการบริหารจัดการ เนื่องจากรูปแบบของวัคซีนที่มีความเข้มข้น ต้องเจือจางด้วย 0.9% NaCl solution for injection ก่อนใช้ การเติมตัวทำละลาย การทำให้เข้ากันและการดูดใส่เข็มฉีดยาเพื่อนำไปฉีดต้องทำด้วยความระมัดระวัง วัคซีนที่เจือจางพร้อมใช้ 1 ขวด หากดูดวัคซีนด้วยเข็มฉีดยาที่มีปริมาตรยาตกค้างต่ำจะสามารถดูดวัคซีนและนำไปฉีดได้ 6 โดส เมื่อวัคซีนถูกเจือจางที่อุณหภูมิห้องไม่เกิน 30 องศาเซลเซียสแล้ว จะมีอายุเหลือเพียง 6 ชั่วโมงเท่านั้น
(ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้จาการบรรยาย “ประเด็นสำคัญในการเก็บและการเตรียมวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ของ Pfizer-BioNTech” EP.2)
https://www.facebook.com/Pharmacy.CU/videos/552667025888019/
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดงานเสวนา “ชวนคุยชวนคิด ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร”
17 ต.ค. 67 เวลา 18.00 น.
Facebook Live
เตือนภัย : ข่าวปลอม!! กรุณาอย่ากดลิงก์ใดๆ!!
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ แถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS)” เปิดคอร์สออนไลน์และกิจกรรมเสริมทักษะการผลิตภาพยนตร์
จุฬาฯ จัดงาน Chulalongkorn University’s Open House for International Programs 2025 แนะนำหลักสูตรภาษาอังกฤษของจุฬาฯ สู่การเป็นผู้นำทางการศึกษาระดับนานาชาติ
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ปัตตานี คว้ารางวัลระดับชาติ โล่ประกาศเกียรติคุณ “ผู้มีคุณูปการต่อเยาวชนมุสลิมดีเด่นแห่งชาติ” สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ศ.ดร.นพ.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล อดีตรองอธิการบดีจุฬาฯ ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่น ประเภทบริหาร ด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2567 จากกระทรวงสาธารณสุข
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้