ข่าวสารจุฬาฯ

วิศวฯ จุฬาฯ พัฒนาเครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนอัตโนมัติ รมว.สธ. ชมการสาธิตใช้งาน

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมมือกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และภาคเอกชน พัฒนาเครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนอัตโนมัติ (Automate Vaccine) ช่วยดูดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า บรรจุลงเข็มฉีดยาได้อย่างแม่นยำ รวดเร็ว 4 นาทีทำได้ 12 เข็ม ทำให้มีวัคซีนเพิ่มขึ้น 20% ลดภาระงาน เตรียมนำมาใช้งานจริง

ในการนี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ได้ร่วมรับชมการสาธิตต้นแบบเครื่องแบ่งและบรรจุวัคซีนด้วยระบบอัตโนมัติ เมื่อวันอังคารที่ 3 สิงหาคม 2564 ที่กระทรวงสาธารณสุข

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า วัคซีน AstraZeneca เป็นวัคซีนชนิดบรรจุหลายโดส โดย 1 ขวดใช้สำหรับฉีด 10 โดส โดสละ 0.5 มิลลิลิตร แต่ผู้ผลิตบรรจุวัคซีนมาให้เกิน คือบรรจุมา 6.5 มิลลิลิตร ที่ผ่านมาบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกฝน มีทักษะสามารถดูดวัคซีนได้มากถึง 11-12 โดสต่อขวด โดยต้องใช้เข็มฉีดยาชนิดที่ลดปริมาณยาคงค้างในกระบอกฉีดยา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จึงร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และภาคเอกชน พัฒนานวัตกรรมเครื่องแบ่งและบรรจุวัคซีนด้วยระบบอัตโนมัติ ทำให้การดูดวัคซีนและแบ่งบรรจุวัคซีนแต่ละโดสมีความแม่นยำตามที่กำหนด

ในการแบ่งบรรจุวัคซีนนั้น เจ้าหน้าที่จะเตรียมเข็มฉีดยาวางไว้บนแท่นจำนวน 12 หลอด จากนั้นนำขวดวัคซีนวางไว้ในจุดที่กำหนด เครื่องจะดูดวัคซีนออกมาจนหมดขวดโดยใช้หัวดูดสุญญากาศ ใช้หลักการดูดของเหลว โดยมี Air Cushion ทำให้วัคซีนไม่สัมผัสกับหัวดูดโดยตรงแล้วจะเคลื่อนไปแบ่งบรรจุลงเข็มฉีดยาตามจำนวนที่กำหนด คือ 0.5 มิลลิลิตรเท่ากันทั้ง 12 หลอด เครื่องทำงานแบบสายพาน ทำให้แบ่งบรรจุวัคซีนลงหลอดฉีดยาอย่างต่อเนื่อง แม่นยำ และรวดเร็ว โดยใช้เวลาประมาณ 4 นาที จากนั้นปิดหลอดด้วยเข็มฉีดยา และนำมาเก็บใส่ถาดบรรจุวัคซีนเพื่อนำไปใช้ฉีดต่อไป

เครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนดังกล่าวจะช่วยแบ่งเบาบุคลากรทางการแพทย์ในการดูดวัคซีนออกจากขวด ได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว ทำให้มีวัคซีนในการฉีดเพิ่มขึ้น 20% ช่วยให้จุดฉีดวัคซีนขนาดใหญ่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยลดการใช้เข็มฉีดยาชนิดที่ลดปริมาณยาคงค้างในกระบอกฉีดยา นอกจากนี้ ยังมีความปลอดภัยเพราะกระบวนการไม่ทำให้เกิดการปนเปื้อน เข็มและหลอดฉีดยาที่แบ่งบรรจุจะถูกเปลี่ยนใหม่ทุกครั้ง จึงไม่มีโอกาสเจือปนกันของวัคซีนแต่ละขวด ส่วนการนำมาใช้งานจริงจะมีการหารือร่วมกันต่อไป

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า