รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
7 สิงหาคม 2564
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
เมื่อวันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม 2564 ณ อาคารจามจุรี 9 ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี จุฬาฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการจัดบริการฉีดวัคซีนป้องกัน โควิด-19 จุฬาฯ (CU VP) ผศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ประธานหลักสูตรวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ อ.ศรันย์ กีรติหัตถยากร สำนักบริหารหลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯร่วมงานเปิดตัวนวัตกรรม”เครื่องแบ่งวัคซีนด้วยระบบอัตโนมัติ” (Automate Vaccine) ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และภาคเอกชนพัฒนาขึ้น ซึ่งมีการนำมาใช้จริงแล้วที่ศูนย์บริการวัคซีน จุฬาฯ อาคารจามจุรี 9
ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี จุฬาฯ กล่าวว่าปัญหาในการฉีดวัคซีนที่เกิดขึ้นมีอยู่สองประเด็น คือ เรื่องความละเอียดถี่ถ้วนในการฉีดวัคซีน โดยใช้ปริมาณวัคซีนที่ถูกต้อง ซึ่งปัจจุบันต้องใช้แรงงานคนในการแบ่งบรรจุวัคซีน การนำเครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนอัตโนมัตินี้เข้ามาใช้จะเป็นประโยชน์ในเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัย และอีกประเด็นคือเรื่องของความจำกัดของปริมาณวัคซีนที่กระจายสู่ประชาชน หากเราสามารถแบ่งบรรจุวัคซีนได้แม่นยำ ก็จะช่วยประหยัดวัคซีน ทำให้ไม่เสียเปล่า เป็นการใช้วัคซีนให้คุ้มค่าที่สุด
ผศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ทางคณะฯ ได้รับโจทย์โดยตรงจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่เล็งเห็นปัญหาของการแบ่งบรรจุวัคซีนแอสตราเซเนกาซึ่งเป็นวัคซีนที่บรรจุมาในแบบหลายโดสใน 1 ขวด (multiple dose) โดย 1 ขวด บรรจุ 13 โดส สามารถแบ่งฉีดได้ 10 โดส ซึ่งการดูดวัคซีนขึ้นมาแบ่งบรรจุโดยบุคลากรทางการแพทย์ แต่ละรอบจะมีการสูญเสียวัคซีนเกิดขึ้น หากมีวิธีที่จะรักษาโดสที่เกินมาในแต่ละขวดได้ ก็จะเป็นการเพิ่มจำนวนวัคซีนซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของประชาชนเป็นอย่างมากในขณะนี้ เครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนดังกล่าวสามารถดูดวัคซีนออกจากขวดได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว และสามารถแบ่งบรรจุได้ถึงขวดละ 12 โดส ทำให้มีวัคซีนในการฉีดเพิ่มขึ้น 20% ทั้งยังช่วยแบ่งเบาภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ในการแบ่งบรรจุวัคซีน
ในการทำงานของเครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนอัตโนมัติ เจ้าหน้าที่จะต้องเตรียมเข็มฉีดยาวางไว้บนแท่นจำนวน 12 หลอด จากนั้นนำขวดวัคซีนวางไว้ในจุดที่กำหนด เครื่องจะดูดวัคซีนออกมาจนหมดขวดโดยใช้หัวดูดสุญญากาศ โดยใช้หลักการดูดของเหลว พร้อม Air Cushion ทำให้วัคซีนไม่สัมผัสกับหัวดูดโดยตรง จากนั้นจะเคลื่อนไปแบ่งบรรจุลงเข็มฉีดยาตามจำนวนที่กำหนด คือ 0.5 มิลลิลิตรเท่ากันทั้ง 12 หลอด ตัวเครื่องทำงานแบบสายพาน ทำให้แบ่งบรรจุวัคซีนลงหลอดฉีดยาอย่างต่อเนื่อง แม่นยำ และรวดเร็ว โดยใช้เวลาประมาณ 4 นาทีเท่านั้น จากนั้นปิดหลอดด้วยเข็มฉีดยา และนำมาเก็บใส่ถาดบรรจุวัคซีนเพื่อนำไปใช้ฉีดต่อไป
นอกจากนี้ นวัตกรรมเครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนอัตโนมัติ ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการแบ่งบรรจุวัคซีนทางเลือกอื่นๆ ที่เป็นประเภทหลายโดสใน 1 ขวดได้ด้วยเช่นกัน
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวน “สนทนาประสาวานร” ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 21
วันที่ 2 เมษายน 2566 เวลา 11.00 - 12.00 น.
เวทีกลาง ฮอลล์ 5 – 7 ชั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
จุฬาฯ พัฒนา MyCourseVille เครื่องมือการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ตอบโจทย์การเรียนรู้ยุคใหม่
โครงการ CU Blood ชวนร่วมบริจาคโลหิต พร้อมรับของที่ระลึก
จุฬาฯ ปันหน้ากากป้องกัน PM 2.5 มอบให้กระทรวงมหาดไทย
สัมมนาถ่ายทอดความรู้ Chula Dairy School Episode.2 The next step
วันที่ 29 มีนาคม 2566 เวลา 09.30 - 14.00 น.
ห้องประชุม ศ.ดร.บุญรอด บิณฑสันต์ ชั้น 2 อาคารสระบุรี 4 ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
จุฬาฯ จัดโครงการ Chula SDG : Beyond Leading Change รุ่นที่ 3
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้