รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
24 สิงหาคม 2564
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, งานวิจัยและนวัตกรรม
คณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรหน่วยชีวเคมี ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ คว้าสามเหรียญทอง การประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในงาน “2021 Japan Design, Idea and Invention Expo” (JDIE 2021) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 – 20 สิงหาคม 2564 ณ เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น
นวัตกรรมสามเหรียญทอง จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประกอบด้วย
นวัตกรรมนาโนเจลสูตรน้ำสำหรับทดแทนการอาบน้ำสำหรับสัตว์เลี้ยงป่วย หลังทำวัคซีน หรือมีบาดแผลซึ่งห้ามโดนน้ำ (An Innovative Bath-substituting HydroNanogel for Ill, Vaccinated or Wounded Pet Animals)
ผลงานของ อ.ดร.ธีรพงศ์ ยะทา และคณะ ซึ่งพัฒนานวัตกรรมเพื่อใช้ในกรณีที่ต้องงดหรือหลีกเลี่ยงการอาบน้ำให้สัตว์เลี้ยงตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ เช่น สัตวเลี้ยงป่วย หลังการทำวัคซีน หรือสัตวเลี้ยงมีบาดแผล ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ต้องดูแลสัตว์เลี้ยงในการรักษาความสะอาด กำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ซึ่งห้ามโดนน้ำ ซึ่งมีโอกาสทำให้สัตว์เลี้ยงป่วยหนักกว่าเดิมได้ รวมไปถึงสัตว์เลี้ยงที่มีบาดแผล ซึ่งการอาบน้ำอาจทำให้แผลเปียกและเกิดการติดเชื้อ อาจทำให้แผลลุกลาม ใช้เวลาในการรักษาแผลนานกว่าเดิม
รับชม VIDEO PRESENTATION ที่ https://www.youtube.com/watch?v=-vXKqSFFpy8
นวัตกรรม “สเปรย์สมุนไพรนาโนสูตรเย็นบรรเทาอาการปวดเมื่อย” (An Innovative PhytoNano-MyoSpray: A Pain Relief Spray from Nanostructured Lipid Carriers carrying Herbal Extracts)
ผลงานของ น.ส.วราภรณ์ โชติสวัสดิ์ นางอิญญา บินซัน ผศ.สพ.ญ.ศริยา อัศวกาญจน์ และ อ.ดร.ธีรพงศ์ ยะทา ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ประกอบด้วยสมุนไพรสำคัญสองชนิด คือน้ำมันระกำ และสารสปิแลนทอลจากผักคราดหัวแหวน ซึ่งมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย โดยได้นำสมุนไพรทั้งสองชนิดมาปรับให้อยู่ในรูปอนุภาคนาโนเพื่อช่วยให้สมุนไพรสามารถซึมผ่านผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยาวนานขึ้น
รับชม VIDEO PRESENTATION ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=NtQQxln788w
นวัตกรรม “โบทิน่า แอคเมลลา นาโนเอนแคปซูเลท เฟเชียล สลีพพิ้ง มาส์ก” (Acmella NanoEncapsulated Particle Facial Sleeping Mask)
ผลงานของ อ.ดร.ธีรพงศ์ ยะทา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับบริษัท ทีเอส อินเตอร์เทรด จำกัด และหน่วยวิจัย ซึ่งเป็นการพัฒนานาโนเวชสำอางเพื่อการลดเลือนริ้วรอยแห่งวัยแบบ Sleeping Mask มีส่วนผสมหรือองค์ประกอบสำคัญคือ อนุภาคนาโนห่อหุ้มสารสกัด สปิแลนทอล (Spilanthol) จากผักคราดหัวแหวน (Acmella oleracea) พืชสมุนไพรท้องถิ่นของไทย ที่มีกลไกการออกฤทธิ์ที่เหมือนกับโบท็อกซ์ แต่สารสกัดสปิแลนทอลมีจุดเด่นสำคัญคือ เป็นสารสกัดจากพืชสมุนไพร ที่มีความปลอดภัยสูง ซึมผ่านผิวหนังได้โดยไม่ต้องฉีด และราคาถูกกว่าการฉีดโบท็อกซ์
ระบบตรวจสอบการลงทะเบียนการเข้ารับการตรวจ ATK สำหรับบัณฑิตจุฬาฯ
โครงการอบรมหลักสูตร Micro MBA
ข้อควรรู้ เรื่องพิธีพระราชทานปริญญาบัตร จุฬาฯ ปีการศึกษา 2563
จุฬาฯ เชิญส่งแรงใจเชียร์นิสิตและนิสิตเก่านักกีฬาจุฬาฯ ชิงชัยมหกรรมกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 31 ที่เวียดนาม 12 – 23 พฤษภาคม 2565
จุฬาฯ ให้บริการฉีดวัคซีน Moderna เข็ม 1 – 4 และเข็มที่ 5 สำหรับนิสิต บุคลากรจุฬาฯ บุคลากรเกษียณอายุ และครอบครัวสายตรงบุคลากร
ธรรมสถานจุฬาฯ เชิญร่วมงานวิสาขบูชาสัปดาห์แห่งธรรม
11-15 พ.ค. 2565
ธรรมสถาน
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย