ข่าวสารจุฬาฯ

นักเรียนสาธิตจุฬาฯ คว้า 8 เหรียญทอง 8 เหรียญเงินการประกวดนวัตกรรมระดับโลกที่ญี่ปุ่น

นักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ คว้ารางวัลแห่งความสามารถทางด้านนวัตกรรมเทียบชั้นนวัตกรมืออาชีพในระดับนานาชาติจากการประกวดผลงานนวัตกรรมระดับโลก “Japan Design, Idea  And Invention Expo (JDIE 2021)” ซึ่งจัดในรูปแบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 18 – 20 สิงหาคม 2564 ณ เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น  โดยคว้ามาได้ 8 เหรียญทอง 8 เหรียญเงิน ด้วยผลงานที่แสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการที่เต็มเปี่ยมของนวัตกรตัวน้อย จากการส่งเสริมและสนับสนุนของโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ และศูนย์นวัตกรรม โรงเรียนสาธิตจุฬาฯฝ่ายประถม เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสสร้างสรรค์นวัตกรรม แม้ในช่วงเวลาที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ไม่สามารถปิดกั้นความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนได้  

นวัตกรคนเก่งจากรั้วสาธิตจุฬาฯ ที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ ประกอบด้วย 3 เหรียญทอง 6 เหรียญเงินจากนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม และ 5 เหรียญทอง 2  เหรียญเงินจากนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯฝ่ายมัธยม 

โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม รางวัลเหรียญทอง

  • “ระบบห้องน้ำอัจฉริยะ ระเบิดความสนุกสำหรับชีวิตวิถีใหม่ (FunPlosion – Smart Bathroom in the New Normal)”
    ผลงานของ ด.ญ.ปราณรัก บ่ายคล้อย ด.ญ.ภารวี หนองหารพิทักษ์ ด.ช.ภูริชา หนองหารพิทักษ์ ด.ช.กวีวัธน์ ศานติวรพงษ์ และ ด.ช.ญาณวัฒน์ กฤษดาธานนท์
    เป็นนวัตกรรมเพื่อตอบสนองการใช้ชีวิตในวิถีใหม่ ตู้อัจฉริยะสามารถตั้งระบบควบคุมอุณหภูมิน้ำ ไฟ เสียง ภาพหน้าจอ และกลิ่นในห้องน้ำ มีอุปกรณ์เสริมฆ่าเชื้อโรค ลดการสัมผัส ควบคุมผ่านแอปพลิเคชันและเสียง
  • “ไอเมดิแคร์ โซลูชั่น (iMedicare Solution)”
    ผลงานของ ด.ญ.ทิตชญา มั่นคง และ ด.ญ.นภัสนันท์ สุเมธพิมลชัย
    เป็นนวัตกรรมในการดูแลผู้สูงอายุ เครื่องจ่ายยาอัจฉริยะและแอปพลิเคชั่นที่​​ช่วยเตือน/บันทึกการใช้ยา ขอความช่วยเหลือ และเชื่อมต่อนัดหมายแพทย์ประจำตัวได้
  • “ชุดอุปกรณ์ช่วยออกกำลังกายในผู้ป่วยติดเตียง (Muvtivate : Muscle and Movement Stimulation Versatility Tool – for Elderly)”
    ผลงานของ ด.ช.ธิปก ตั้งศิริพัฒน์ ด.ญ.จิรัชญา เหมรัญช์โรจน์ ด.ช.ศิรณัฏฐ์ โตวิกกัย ด.ช.ณัฐธรรม โอสรประสพ ด.ญ.ณัฏฐาศิริ โตวิกกัย และ ด.ญ.นารา สถาปิตานนท์ (โรงเรียนบางกอกพัฒนา)
    เป็นนวัตกรรมพัฒนาสมองและพัฒนาข้อต่อและกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหวทุกส่วนอย่างต่อเนื่องด้วยตัวเองได้อย่างปลอดภัย เพื่อผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุ

โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม รางวัลเหรียญเงิน

  • “TRAVEL POTTY ห้องน้ำสัตว์เลี้ยงพกพา”
    ผลงานของ ด.ช.วิน บุญญานุสาสน์ ด.ญ.สลิล บุญญานุสาสน์ ด.ญ.บุญญาดา แสงมณี และ ด.ช.ปรมิศวร์ แสงมณี
    เป็นนวัตกรรมที่ทำให้สัตว์เลี้ยงรู้สึกสบายใจกับการขับถ่าย ใช้งานง่ายไม่เปรอะเปื้อน เก็บล้างทำความสะอาดง่าย 
  • “เครื่องจ่ายวิตามินทันใจ (EFFERVESCENT DISPENSER)”
    ผลงานของ ด.ญ.บุญญาดา แสงมณี ด.ช.ปรมิศวร์ แสงมณี ด.ช.วิน บุญญานุสาสน์ และ ด.ญ.สลิล บุญญานุสาสน์
    เป็นนวัตกรรมสำหรับรวบรวมวิตามินหลากหลายชนิดไว้ด้วยกัน ให้ง่ายต่อการเลือกใช้ ออกแบบให้ใช้งานง่าย ประหยัดเวลา
  • “แปรงสีฟัน 3 รวมเป็น 1 (3 in 1 Travel Toothbrush)”
    ผลงานของ ด.ญ.พริมลักษณ์ บวรวาณิชย์ ด.ช.ทศ บวรวาณิชย์ และ ด.ช.ปวริศร์ ตันตระรัตนะ
    เป็นนวัตกรรมที่ครบครันเรื่องของแปรงสีฟัน ที่มียาสีฟัน และ ไหมขัดฟันในตัว ใช้งานง่ายและสะดวกมาก ประหยัดพื้นที่จัดเก็บ พกพาสะดวก
  • “กล่องสี เอ็มไอวาย (MIY Coloring)”
    ผลงานของ ด.ญ.ปิยสรณี วินะยานุวัติคุณ ด.ญ.ชญาภา ศรีวรวิไล ด.ญ.ปริญ อุดมเกียรติกูล ด.ญ.ปัณฑารีย์​ เลิศฤทธิ์จรัสกิจ และ ด.ญ.พิชา บัณฑิตชุติกุล
    เป็นนวัตกรรมที่ช่วยในการผสมสีให้ได้สีที่ตรงใจและสามารถจดบันทึกส่วนประกอบการผสมสี  ไม่ว่าจะผสมใหม่กี่ครั้งก็จะได้สีเดิมที่ต้องการอยู่เสมอ
  • “คิดส์เพลิน (Kid Play & Learn)”
    ผลงานของ ด.ช. ธิปก ตั้งศิริพัฒน์ ด.ญ.จิรัชญา เหมรัญช์โรจน์ ด.ช.ศิรณัฏฐ์ โตวิกกัย  ด.ช.ณัฐธรรม โอสรประสพ ด.ญ. ณัฏฐาศิริ โตวิกกัย และ ด.ญ.นารา สถาปิตานนท์ (โรงเรียนบางกอกพัฒนา)
    เป็นนวัตกรรมเกมสำหรับเด็กยุคใหม่ที่มีแนวโน้มที่จะติดเกม ติดมือถือมากขึ้น โดยการนำการละเล่นพื้นบ้านของไทยและนำความรู้ทางด้านจิตเวชมาพัฒนาเกม เพื่อส่งเสริมให้เด็กทุกคนเล่นเกมที่ช่วยพัฒนาสมอง สมาธิและส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
  • “Shuttlecock Pro”
    ผลงานของ ด.ญ.ศิริศรัณย์ ดิเรกวัฒนะ ด.ญ.ปัญญากัญญ์ ไตรทางกูร ด.ช.บารเมษฐ์ เจริญชัยสมบัติ และ ด.ช.หฤษฎ ปุณณาภิรมย์
    เป็นนวัตกรรมฝึกทักษะแบดมินตันสามารถปรับใช้รับลูกแบดมินตันได้ตามความสามารถจำนวนลูกที่เข้าเป้าหมาย เก็บสถิติไว้เพื่อวัดทักษะความแม่นยำ และยังสามารถวางแผนการฝึกซ้อมแต่ละรายบุคคล

โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายมัธยม รางวัลเหรียญทอง

  • “โปรแกรมการสอนสะกดนิ้วมือในภาษามืออเมริกันโดยการใช้ปัญญาประดิษฐ์  (INFING: INtelligent ASL FINGerspelling tutoring system)”
    ผลงานของ นายพีระวัฒน์ พันธ์นัทธีร์ จีซู ยุน คำวิลัยศักดิ์ รัชพล ธรรมจาโร นาราภัทร เห็นการไกล  ภิญญดา ธัญญวรรณ์ และ วณิช เชี่ยววณิชชา
    เป็นนวัตกรรมการใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้สำหรับการเรียนรู้ภาษามือแบบอัตโนมัติโดยการใช้เทคโนโลยีการรู้จำท่าสะกดนิ้วมือแบบใหม่
  • “ชุดทดสอบบอแรกซ์ชนิดเจล (Jelly Borax Tube Kit)”
    ผลงานของ นายพิรัชย์ อัศวกาญจน์ ด.ญ.ปภาดา อัศวกาญจน์  น.ส.กัลยรักษ์ อัศวกาญจน์  และ น.ส.รมณ อัศวกาญจน์
    เป็นนวัตกรรมใช้เพื่อทดสอบสารบอแรกซ์ในอาหาร ใช้งานง่าย และไม่ต้องอาศัยความชำนาญในการใช้งาน
  • “Less Snore More Sleep”
    ผลงานของ น.ส.จ้าวไหม ตั้งศิริพัฒน์ ด.ญ.ธันยนันท์ พูนบันดาลสิน ด.ช.มัชฌิชา สุวิชชโสภณ และ ด.ช.กร เหมรัญช์โรจน์
    เป็นนวัตกรรมลดการนอนกรน ปรับสมดุลการนอน ให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัย AI ที่ช่วยตรวจจับการนอนกรน การหยุดหายใจขณะหลับสำหรับผู้ใช้แต่ละบุคคล
  • “โปรแกรมฝึกคลื่นสมองด้วยเทคนิคสะท้อนกลับ ป้องกันสมองเสื่อมและลดปัญหาความรุนแรงจากสมาธิสั้น (TRaIN)”
    ผลงานของ ด.ช.กร เหมรัญช์โรจน์ ด.ช.ธีรภาส อภินันท์กูล และ ด.ช.สุธีพันธุ์ โขวิฑูรกิจ
    เป็นนวัตกรรมจับสัญญาณคลื่นสมอง เพื่อฝึกฝนให้สามารถตั้งสมาธิจดจ่อ คลายความกังวล และเปลี่ยนเป็นการใช้สมาธิที่เพ่งสูงสุด
  • “Up lift shift life”
    ผลงานของ ด.ญ.ธันยนันท์ พูนบันดาลสิน ด.ญ.ณิชาภัทร โกมลบุตร ด.ช.ปัณณทัต จิตรภักดี ด.ญ.นภาพร ลี่ดำรงวัฒนากุล และ นายจีราวัฒน์ พูนบันดาลสิน
    เป็นนวัตกรรมเพื่อให้ผู้ใช้งานนั่งอยู่ในท่าทางที่เหมาะสม ป้องกันการเกิดโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (ออฟฟิศซินโดรม)

โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายมัธยม รางวัลเหรียญเงิน

  • “ปากกาต้านโรคระบาด (Anti-Pandemic Pen)”
    ผลงานของ ด.ช.ธรรมธัช พัวพงษ์พันธ์ และ ด.ช.บุณยกร สัมฤทธิวนิชชา หลิวสุวรรณ
    เป็นนวัตกรรมต่อต้านโรคระบาดจึงได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้ชีวิตง่ายขึ้น มีฟังก์ชันสเปรย์เเอลกอฮอลล์และสบู่เหลวแบบโรลออน
  • “พราวด์(มะ)พร้าว (ECO NUT)”
    ผลงานของด.ญ. ณิชานันท์ ทรัพย์สมพล ด.ญ. ณฐพร พิบูลย์รัตนกิจ และ ด.ญ. ลภัสรดา ภาษีผล
    เป็นนวัตกรรมวัสดุทดแทนพลาสติกและหนังสัตว์จากผลิตผลทางการเกษตรที่สามารถนํามาขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น กระเป๋าสตางค์ กระเป๋าชอปปิง พวงกุญแจ

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า