รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
19 ตุลาคม 2564
ข่าวเด่น, ปฏิทินกิจกรรม
วันอังคารที่ 16 พ.ย. 2564 เวลา 13.00 น.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2564 ไปถวายแด่พระสงฆ์ซึ่งจำพรรษากาลถ้วนไตรมาส ณ วัดบุปผาราม เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ในวันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน 2564 เวลา 13.00 น.
วัดบุปผาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ริมคลองวัดบุปผาราม ถนนเทศบาลสาย 1 แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี เป็นวัดโบราณสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อว่า “วัดดอกไม้” ไม่ปรากฏว่าสร้างขึ้นเมื่อใดและผู้ใดเป็นผู้สร้าง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ได้ทรงร่วมกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) และเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) บูรณปฏิสังขรณ์พระอาราม และพระราชทานนามพระอารามใหม่ว่า “วัดบุปผาราม” ซึ่งวัดแห่งนี้นับเป็นวัดธรรมยุต 1 ใน 10 วัดแรกซึ่งได้ประดิษฐานมาตั้งแต่ครั้งต้นวงศ์คณะธรรมยุตติกนิกาย เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพา วัดบุปผารามถูกระเบิดทำลายเสียหาย พระธรรมวราลังการ (อนุภาสเถร) เจ้าอาวาสขณะนั้นจึงได้ดำเนินการก่อสร้างพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฎีและกำแพงวัดขึ้นใหม่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อปี 2507
วัดบุปผารามมีความสำคัญทั้งในด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและสถาปัตยกรรมแห่งหนึ่งของฝั่งธนบุรีและของประเทศไทย พุทธสถานและถาวรวัตถุที่สำคัญในพระอารามนี้ อาทิ พระอุโบสถ มีลักษณะตามแบบสถาปัตยกรรมทรงไทย พระวิหาร มีลักษณะสถาปัตยกรรมประยุกต์ผสมไทยจีน พระเจดีย์ขนาดกลางและขนาดเล็ก จำนวน 4 องค์ เป็นลักษณะทรงลังกา รูประฆังคว่ำ 2 องค์และทรงสี่เหลี่ยมย่อมุม 2 องค์ สร้างเพื่อประดิษฐานพระสารีริกธาตุ และบรรจุพระพุทธรูป
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอเชิญชวนชาวจุฬาฯ และผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญโดยเสด็จพระราชกุศลเพื่อบำรุงพระอาราม โดยรวบรวมเงินทำบุญส่งให้ศูนย์บริหารกลาง จุฬาฯ
หรือโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกสิกรไทย สาขาจามจุรีสแควร์ ชื่อบัญชี “กฐินพระราชทาน ประจำปี 2564 (วัดบุปผาราม) โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 108-1-558155 หรือบัญชีสหกรณ์ออมทรัพย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำกัด ชื่อบัญชี “กฐินพระราชทานประจำปี 2564 (วัดบุปผาราม)” เลขที่บัญชี 575914 และส่งหลักฐานการโอนเงินทำบุญมาที่อีเมลของศูนย์บริหารกลาง จุฬาฯ central_admin@chula.ac.th
แบบฟอร์มส่งหลักฐานการโอนเงินบริจาค พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2564
https://forms.gle/66cVWNEQix9EZGgU8
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการ International Education & Development Fieldwork ให้นักศึกษา Tohoku University และ Tsinghua University
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกิจกรรมทางศิลปะ ณ ประเทศสิงคโปร์ ภายใต้ความร่วมมือกับ Nanyang Polytechnic โครงการปฏิบัติการด้านการออกแบบอย่างยั่งยืน
คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดงาน “Laฬ Square มหกรรมกฎหมาย เครือข่ายนิติจุฬาฯ สู่สังคม” ยกกฎหมายมาไว้กลางสยาม ให้บริการวิชาการแก่สังคมและประชาชน
ศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาฯ จัดอบรมความรู้ทรัพย์สินทางปัญญาเรื่อง”ระบบวิเคราะห์แนวโน้มสิทธิบัตร”
จุฬาฯ จับมือบริษัท ธิงค์ อาร์ เค จำกัด เปิดตัวโครงการ Chula X VendWeGo® นำเทคโนโลยีดิจิทัลครบวงจรผสานกับปัญญาประดิษฐ์ผ่านจอ VendWeGo® เชื่อมโยงพื้นที่สยามสแควร์ สามย่าน สวนหลวง พื้นที่ต้นแบบนวัตกรรมดิจิทัลสู่อนาคตเมืองอัจฉริยะ
พิธีเปิด-ปิดการแข่งขันกีฬาบุคลากรจุฬาฯ ครั้งที่ 45 ประจำปี 2568 ยิ่งใหญ่ ประทับใจ รวมพลังชาวจุฬาฯ ร่วมกิจกรรมกีฬาเพื่อสุขภาพ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้