รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
28 ตุลาคม 2564
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เป็นวิธีสำคัญที่ช่วยลดการแพร่ระบาด และลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคนี้ได้ ศูนย์บริการวัคซีนจุฬาฯทั้งที่อาคารจามจุรี สแควร์และอาคารจามจุรี 9 ได้ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แก่ประชาคมจุฬาฯ บุคลากรทางการศึกษาและผู้ให้บริการสาธารณะ ด้วยหลักการการให้บริการที่เน้น 3 ป คือ “ปลอดภัย ปูพรม ประสิทธิภาพ” ซึ่งได้รับเสียงชื่นชมอย่างดียิ่งในเรื่องระบบการบริหารจัดการและความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการ ปัจจุบันแนวโน้มสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลายและมหาวิทยาลัยจะเปิดสถานที่ทำการในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ ศูนย์บริการวัคซีนจุฬาฯ อาคารจามจุรี 9 ซึ่งให้บริการฉีดวัคซีนทั้งเข็ม 1 เข็ม 2 และฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 จะมีพิธีปิดศูนย์ในวันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม 2564
นพ.สัณฐิติ ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ เปิดเผยว่า การให้บริการฉีดวัคซีนที่ศูนย์บริการวัคซีนจุฬาฯ อาคารจามจุรี 9 เป็นงานส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคในภาวะวิกฤตโควิด-19 โดยมีการฉีดวัคซีนไปมากกว่า 180,000 โดส การดำเนินงานที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันจากชาวจุฬาฯ ทุกคณะและหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในส่วนต่างๆ ภายในศูนย์บริการวัคซีน ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่จิตอาสาประจำจุดเช็คอิน จุดคัดกรองสุขภาพ จุดลงทะเบียน ฯลฯ มีประชาคมจุฬาฯ และประชาชนมารับบริการเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่เริ่มเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพด้วยการฉีดวัคซีนซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องปรับตัวกับสถานการณ์ รวมทั้งจะต้องเฝ้าระวังการติดเชื้อในพื้นที่มหาวิทยาลัย
ผศ.สรายุทธ ทรัพย์สุข ผู้ช่วยอธิการบดีด้านการพัฒนานิสิต จุฬาฯ ซึ่งรับหน้าที่ประสานงานการฉีดวัคซีนของนิสิตและดูแลความเรียบร้อยหน้างาน กล่าวว่า สำนักบริหารกิจการนิสิตได้วางแผนร่วมกับศูนย์บริการวัคซีนจุฬาฯในการจัดตารางการฉีดวัคซีนให้นิสิต รวมทั้งการเปิดจองการฉีดวัคซีนผ่านทาง CUNEX และอำนวยความสะดวกแก่นิสิตที่มาฉีดวัคซีน นอกจากนี้ทุกวันจะมีเจ้าหน้าที่ของสำนักงานฯ ทำหน้าที่จิตอาสาที่ศูนย์บริการวัคซีนอีกด้วย
“ศูนย์บริการวัคซีนจุฬาฯ ได้รับคำชื่นชมจากผู้มาฉีดวัคซีนว่าเป็นหนึ่งในศูนย์บริการวัคซีนที่มีการบริหารจัดการที่ดีที่สุดและให้บริการได้อย่างดีเยี่ยม เป็นความชื่นใจของจิตอาสาที่มาทำงานร่วมกันเพื่อช่วยเหลือสังคม ซึ่งเป็นประโยชน์ในการทำงานมหาวิทยาลัยในอนาคต” ผศ.สรายุทธ กล่าว
ผศ.ดร.วิเชษฏฐ์ คนซื่อ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งทำหน้าที่อำนวยความสะดวกแก่ชาวจุฬาฯ และประชาชนที่มารับบริการฉีดวัคซีนบริเวณชั้น 1 อาคารจามจุรี 9 เปิดเผยว่า ศูนย์บริการวัคซีนจุฬาฯ อาคารจามจุรี 9 มีการวางระบบการให้บริการที่ดีมาก ประทับใจการทำงานของจิตอาสาที่พร้อมให้ความช่วยเหลือผู้รับบริการทุกคนด้วยความยินดี ขอบคุณพี่น้องชาวจุฬาฯ ที่ทำหน้าที่จิตอาสาอย่างเต็มที่ ทุกคนได้ร่วมกันทำความดีโดยทำหน้าที่เป็นผู้ให้ ซึ่งจะส่งต่อการให้ต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด
อ.ดร.สิริธร ศรีชลาคม รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ทำหน้าที่ประสานงานดูแลความเรียบร้อยด้านต่างๆ กล่าวว่า ศูนย์บริการวัคซีนจุฬาฯ อาคารจามจุรี 9 มีพื้นที่กว้างขวาง สะดวกสบาย ความท้าทายในการทำงานที่นี่คือการปรับระบบการทำงานทุกวันตามกลุ่มผู้รับบริการ โดยให้บริการแก่ทุกกลุ่มอย่างเต็มที่ สิ่งที่ได้จากการทำงานที่ศูนย์บริการวัคซีนคือมิตรภาพ ได้เห็นน้ำใจของจิตอาสาจากคณะ หน่วยงานต่างๆ ในการให้ความช่วยเหลือผู้รับบริการ
นพ.อธิวิทย์ สินอยู่ แพทย์ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่ตรวจคัดกรองและให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้รับบริการทั้งก่อนและหลังการฉีดวัคซีน กล่าวว่า ศูนย์บริการวัคซีนจุฬาฯ ที่อาคารจามจุรี 9 มีระบบการจัดการที่ดี การให้บริการของทีมแพทย์ที่พร้อมตลอดเวลา โควิด-19 ยังคงอยู่กับเราไปอีกนาน นอกจากการฉีดวัคซีนแล้ว ขอแนะนำให้ทุกคนดูแลตัวเอง ปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ เช่น การใส่หน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง การล้างมือให้สะอาด ฯลฯ
รศ.น.สพ.ดร.สุดสรร ศิริไวทยพงศ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งทำหน้าที่จิตอาสาให้ความรู้แก่ผู้มารับบริการฉีดวัคซีน กล่าวว่าจะมาทำหน้าที่จิตอาสาเป็นประจำหลังจากว่างจากการสอนที่คณะ รู้สึกดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการให้ความรู้และให้คำแนะนำที่ถูกต้องแก่บุคลากร นิสิตและประชาชนทั่วไปที่มารับการฉีดวัคซีน ในการให้ความรู้จะใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย รวมทั้งตอบคำถามของผู้ที่มาฉีดวัคซีนอีกด้วย อย่างไรก็ตาม แม้จะฉีดวัคซีนแล้ว ทุกคนก็ต้องระมัดระวังตัวเองอย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัย
รศ.อรพรรณ พนัสพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งมาปฏิบัติหน้าที่เป็นจิตอาสาที่ศูนย์บริการวัคซีนจุฬาฯ อาคารจามจุรี 9 สัปดาห์ละ 2 วัน ทำหน้าที่แนะนำให้ความช่วยเหลือในเรื่องการกรอกเอกสาร ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้องแก่ผู้มารับบริการฉีดวัคซีน จากการทำหน้าที่จิตอาสาทำให้ได้รับความอิ่มใจที่ได้มีโอกาสช่วยเหลือผู้อื่น รู้สึกดีใจที่จุฬาฯ ให้การดูแลบุคลากรเป็นอย่างดี ทำให้ประชาคมจุฬาฯ ลดความเสี่ยงและเพิ่มความปลอดภัยมากขึ้น นอกจากนี้ยังเผื่อแผ่การให้บริการวัคซีนไปยังบุคลากรทางการศึกษาและบุคลากรนอกจุฬาฯ อีกด้วย
กัญญารัตน์ บุญทองใหม่ เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ ซึ่งทำหน้าที่ให้คำแนะนำช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ แก่ผู้มารับบริการฉีดวัคซีนที่จุด help desk กล่าวว่าผู้ที่มาฉีดวัคซีนได้ชื่นชมการให้บริการของศูนย์บริการวัคซีนจุฬาฯ เข้ามาเป็นจำนวนมากทางไลน์ @Chulavaccine จิตอาสาทุกคนที่ศูนย์บริการวัคซีนยินดีช่วยเหลือผู้มารับการบริการในทุกขั้นตอน รู้สึกภูมิใจและประทับใจจุฬาฯ ที่ดูแลบุคลากรและนิสิตให้เข้าถึงวัคซีน
สุธาทิพย์ ระงับภัย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ซึ่งมารับบริการวัคซีนเข็ม 3 กล่าวว่า ขอบคุณจุฬาฯ ที่เปิดศูนย์บริการวัคซีนให้บุคลากรจุฬาฯ ได้รับการฉีดวัคซีน เป็นช่องทางการให้บริการที่รวดเร็วและเป็นระบบ ช่วยอำนวยความสะดวกและสร้างความมั่นใจในการเข้ามาปฏิบัติงานเมื่อมหาวิทยาลัยเปิดทำการ
สุชาติ ทองคำ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ซึ่งมารับการฉีดวัคซีนทั้ง 3 เข็มที่ศูนย์บริการวัคซีนจุฬาฯ อาคารจามจุรี 9 เปิดเผยว่าการให้บริการที่นี่ดีมาก มีความรวดเร็วและเป็นระบบ สถานที่ไม่แออัด การฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันจากโควิด-19 และลดการแพร่ระบาดของโรค
นิสิตบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลจากการแข่งขันกรณีศึกษาทางบัญชีระดับประเทศ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2567
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ เชิญฟังการบรรยายพิเศษ 2 หัวข้อในโครงการ “Architecture and Design for Society Lecture Series AY2024”
นวัตกรรมจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้รับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2567 สาขาบริการภาครัฐ ระดับดีเด่น ประเภทนวัตกรรมการบริการ
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการ “พุทธศิลป์ พุทธศึกษา จากพระพุทธปฏิมาสู่การอนุรักษ์”
ศศินทร์ เสริมทักษะนักลงทุนให้นิสิตด้วย TradingView
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เชิญชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ “แผนที่ประวัติศาสตร์ กรุงเทพฯ 2515”
23 กันยายน - 8 พฤศจิกายน 2567
ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้