รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
4 พฤศจิกายน 2564
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 ได้อนุมัติโครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด19 “ChulaCov19” mRNA เพื่อทำการทดสอบทางคลินิกระยะที่ 3 และการผลิตเพื่อขึ้นทะเบียนวัคซีน เพื่อใช้ในภาวะฉุกเฉิน กรอบวงเงิน 2,316 ล้านบาทและเห็นชอบในหลักการโครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 (Baiya) กรอบวงเงิน 1,309 ล้านบาท ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม (อว.) โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินเพิ่มเติมฯ พ.ศ.2564 โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.โครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด-19 “ChulaCov19 mRNA” กรอบวงเงิน 2,316 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการทดสอบวิจัยในอาสาสมัครระยะที่ 3 เพื่อใช้ในการขึ้นทะเบียนตามเกณฑ์ที่องค์การอาหารและยา (อย.) กำหนด และเพื่อการผลิตวัคซีนสำหรับทดสอบระยะที่ 3และเตรียมการผลิตสำหรับขึ้นทะเบียนรับรองจาก อย. ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการช่วยสร้างโครงสร้างพื้นฐานของการผลิตวัคซีนชนิด mRNA อย่างครบวงจร ทำให้ไทยสามารถผลิตวัคซีนโควิด-19 ใช้ได้เอง และสามารถต่อยอดเทคโนโลยีนี้สู่การผลิตวัคซีนสำหรับป้องกันโรคอื่นๆ รวมถึงโรคอุบัตใหม่ที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคตทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินการกำหนดกลไกการกำกับติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้
2.โครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 (วัคซีน Baiya (ผลิตจากใบยา) กรอบวงเงิน 1,309 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ในส่วนของการทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 3 อาสาสมัครอย่างน้อย 10,000 คน ตามหลักเกณฑ์ของ อย. ซึ่งมีเป้าหมายหลักเพื่อให้ไทยสามารถผลิตวัคซีนโควิด-19 ได้ตั้งแต่ต้นน้ำด้วยตัวเอง และสามารถฉีดกระตุ้นภูมิให้ประชาชนคนไทยได้อย่างน้อย 60 ล้านโดสต่อปี
โครงการนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ที่ผลิตในไทยและผ่านการทดสอบในระยะต่างๆ ตามเกณฑ์มาตรฐานสากล ส่งผลให้ไทยมีข้อมูลการวิจัยและพัฒนาวัคซีนในประเทศที่น่าเชื่อถือตามมาตรฐานสากล
ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเร่งจัดทำรายงานผลการทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 2 ของวัคซีนใบยา เสนอสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการพิจารณาอนุมัติงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป(ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน 2564)
สัมมนา “3 มิติเส้นทางก้าวใหม่สู่บทบาทอุดมศึกษาไทย 5.0″ แลกเปลี่ยนเรียนรู้หาแนวทางใหม่พัฒนาบัณฑิตไทย รับมือ Society 5.0
18 พฤษภาคม 2565 เวลา 13.00 - 16.00 น.
ZOOM, Facebook Live
เชิญร่วมสัมมนา 2565 สังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์ “วิกฤต” หรือ “โอกาส”
11 มิ.ย. 65 เวลา 10.00 น.
การเปิดปิดประตูจุฬาฯ เส้นทางการเดินรถ Shuttle Bus จุดคัดกรองสำหรับพิธีพระราชทานปริญญาบัตร จุฬาฯ ปีการศึกษา 2563
เรียนรู้ออนไลน์ไม่จำกัดกับ CU Neuron เดือนพฤษภาคม 2565
การประชุมวิชาการ Sustainability in Finance and Capital Market Development 2022
27 พฤษภาคม 2565 เวลา 10.00 น.
ZOOM
ระบบตรวจสอบการลงทะเบียนการเข้ารับการตรวจ ATK สำหรับบัณฑิตจุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย