รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
8 พฤศจิกายน 2564
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
ต่อจากนี้ไปนิสิตนักศึกษาที่ใกล้เรียนจบจะเตรียมตัวเข้าสู่โลกการทำงานจริงในอนาคตได้อย่างมั่นใจด้วยแอปพลิเคชันการจัดหางานพาร์ทไทม์ DAYWORK ซึ่งจะเป็นโปรไฟล์ให้ผู้จ้างงานได้อีกด้วย
DAYWORK แอปพลิเคชันการจัดหางานพาร์ทไทม์ คว้ารางวัล “สุดยอดนวัตกรรม 7 Innovation Awards 2021 ประเภทรางวัลนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับผลงานนวัตกรรมที่มีความโดดเด่นที่ได้ทดสอบหรือทดลองกับกลุ่มลูกค้าหรือผู้บริโภคในตลาดจริง ซึ่งการพัฒนาแอปพลิเคชันนี้ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub)
DAYWORK แพลตฟอร์มช่วยหางานพาร์ทไทม์และบริการจัดหาคนทำงานพาร์ทไทม์ พัฒนาโดยคุณศศิวิมล เสียงแจ้ว ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub) ซึ่งเป็นหน่วยงานของจุฬาฯ ที่ส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมต่างๆ ของคณาจารย์ นิสิตจุฬาฯ และนวัตกรจากภายนอกมหาวิทยาลัย สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของสังคมไทย โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากจุฬาฯ ให้ความรู้และคำแนะนำต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในการสร้างนวัตกรรมให้ประสบผลสำเร็จ
คุณศศิวิมล เสียงแจ้ว ผู้ก่อตั้ง DAYWORK เล่าถึงจุดเริ่มต้นในการคิดค้นแอปพลิเคชันนี้ว่า “แรกเริ่มได้ทำเว็บไซต์เกี่ยวกับการฝึกงานของนักศึกษามาก่อนจึงได้มีโอกาสทำงานร่วมกับน้องๆ นิสิตนักศึกษา ทำให้เห็นว่ามีน้องๆ ที่สนใจหารายได้เพิ่มเติมระหว่างเรียนเป็นจำนวนมากจึงเริ่มต้นจัดทำแอปพลิเคชันช่วยหางานพาร์ทไทม์ เพื่อให้นิสิตนักศึกษามีโอกาสในการเข้าถึงงานที่ง่ายขึ้นโดยมีเป้าหมายให้การทำงานพาร์ทไทม์เป็นแบบยืดหยุ่น สามารถหาประสบการณ์จากการทำงานได้หลากหลายรูปแบบ โดยเริ่มต้นตั้งแต่การทำงานรายชั่วโมงเป็นต้นไป”
สำหรับฟังชั่นการทำงานนั้น แอปพลิเคชันจะค้นหางานที่ใกล้กับสถานที่ที่เราอยู่ ไม่ว่าจะเป็นที่พักอาศัย ที่ทำงาน หรือสถานศึกษา แอปพลิเคชันจะแนะนำงานพาร์ทไทม์ให้ตาม Location ซึ่งเราสามารถสมัครเข้าใช้งานและสร้างโปรไฟล์เพียงครั้งเดียวก็จะสมัครงานได้ทุกตำแหน่งงานที่มีภายในแอปพลิเคชันได้ โดย DAYWORK จะมีการคัดกรองทั้งค่าแรงและลักษณะงานมาให้ ช่วยให้หางานได้ง่ายขึ้นและเป็นงานที่เชื่อถือได้
ด้านนายจ้างผู้ที่ต้องการฝากหาพนักงานกับ DAYWORK สามารถแจ้งความประสงค์เข้ามาผ่านทางเว็บไซต์ซึ่งจะมีบริการจัดหาคนทำงานพาร์ทไทม์แบบ One Stop Service ตั้งแต่จัดหาคน คัดกรองเบื้องต้น การสอนงาน ตรวจสอบการทำงาน จนถึงขั้นตอนการชำระเงินให้กับพนักงานแทนลูกค้า
“แอปพลิเคชันจะมีการเก็บข้อมูลประวัติการจ้างงานอัตโนมัติ ทำให้ข้อมูลที่นายจ้างเห็นมีความน่าเชื่อถือและตรวจสอบได้ รวมทั้งมีการให้คะแนนหลังจากจบงานด้วย ซึ่งประวัติการทำงานและคะแนนจะเป็นตัวช่วยสำหรับนายจ้างพิจารณาในครั้งต่อไป ถ้าทำงานดี และได้คะแนนดี การหางานครั้งต่อไปก็จะง่ายขึ้น ซึ่งจะช่วยให้น้องๆ ที่ทำงานพาร์ทไทม์ในระบบพัฒนาการทำงาน เป็นการยกระดับคุณภาพคนทำงานให้เกิดขึ้น” คุณศศิวิมล ผู้บริหารบริษัท เดย์เวิร์ค (ประเทศไทย) จำกัด เผยถึงจุดเด่นของแอปพลิเคชันนี้
ปัจจุบัน DAYWORK เปิดให้บริการมาแล้วกว่า 3 ปี มีสมาชิกในระบบมากกว่า 1 แสนคน มีบริษัทใช้บริการมากกว่า 200 แห่ง และมีการสร้างรายได้ให้กับน้องๆ นิสิตนักศึกษาไปแล้วมากกว่า 57 ล้านบาท ในอนาคตจะมีการพัฒนาแอปพลิเคชันเพิ่มเติมในเรื่องสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ที่ทำงานในระบบของเรา เช่น การยืมเงิน การกู้เงินระยะสั้น และสิทธิพิเศษในการการซื้อสินค้าจากเงินที่ได้จากการทำงาน เป็นต้น
“DAYWORK มุ่งเน้นการพัฒนาพนักงานพาร์ทไทม์ในระบบให้สามารถทำงานได้อย่างมืออาชีพในสายงานต่างๆ โดยมีการจัดอมรมสำหรับน้องๆ นิสิตนักศึกษา เพื่อปลูกฝังแนวคิดและทัศนคติในการทำงานอย่างเป็นมืออาชีพ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่น้องๆ สามารถนำไปใช้ในการทำงานจริงในอนาคต” คุณศศิวิมล กล่าวฝากทิ้งท้าย
เปิดมิติใหม่ความร่วมมือ จุฬาฯ และ AFP ขยายโอกาสนิสิตไทยในวงการสื่อสารระดับโลก
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ “รักษาฟันฟรี” ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ
17 ต.ค. 67 เวลา 08.00 น.
อาคารบรมนาถศรีนครินทร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
เสวนา Chula the Impact ครั้งที่ 25 “แพลตฟอร์มจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ: Digital War Room” นวัตกรรมจากจุฬาฯ ที่ใช้ชี้จุด คาดคะเน และให้ข้อมูลผู้ประสบภัยได้อย่างแม่นยำและทันสมัย
9 ต.ค. 67
ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาฯ
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดการประชุมวิชาการ The 1st International Study Group on Creative Arts Therapy ดูแลสุขภาวะด้วยศิลปะบำบัด
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ จัดบรรยายพิเศษครั้งที่ 7 “Human + Machine: A New Territories of Design” แลกเปลี่ยนความรู้การออกแบบในโลกดิจิทัล
PMCU เชิญร่วมงานเทศกาลอิ่มเจ อิ่มบุญ อิ่มความสุข ที่สามย่าน-บรรทัดทอง
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้