รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 พฤศจิกายน 2564
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
ชนกันต วิทยศักดิ์พันธุ์ นิสิตปี 4 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และ ชยธร ทรัพย์ชวโรจน์ นิสิตปี 4 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ สองนักโต้วาทีภาษาอังกฤษ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขันโต้สาระวาที “Asian Brtish Parliament 2021” ระหว่างวันที่ 22 – 31 ตุลาคม 2564จัดโดย Diplomatic Academy of Vietnam (DAV), Vietnam และ Shanghai University of Finance and Economics (SUFE), China ซึ่งเป็นการแข่งขันแบบออนไลน์ที่รวมการแข่งขันโต้สาระวาทีภาษาอังกฤษระดับเอเชียสองรายการเข้าด้วยกัน เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 นับเป็นการแข่งขันโต้วาทีภาษาอังกฤษที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทีมนักโต้วาทีเข้าร่วมแข่งขันถึง 192 ทีม รวม 179 สถาบัน จากประเทศจีนและประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย
ชนกันต และชยธร กล่าวว่า “การแข่งขันแบ่งเป็นรอบเก็บคะแนนและรอบคัดออก ซึ่งรอบเก็บคะแนนมี 8 รอบ ในแต่ละรอบจะมี 4 ทีมแข่งขันกัน เมื่อแข่งขันเก็บคะแนนครบทั้ง 8 ทีม จะคัดทีมที่ได้คะแนนสูงสุด 24 ทีม เพื่อเข้าไปแข่งขันในรอบคัดออก จากนั้นจึงเป็นรอบ Quarter Final และแข่งต่อไปเรื่อยๆ จนได้รับรางวัลชนะเลิศ”
สำหรับญัตติในการแข่งขันโต้วาทีรายการนี้มีความหลากหลายทั้งการเมือง ต่างประเทศ เศรษฐกิจ สังคม สตรีนิยม ชนกลุ่มน้อย ความเท่าเทียมทางเพศ โดยจะไม่ทราบญัตติก่อนแข่งขันแค่ 15 นาที โดยแต่ละทีมจะผลัดกันพูดคนละ 7 นาที สำหรับญัตติที่ทีมได้รับในรอบชิงชนะเลิศ คือ “เทคโนโลยีลบความเศร้าควรได้รับอนุญาตให้ใช้งาน” โดยทำหน้าที่เป็นฝ่ายเสนอ ซึ่งเป็นหัวข้อที่มีความซับซ้อน มีความเป็นนามธรรม อาจไม่เห็นภาพชัดเจนเหมือนบางญัตติที่พูดถึงเรื่องที่มีอยู่แล้วในโลกปัจจุบัน จากการที่เคยอ่านเรื่องแนวนี้มาบ้างจึงทำให้ทั้งสองสามารถพูดในประเด็นนี้ได้
เตรียมตัวเข้าร่วมการแข่งขันอย่างไร
หลักๆ จะศึกษาจากการฟังบรรยาย และดูการแข่งขันโตวาทีจาก Youtube มีการซ้อมเตรียมญัตติในหัวข้อต่าง ๆ โดยมีการฝึกซ้อมอย่างจริงจัง และศึกษาหาความรู้รอบตัวให้มากที่สุด รวมถึงได้นำประสบการณ์ที่ได้สั่งสมมาตั้งแต่ปี 1 มาใช้ในการแข่งขันครั้งนี้ โดยมี อ.ดร.ภาณุภัทร จิตเที่ยง อาจารย์ที่ปรึกษา คอยให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ตลอดเวลา
เคล็ดลับในการได้แชมป์
มีการฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอที่กลุ่มโต้สาระวาทีภาษาอังกฤษแห่งจุฬาฯ (Chulalongkorn University English Debate Society) โดยได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากสำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาฯ ในการฝึกซ้อมจะดูว่าเรายังด้อยในจุดไหนก็ฝึกซ้อมให้จริงจัง ดึงตัวเองออกจากการโต้วาทีให้เหมือนเราเป็นผู้ฟัง จะทำให้ไม่กดดัน นอกจากนี้ทีมเวิร์คนับเป็นสิ่งสำคัญมากๆ เราสองคนฝึกซ้อมด้วยกันมานานตั้งแต่เป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 ทำให้รู้ว่าเพื่อนเราคิดอย่างไร และควรพูดเสริมอะไร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของการโต้สาระวาที เชื่อว่าเป็นเพราะสิ่งนี้ ทำให้เรามีพัฒนาการที่ก้าวกระโดดขึ้นจนทำให้มายืนในจุดนี้ได้
สิ่งที่ได้รับจากการโต้วาทีภาษาอังกฤษ
การแข่งขันโต้สาระวาทีภาษาอังกฤษเป็นการเปิดมุมมองให้กับตัวเอง เนื่องจากในการแข่งขันมีญัตติที่หลากหลายเรื่องในสังคมทำให้ต้องศึกษาโลกจากหลายมุมมองมากขึ้น การแข่งขันครั้งนี้มีความรู้สึกเป็นพิเศษว่าได้ก้าวข้ามมาตรฐานเดิมของตัวเองจากการโต้วาทีแต่ละครั้งที่ผ่านมา ได้พัฒนาในจุดที่ตัวเองไม่เคยได้ทำมาก่อน ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ดีมากๆ
ความท้าทาย และความยากง่ายในการแข่งขันครั้งนี้
เป็นเรื่องของญัตติ เพราะบางญัตติเราไม่ค่อยมีความรู้เรื่องในเรื่องนั้นๆ นอกจากนี้ในเรื่องของการใช้ภาษาอังกฤษ หลายทีมมาจากประเทศที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก ทำให้เราต้องพัฒนาในส่วนนี้ให้ทัดเทียมผู้แข่งขันจากต่างชาติให้ได้ ส่วนการแข่งขันแบบออนไลน์ ทำให้ไม่ได้อยู่ในบรรยากาศของสถานที่จริง ทำให้ต้องเปลี่ยนวิธีการพูดและการสื่อสารเพื่อให้ชัดเจนขึ้น ซึ่งจะมีผลต่อการฟังและตัดสินของคณะกรรมการ
สองนักโต้วาทีคนเก่งยังฝากถึงน้องๆ ที่อยากก้าวขึ้นเป็นนักโต้วาทีภาษาอังกฤษว่า “อยากให้น้องๆ ลองฝึกฝนการโต้วาทีภาษาอังกฤษ สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องให้เวลากับการแข่งขันโต้วาที อย่ายอมแพ้ อยากให้เข้าถึงแก่นแท้ของการโต้สาระวาที เรื่องการใช้ภาษาอังกฤษไม่ใช่ปัญหา เพราะหัวใจของการโต้สาระวาทีคือการคิด ถ้าสามารถคิดวิเคราะห์ได้ดี สามารถตอบคำถามฝ่ายตรงข้ามได้ก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว”
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้