ข่าวสารจุฬาฯ

วช. จับมือจุฬาฯ จัดเสวนาซีรีส์ SDG 14 ชีวิตในน้ำ เปิดมุมมองนักวิจัยไทยและต่างชาติ ขยายเครือข่ายความร่วมมือสู่ความยั่งยืน

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ และศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นกับมหาสมุทรและท้องทะเล รวมถึงความท้าทายในการใช้ประโยชน์และบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมทุกมิติด้านการพัฒนา ทั้งมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในเรื่องของการป้องกันและลดมลพิษทางทะเล เพื่อรักษาทรัพยากรทางทะเลและเป็นการสร้างความยั่งยืนของท้องทะเลให้คงอยู่ต่อไปในอนาคต จึงได้จัดการเสวนาในซีรีส์ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 14 ชีวิตในน้ำ (SDG 14 Life Below Water) “การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ผ่านระบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom meeting

  โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิจัย นิสิตนักศึกษาทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศร่วมการเสวนา
 ในหัวข้อต่าง ๆ อาทิ

• ขยะในทะเลและไมโครพลาสติก : เทคนิคงานวิจัยในปัจจุบัน

• ประเทศไทยกับการฟื้นฟูปะการังในอนาคต

• การฟื้นฟูแนวปะการังในสถานการณ์โลกปัจจุบันที่เปลี่ยนไป

• วิทยาศาสตร์เพื่อการใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรอย่างยั่งยืน : เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 14 ชีวิตในน้ำ

    ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ เปิดเผยว่า ผลงานด้าน SDG 14 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ผ่านมา ครองอันดับที่ 9 ของโลก จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย The Impact Ranking ปี 2021 และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังสร้างชื่อให้มหาวิทยาลัยไทยในการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืนระดับโลก โดยครองอันดับที่ 1 ของเอเชีย และอันดับที่ 23 ของโลก ในการสร้างสรรค์งานวิจัยสู่สังคมไทยและสังคมโลก

            ศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ หัวหน้าโครงการการจัดประชุมและเสวนางานด้าน SDG 14 กล่าวว่า การจัดเสวนาซีรีส์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 14 ชีวิตในน้ำ นับว่ามีความสำคัญในการสนับสนุนให้นักวิจัยไทยและนักวิจัยชาวต่างประเทศมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญทางวิชาการ รวมทั้งส่งเสริมการวิจัยการทำงานร่วมกันในระดับชาติและนานาชาติ เกิดผลงานที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า มั่นคง
ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งเกิดแนวทางในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า การจัดเสวนาในซีรีส์นี้ เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนภารกิจของกองการต่างประเทศและนโยบายของ วช. ให้บรรลุเป้าหมายในการส่งเสริมและสนับสนุน
การพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา วช. ได้ให้ทุนและสนับสนุนโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ SDG 14 ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญของงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องที่สามารถนำมาพัฒนาและจัดการทรัพยากรทางทะเลของประเทศให้เกิดความยั่งยืน

  

ผลผลิตของจุฬาฯ คือ การผลิตบัณฑิต สร้างคนคุณภาพสู่สังคม

ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า