ข่าวสารจุฬาฯ

อาจารย์เภสัชฯ จุฬาฯ แนะเทคนิคเตรียมวัคซีน Moderna เพื่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด

หลังจากวัคซีน COVID-19 หลากหลายยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็น Sinovac, Sinopharm, AstraZeneca, Pfizer ถูกฉีดให้กับคนไทยไปแล้วมากกว่า 60 ล้านโดส ในที่สุดวัคซีน Moderna วัคซีน mRNA ตัวที่ 2 ที่เป็นทางเลือกให้แก่คนไทยก็มาถึงโรงพยาบาลและหน่วยฉีดวัคซีนต่างๆ  ซึ่งในบางจุดบริการก็ได้เริ่มฉีดกันไปแล้วตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤศจิกายน 

          ผศ.ภก.ดร.บดินทร์ ติวสุวรรณ ภาควิชาอาหารและเภสัชเคมี และ ผศ.ภญ.ดร.ณัฏฐดา อารีเปี่ยม ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ได้ให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการเตรียมวัคซีน Moderna ในงานเสวนา Chula-Phama-Talk เรื่อง “การเตรียมวัคซีน Moderna” ที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายนที่ผ่านมา สรุปได้ว่า  การบริหารจัดการ ขนส่ง จัดเก็บ เตรียมยา จนถึงการฉีดวัคซีน Moderna ให้แก่ผู้รับบริการมีรายละเอียดที่ต้องระมัดระวังเพื่อคงคุณภาพของวัคซีนให้สมบูรณ์ที่สุดจนถึงผู้รับการฉีดวัคซีน ที่สำคัญคือแม้จะเป็นวัคซีนชนิด mRNA เช่นเดียวกับของ Pfizer แต่รายละเอียดการขนส่งจนถึงการเตรียมยากลับแตกต่างกันหลายประเด็น ซึ่งเภสัชกร พยาบาล และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเหล่านี้โดยตรงจะต้องทราบข้อมูลอย่างละเอียด ดังนี้

            –  วัคซีนชนิดนี้สามารถเก็บในตู้แช่แข็งที่อุณหภูมิ -25 ถึง -15 องศาเซลเซียสได้จนถึงวันหมดอายุที่ระบุไว้ข้างขวด ซึ่งมีช่วงเวลาประมาณ 7 เดือนนับจากวันผลิต โดยห้ามอยู่ในอุณหภูมิต่ำกว่า -50 องศาเซลเซียส และห้ามใช้น้ำแข็งแห้งในกระบวนการขนส่ง  เมื่อเก็บวัคซีนในตู้เย็นธรรมดา (อุณหภูมิ 2 ถึง 8 องศาเซลเซียส) วัคซีนจะมีอายุ 30 วัน

            – วัคซีนอยู่ในรูปแบบยาแขวนตะกอนสีขาวถึงขาวขุ่น พร้อมใช้โดยไม่ต้องเจือจาง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเป็นยาแขวนตะกอนซึ่งต้องทำให้กระจายตัวก่อนฉีด แต่ห้ามเขย่าวัคซีนโดยเด็ดขาดเพราะอาจทำให้วัคซีน mRNA เสื่อมสภาพ วิธีการทำให้วัคซีนกระจายตัวเข้ากันดีคือการหมุนวนขวดวัคซีนเบาๆ หรือ swirl วัคซีนบรรจุแบบ multiple dose vial 1 ขวด มี 5 มิลลิลิตร สามารถฉีดได้ 10 โดส และขวดที่เปิดแล้วอาจเก็บไว้รอ   การใช้เข็มต่อๆ ไปได้ประมาณ 12 ชั่วโมง (โดยเก็บที่อุณหภูมิ 2 ถึง 25 องศาเซลเซียส) แต่ก็ควรใช้ให้หมดภายในเวลาที่สั้นที่สุดเพราะวัคซีนไม่มีสารกันเสียที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่อาจปนเปื้อนเข้าไปในกระบวนการดูดยาแต่ละครั้ง

            “บุคลากรที่เกี่ยวข้องจึงต้องระมัดระวังในการดำเนินการ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะทำให้วัคซีนมีข้อสงสัยในคุณภาพ และทำให้มั่นใจได้ว่าวัคซีนที่ฉีดให้ประชาชนมีประสิทธิผลและความปลอดภัยสูงสุด” สองอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวในที่สุด

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/Pharmacy.CU/videos/619294496050119/

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า