รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
25 พฤศจิกายน 2564
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
เมื่อวันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2564 ณ ศูนย์ CHAMPS ชั้น 11 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย พร้อมด้วย ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และอดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ผศ.นพ.สุชัย สุเทพารักษ์ ประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์ฝึกทักษะการแพทย์เสมือนจริง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ ผศ.นพ.ตุลชัย อินทรัมพรรย์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการศูนย์ CHAMPS ให้สัมภาษณ์พิเศษเรื่อง “ศูนย์ CHAMPS จุฬาฯ โรงเรียนแพทย์แห่งแรกของไทย ได้รับการรับรองในระดับนานาชาติ” พร้อมทั้งพาผู้สื่อข่าวเข้าเยี่ยมชมศูนย์ CHAMPS ณ ชั้น 11 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ และ รับชม Virtual Tour ศูนย์ฝึกกู้ชีพและฝึกทักษะเสมือนจริง ที่ตั้งอยู่ ณ ชั้น 16 อาคาร ส.ธ. โดยมี รศ.นพ.เรืองศักดิ์ เลิศขจรสุข กรรมการและเลขานุการศูนย์ CHAMPS และ พญ.พิชญ์ชณัณ อบเชยเทศ แพทย์ช่วยสอน ฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและสารสนเทศ เป็นผู้ดำเนินรายการ
ศูนย์ฝึกทักษะเสมือนจริงทางการแพทย์ แห่งจุฬาลงกรณ์ (ศูนย์ CHAMPS) ได้รับ Official Accreditation (Provisional) จาก SSH — Society for Simulation in Healthcare สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการรับรองมาตรฐานการดำเนินงานในระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นการรับรองมาตรฐานเดียวกันกับศูนย์ฝึกทักษะเสมือนจริงด้านสุขภาพในโรงเรียนแพทย์ชั้นนำของโลกและทวีปเอเชีย เช่น ศูนย์ฝึกทักษะเสมือนจริงด้านสุขภาพในโรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ มหาวิทยาลัยเยล มหาวิทยาลัยดุ๊กร่วมกับมหาวิทยาลัยเเห่งชาติสิงคโปร์ (Duke-NUS) และมหาวิทยาลัยการแพทย์ไทเป (TMU) เป็นต้น ส่วนศูนย์ CHAMPS นับเป็นศูนย์ฝึกทักษะเสมือนจริงด้านสุขภาพของ “โรงเรียนแพทย์แห่งแรกของไทย” ที่ได้รับรองมาตรฐานดังกล่าว
รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ กล่าวว่า คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ผลิตบัณฑิตแพทย์ที่มีคุณภาพมาอย่างต่อเนื่อง ได้มีการนำเทคโนโลยีเสมือนจริงมาใช้ในการเรียนการสอน พร้อมทั้ง ได้พัฒนานวัตกรรมการบริการ รวมทั้งการรักษา จัดหาอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ และนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ ยังพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงของศาสตร์ทางการแพทย์ทั้งในปัจจุบันและอนาคตอีกด้วย เช่นเดียวกับการจัดตั้งศูนย์ฝึกทักษะเสมือนจริงทางการแพทย์ แห่งจุฬาลงกรณ์ หรือ ศูนย์ CHAMPS (Chulalongkorn Healthcare Advanced Multi-Profession Simulation Center) เพื่อพัฒนา ฝึกฝนทักษะของบุคลากรทางการแพทย์ให้มีความพร้อม เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา และเพิ่มความปลอดภัยของผู้ป่วย เพราะทุกชีวิตมีค่าและมีความหมาย
ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ กล่าวว่า “ศูนย์ฝึกทักษะเสมือนจริงทางการแพทย์ แห่งจุฬาลงกรณ์” หรือ ศูนย์ CHAMPS เป็นศูนย์ฝึกทักษะการแพทย์เสมือนจริง (Clinical Skills and Simulation Center: CSSC) และศูนย์ฝึกกู้ชีพและฝึกทักษะเสมือนจริง (Simulation and CPR Training Center: SCTC) พิธีเปิดศูนย์ฯ มีขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2563 ซึ่งศูนย์ CHAMPS ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากหลายสาขาวิชาชีพ เช่น อาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้ที่เชี่ยวชาญด้านเครื่องจักรกล อาจารย์จากคณะอักษรศาสตร์ ผู้ที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจำลองเหตุการณ์ผู้ป่วย หรือสถานการณ์ฉุกเฉินที่นิสิตแพทย์ หรือแพทย์ พยาบาล ที่เข้ารับการฝึกจะได้ทดลองปฏิบัติจากสถานการณ์จำลองรูปแบบต่างๆ เป็นต้น
การบริการของศูนย์ฯ เปิดให้มีการฝึกทักษะพื้นฐานทั่วไป เช่น การฝึกแทงเข็ม น้ำเกลือ การฝึกกู้ชีพ จนถึงการทำหัตถการที่ซับซ้อน อาทิ การผ่าตัดอวัยวะในช่องท้อง การผ่าตัดโรคตา โรคหัวใจ หรือสมอง เป็นต้น ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้การใช้เครื่องมือต่างๆ ให้คล่องแคล่ว ทั้งยังสามารถฝึกปฏิบัติกับหุ่นจำลองได้หลายครั้งจนมีทักษะ เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ ซึ่งหุ่นจำลองของศูนย์ฯ สามารถปรับฟังก์ชันความเจ็บป่วย ให้เหมาะสมกับความต้องการฝึกฝน พร้อมทั้งมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยพัฒนาการสอนอย่างต่อเนื่อง การถ่ายทำวิดีโอการเรียนการสอนแบบ 3 มิติ รวมถึงการใช้เทคโนโลยี Virtual Reality หรือ VR มาช่วยเพิ่มความเสมือนจริงในการฝึกฝนทักษะเพื่อให้ก้าวทันต่อการศึกษาในยุคอนาคตอีกด้วย
ผู้เข้าอบรมยังได้ฝึกฝนทักษะการสื่อสาร การสนทนากับผู้ป่วย รวมถึงแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในสถานการณ์ต่างๆ และทักษะการทำงานเป็นทีม (teamwork) ผู้เข้าฝึกอบรมทุกระดับ จะได้รับประโยชน์อย่างยิ่ง จากโอกาสได้ฝึกทักษะต่างๆ ดังกล่าวทั้งหมด ทั้งก่อนและหลังพบกับผู้ป่วยจริง นอกจากนี้เรายังมีแผนที่จะเพิ่มการให้บริการฝึกทักษะและหัตถการชั้นสูงเฉพาะทาง
ล่าสุด ศูนย์ CHAMPS ได้รับ Provisional Official Accreditation จาก SSH — Society for Simulation in Healthcare (Washington, DC) ซึ่งเป็นการรับรองในระดับนานาชาติว่าการดำเนินงานและการให้บริการของศูนย์ฯ เป็นไปตามมาตรฐานต่างๆ ระดับสากล โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2564 จนถึง 31 ธันวาคม 2566 นับเป็น “Healthcare Simulation Center ของโรงเรียนแพทย์แห่งแรกของไทย” ที่ได้รับการรับรองนี้ ตอกย้ำถึงความสำเร็จและคุณภาพในด้านความทันสมัย และครบวงจรมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย
ผศ.นพ.สุชัย สุเทพารักษ์ กล่าวถึงศูนย์ฝึกทักษะการแพทย์เสมือนจริง (Clinical Skills and Simulation Center: CSSC) ตั้งอยู่ที่ชั้น 11 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์ CHAMPS โดยสังกัดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ใช้สำหรับฝึกทักษะการแพทย์ให้แก่นิสิตแพทย์และแพทย์ประจำบ้าน เพื่อเตรียมพร้อมในการเป็นแพทย์ที่มีคุณภาพ ส่งเสริมให้นิสิตมีศักยภาพในการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และบุคลิกภาพ พร้อมทั้งพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง จุดเด่นของศูนย์ฯ สามารถรวบรวมบุคลากรที่มีความชำนาญในแต่ละด้านมาทำงานร่วมกัน มีความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน ทำให้ทรัพยากรที่มีจำกัด สามารถตอบสนองความต้องการอันหลากหลาย เช่น เป็นที่ฝึกการเรียนการสอนของนิสิตแพทย์และแพทย์ทุกระดับ แต่ในช่วงวิกฤต ก็ใช้เป็นที่ฝึกการทำงานกับผู้ป่วยโรค COVID-19 ได้
ผศ.นพ.ตุลชัย อินทรัมพรรย์ กล่าวว่า ศูนย์ฝึกกู้ชีพและฝึกทักษะเสมือนจริง ตั้งอยู่ที่ชั้น 16 อาคาร ส.ธ. เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์ CHAMPS โดยอยู่ภายใต้การบริหารงานของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นศูนย์ฝึกทักษะการแพทย์ โดยการจำลองสถานการณ์เสมือนจริง ซึ่งเป็นแนวทางการฝึกอบรมที่ใช้เป็นมาตรฐานในสถาบันแพทย์ชั้นนำทั่วโลก เป็นการเรียนการสอนที่เชื่อมต่อการเรียนทฤษฎีกับการปฏิบัติงานในผู้ป่วย โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ไม่เคยประสบมาก่อน การเรียนการสอนแบบเสมือนจริง (simulation) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและทราบวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องทันที โดยไม่ต้องไปทดลองกับผู้ป่วย รวมทั้งยังสามารถจำลองสถานการณ์กับโรคหรือภาวะที่พบเจอได้ยากหรือไม่ค่อยได้พบช่วงขึ้นปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย ซึ่งจะทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างครบถ้วนกับแพทย์ฝึกหัดทุกกลุ่มการปฏิบัติการทางการแพทย์ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในสายงานพยาบาล ผู้ช่วยพยาบาลและบุคลากรระดับอื่นๆ อีกด้วย จุดเด่นของศูนย์ฯ ได้แก่ หลักสูตรมาตรฐานที่หลากหลาย สามารถฝึกปฏิบัติได้ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน เหมาะสำหรับผู้เริ่มฝึกปฏิบัติ จนถึงหลักสูตรระดับลึกเฉพาะทาง สำหรับผู้เข้าฝึกอบรมที่มีประสบการณ์สูงขึ้น ตลอดจนสถานการณ์จำลองการทำงานร่วมกันเป็นทีม โดยศูนย์ฯ มีเครื่องมือเพื่อเสริมการเรียนรู้ ถ่ายทอดภาพสถานการณ์ และบันทึกคลิป เพื่อย้อนกลับมาทบทวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติในสถานการณ์จำลอง
รศ.นพ.เรืองศักดิ์ เลิศขจรสุข กล่าวเสริมว่าทิศทางการพัฒนาศูนย์ CHAMPS ในด้านการบริการ คือเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมทักษะทางการแพทย์แบบเสมือนจริงให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในทุกระดับ รวมทั้งร่วมมือกับสถาบันต่างๆ ให้บริการด้านการฝึกอบรมเพื่อใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนในด้านการศึกษาและวิจัย จะพัฒนาแนวทางการเรียนรู้ ตลอดจนการประเมินผลและฝึกทักษะทางการแพทย์ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลของการเรียนรู้ และประโยชน์กับผู้ป่วยสูงสุด ซึ่งผลที่จะตามมาคือการรับรองมาตรฐานแบบถาวร “Permanent Accreditation” ในอนาคต
สำหรับบุคลากรภายนอกที่สนใจเข้าฝึกอบรมกับศูนย์ CHAMPS ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลต่างๆ หน่วยงานด้านสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถแจ้งความประสงค์ได้โดยตรงที่ศูนย์ฝึกทักษะเสมือนจริงทางการแพทย์แห่งจุฬาลงกรณ์ (ศูนย์ CHAMPS) โทร. 0-2256-4000 ต่อ 81105
เชิญร่วมงานคืนเหย้าชาวจุฬาฯ “108 ปี จามจุรีประดับใจ” 26 มีนาคม 2568
26 มี.ค. 68
สนามหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล
เชิญชาวจุฬาฯ ร่วมงาน “สงกรานต์รวมใจ วิถีไทย จุฬาฯ สืบสานประเพณี”
จุฬาฯ เชิญบุคลากรตรวจสุขภาพประจำปี โดย Walk-in ได้ พิเศษปีนี้เพิ่มตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
สัมมนาวิชาการ “โอกาสทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวของประเทศไทยในคาซัคสถาน”
พิธีเปิดกิจกรรม Enrichment Program for CU รุ่นที่ 2 และกิจกรรมประเมินความสุข (CU Happiness)
มีนาคม - กรกฎาคม 2568
PMCU เปิดโอกาสให้เยาวชนไทยประกวดออกแบบพื้นที่อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ ให้เป็นสวนแห่งความสุข ภายใต้แนวคิด CHULA FOR ALL
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้