ข่าวสารจุฬาฯ

นิสิตจุฬาฯ คว้ารางวัล “ผลงานนวัตกรรมอุดมศึกษา 2564”

นวัตกรรมของนิสิตจุฬาฯ ได้รับรางวัลผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2564”  ในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2563 (Thailand Research Expo 2020)” โดยได้รับรางวัลจาก ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน 2564 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

            ผลงานจากนิสิตจุฬาฯ ที่ได้รับรางวัลจากการประกวด 2 ประเภท ได้แก่

1.รางวัลการเขียนข้อเสนอผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2564

  • กลุ่มพลังงาน สิ่งแวดล้อม และ BCG Economy Model
    • รางวัลระดับดีเด่น (ระดับบัณฑิตศึกษา) ผลงานเรื่อง“RX-Shield:สารเคลือบป้องกันรังสีเอกซ์จากวัสดุคอมพอสิตยางธรรมชาติ”  โดย น.ส.หริเนตร มุ่งพยาบาล คณะวิทยาศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.สมใจ เพ็งปรีชา และ ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์)
    • รางวัลระดับดี (ระดับบัณฑิตศึกษา) ผลงานเรื่อง เซลลูโลสนาโนคริสตัลและเซลลูโลสอสัณฐานจากเส้นใยธรรมชาติเพื่อการประยุกต์เชิงพาณิชย์” โดย น.ส.ณัฐธร ไพจิตร และคณะ คณะวิทยาศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา : ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ และ ศ.ดร.ศราวุธ ริมดุสิต)
  • กลุ่มการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
    • รางวัลระดับดีเด่น (ระดับบัณฑิตศึกษา) ผลงานเรื่อง“กรีน บับเบิล : ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าประสิทธิภาพสูงจากเซลลูโลสอสัณฐาน” โดย น.ส.เมธีรัตน์ ธานีรัตน์ บัณฑิตวิทยาลัย (อาจารย์ที่ปรึกษา : ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์)
    • รางวัลระดับดีมาก (ระดับบัณฑิตศึกษา)ผลงานเรื่อง“กิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างประสบการณ์สุนทรียะสำหรับเด็กประถมศึกษาที่บกพร่องทางการเห็น” โดย น.ส.      จิราพร พนมสวย คณะครุศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.อินทิรา พรมพันธุ์ และ ดร.สริตา เจือศรีกุล)
    • รางวัลระดับดี (ระดับบัณฑิตศึกษา) ผลงานเรื่อง“ชุดการเรียนรู้ฮูปแต้มจังหวัดขอนแก่นสำหรับเยาวชน ชุด “แก่นนคร เพลิน (Plearn)” โดยนายพชร วงชัยวรรณ์ คณะ      ครุศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.อินทิรา พรมพันธุ์)

2.รางวัลผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2564

  • กลุ่มพลังงาน สิ่งแวดล้อม และ BCG Economy Model
    • รางวัลระดับดี (ระดับบัณฑิตศึกษา) ผลงานเรื่อง “RX-Shield: สารเคลือบป้องกันรังสีเอกซ์จากวัสดุคอมพอสิตยางธรรมชาติ” โดย น.ส.หริเนตร มุ่งพยาบาล คณะวิทยาศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.สมใจ เพ็งปรีชา และ ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์)
  • กลุ่มการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
    • รางวัลระดับดีเด่น (ระดับบัณฑิตศึกษา) ผลงานเรื่อง “การพัฒนานวัตกรรมการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษา       ตอนปลาย: History of Art…การเดินทางของศิลปะ” โดย น.ส.สุภิญญา สมทา คณะ         ครุศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.อินทิรา พรมพันธุ์)
    • รางวัลระดับดีเด่น (ระดับปริญญาตรี)  ผลงานเรื่อง “โครงการออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพเคลื่อนไหวโดยได้รับแรงบันดาลใจจากนิทานพื้นบ้านไทย” โดย น.ส.ชุติภา อัศวเลิศพลากร คณะครุศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.     อินทิรา พรมพันธุ์)
    • รางวัลระดับดีมาก (ระดับบัณฑิตศึกษา) ผลงานเรื่อง “ชุดกิจกรรม “สานสร้างสรรค์” โดยนายสุชาติ อิ่มสำราญ คณะครุศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.โสมฉาย บุญญานันท์)
    • รางวัลระดับดี (ระดับบัณฑิตศึกษา) ผลงานเรื่อง “ชุดการเรียนรู้ฮูปแต้มจังหวัดขอนแก่นสำหรับเยาวชน ชุด “แก่นนคร เพลิน (Plearn)” โดยนายพชร วงชัยวรรณ์ คณะ     ครุศาสตร์ (อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.อินทิรา พรมพันธุ์)

การประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษาจัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในสถาบันศึกษา โดยเสริมสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะเทคนิคด้านนวัตกรรมกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้นิสิตนักศึกษาเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่มีคุณภาพ ศักยภาพ และเป็นบุคลากรทางการวิจัยของประเทศต่อไป  โดยในปี 2564 ได้แบ่งกลุ่มนวัตกรรมออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร กลุ่มการสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์  กลุ่มการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ กลุ่มพลังงานสิ่งแวดล้อม และ BCG Economy Model และกลุ่มพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งปีนี้มีผลงานจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้าร่วมจัดแสดงทั้งสิ้น 10 ผลงาน ได้แก่

1.รางวัลเหรียญทอง

  • ระดับบัณฑิตศึกษา
    • RX-Shield:สารเคลือบป้องกันรังสีเอกซ์จากวัสดุคอมพอสิตยางธรรมชาติ ผลงานของนางสาวหริเนตร มุ่งพยาบาล คณะวิทยาศาสตร์
    • กรีน บับเบิล : ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าประสิทธิภาพสูงจากเซลลูโลสอสัณฐาน  ผลงานของ น.ส.เมธีรัตน์ ธานีรัตน์ บัณฑิตวิทยาลัย
    • กิจกรรมศิลปะเพื่อสร้างประสบการณ์สุนทรียะสำหรับเด็กประถมศึกษาที่บกพร่องทางการเห็น  ผลงานของ น.ส.จิราพร พนมสวย คณะครุศาสตร์
    • ชุดการเรียนรู้ฮูปแต้มจังหวัดขอนแก่นสำหรับเยาวชนชุด “แก่นนคร เพลิน (Plearn)” ผลงานของนายพชร วงชัยวรรณ์ คณะครุศาสตร์
    • ชุดกิจกรรม “สานสร้างสรรค์”  ผลงานของนายสุชาติ อิ่มสำราญ คณะครุศาสตร์
  • การพัฒนานวัตกรรมการสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ระดับประถมศึกษาตอนปลาย: History of Art…การเดินทางของศิลป ผลงานของ น.ส.สุภิญญา สมทา คณะครุศาสตร์
  • ระดับปริญญาตรี
    • โครงการออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาพเคลื่อนไหวโดยได้รับแรงบันดาลใจจากนิทานพื้นบ้านไทย  ผลงานของ น.ส.ชุติภา อัศวเลิศพลากร คณะครุศาสตร์

2.รางวัลเหรียญเงิน

  • ระดับบัณฑิตศึกษา
  • “เซลลูโลสนาโนคริสตัลและเซลลูโลสอสัณฐานจากเส้นใยธรรมชาติเพื่อการประยุกต์เชิงพาณิชย์”  ผลงานของ น.ส.ณัฐธร ไพจิตร และคณะ คณะวิทยาศาสตร์
  • ระดับปริญญาตรี
    • ตุ๊กตาข้อต่อเสริมสร้างจินตนาการเพื่อพัฒนาทักษะด้านงานศิลปะ ผลงานของ น.ส.ธณมฬ วงษา คณะครุศาสตร์
    • ชุดกิจกรรมการปั้นเพื่อเสริมสร้างสมาธิสำหรับ เด็กอายุ 5-7 ปี หัวข้อ Mediclaytion ผลงานของ น.ส.ณัฐนิชา มณีพฤกษ์ คณะครุศาสตร์

      (ข้อมูลจากสำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ)

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า