ข่าวสารจุฬาฯ

4 อาจารย์จุฬาฯ ได้รับรางวัล นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2565 คณาจารย์นักวิจัย นิสิตจุฬาฯ คว้ารางวัลต่างๆ จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติปีนี้

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์จุฬาฯ 4 ท่านที่ได้รับการประกาศเกียรติคุณจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2565  จากนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติรวมทั้งสิ้น  10 ท่าน ใน  7 สาขาวิชา

คณาจารย์จุฬาฯ ซึ่งได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2565 จำนวน 4 ท่าน ได้แก่

  1. . ดร.อรัญ อินเจริญศักดิ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา)
  2. .สพ..ดร.รุ่งทิพย์ ชวนชื่น คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา)
  3. .ไตรรัตน์ จารุทัศน์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ (สาขาปรัชญา)
  4. .ดร.วธนน์ วิริยสิทธาวัฒน์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์)

นอกจากนี้ คณาจารย์ นักวิจัย และนิสิตจุฬาฯ ยังได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติปีนี้ ทั้งรางวัลผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ดังนี้

รางวัลผลงานวิจัย

 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รางวัลจำนวน 11 ผลงาน จาก 49 ผลงานใน 11 สาขา ดังนี้

รางวัลระดับดีมาก จำนวน 4 รางวัล ได้แก่

  1. . ดร.นายสัตวแพทย์ชาญณรงค์ รอดคํา และคณะ

จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ผลงานเรื่อง การบูรณาการองค์ความรู้จากการวิจัยเชื้อฟลาโวแบคทีเรียมคอลัมแนร์ สู่นวัตกรรมนาโนวัคซีนเกาะติดเยื่อเมือกเพื่อป้องกันโรคคอลัมนาริสในปลาน้ำจืดอย่างยั่งยืน” (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา)

  • .ดร.กุลยา สมบูรณ์วิวัฒน์ และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์ ผลงานเรื่อง “เปปไทด์ต้านจุลชีพจากกุ้ง Anti-lipopolysaccharide factor: กลไกการออกฤทธิ์และประสิทธิภาพในป้องกันโรคติดเชื้อในกุ้ง” (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา)
  • .ดร.ภัทรพร คิม จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ผลงานเรื่อง “การพัฒนาเซลล์อิเล็กโตรไลซิสแบบออกไซด์ของแข็งชนิดตัวนําออกซิเจนไอออนและใช้โฟมของโลหะเป็นตัวรองรับเพื่อใช้ในการผลิตกรีนไฮโดรเจนจากไอน้ำ” (สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย)
  • .ดร.จุลนี เทียนไทย และคณะ จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ผลงานเรื่อง “การสร้างความเข้าใจในคุณลักษณะ พฤติกรรม และทัศนคติในอนาคตของชาวดิจิทัลไทย” (สาขาสังคมวิทยา)

รางวัลระดับดี จำนวน 7 รางวัล ได้แก่

  1. .น.กําธร พฤกษานานนท์ และคณะ จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผลงานเรื่อง “สายพันธุ์เซลล์ต้นกําเนิดตัวอ่อนมนุษย์จากตัวอ่อนที่ผ่านการแช่แข็ง 18 ปี (จากตัวอ่อนเด็กหลอดแก้วสู่สายพันธุ์เซลล์ต้นกําเนิดตัวอ่อนมนุษย์)” (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์)
  2. .ดร.จันทร์เพ็ญ จันทร์เจ้า จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ผลงานเรื่อง “ฤทธิ์ทางชีวภาพและบทบาทในระดับโมเลกุลของสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์ผึ้ง” (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา)
  3. .ดร.อรัญ อินเจริญศักดิ์ และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ผลงานเรื่อง “การใช้กลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไบโอไฮโดรเจน” (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา)
  4. .ดร.รามสูร สีตลายัน จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ผลงานเรื่อง “การแสดงบทประพันธ์เพลงสําหรับเดี่ยวเปียโนจากวรรณคดีไทย” (สาขาปรัชญา)
  5. .ดร.ธันยพร จันทร์กระจ่าง และคณะ จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ผลงานเรื่อง “คลองในฐานะเส้นทางคมนาคมกับการพัฒนาเศรษฐกิจ: หลักฐานจากคลองกับสวนในกรุงเทพฯ ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19” (สาขาเศรษฐศาสตร์)
  6. .ดร.พนม คลี่ฉายา จากคณะนิเทศศาสตร์จุฬาฯ ผลงานเรื่อง “การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุ และข้อเสนอเพื่อการเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุไทย” (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์)
  7. .ดร.เนาวนิตย์ สงคราม และคณะ จากคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ผลงานเรื่อง “การพัฒนาหุ่นยนต์แบบมีปฏิสัมพันธ์ตามแนวคิดเกมเป็นฐานร่วมกับโมบายแอปพลิเคชัน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดและความยึดมั่นผูกพันในการเรียนรู้สําหรับผู้เรียนในระดับประถมศึกษา” (สาขาการศึกษา)

รางวัลวิทยานิพนธ์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รางวัลจำนวน 10 ผลงาน จากทั้งหมด 43 เรื่อง ใน 12 สาขาวิชา  ดังนี้

รางวัลระดับดีเด่น จำนวน 1 รางวัล ได้แก่

  1. ดร.ณัชพล  ศิริสวัสดิ์ จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ  ผลงานเรื่อง “มหาปราติหารสูตรในคัมภีร์ต้นฉบับจากกิลกิต: ฉบับชําระเชิงวิพากษ์ การแปลและการวิเคราะห์ตัวบท” (สาขาปรัชญา) อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก:  Prof.Dr.Jens-Uwe Hartmann

รางวัลระดับดีมาก จำนวน 2 รางวัล ได้แก่

  1. ดร.ชณัท  อ้นบางเขน จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ผลงานเรื่อง “สารเคมีอินทรีย์ที่ควบคุมได้ด้วยแสงเพื่อใช้ในการจับโปรตีน สองชนิดภายในเซลล์สิ่งมีชีวิต” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช) อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก:  Assoc. Prof. Dr. David M. Chenoweth
  2. ดร.ส..สิริกร กิติโยดม จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผลงานเรื่อง “การพัฒนาวัคซีนอนุภาคนาโนแบบเกาะติดเยื่อเมือกเพื่อป้องกันโรคคอลัมนาริสในปลาทับทิม” (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา) อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก:  รองศาสตราจารย์ ดร.น.สพ.นพดล  พิฬารัตน์

รางวัลระดับดี จำนวน 7 รางวัล ได้แก่

  1. ดร.น.กษิดิ์ภัค ไก่แก้ว จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผลงานเรื่อง “ความแตกต่างระหว่างเพศในการควบคุมการทํางานของเนื้อเยื่อไขมัน” (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์) อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก:  Prof. Dr.Aart Jan van der Lelij
  2. ดร.เกพลี แสง-ชูโต จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ  ผลงานเรื่อง “การศึกษาลักษณะพันธุกรรมและการพัฒนาวัคซีนต่อเชื้อไวรัสพอร์ซายน์เดลต้าโคโรน่า” (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา) อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: ผศ.ดร.น.สพ.เดชฤทธิ์  นิลอุบล
  3. ดร.วรรณพร วัฒน์สุนธร จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ผลงานเรื่อง “การขจัดไฮโดรเจนซัลไฟด์โดยไนเทรตรีดิวซ์ซิงและซัลไฟด์ออกซิไดซิงแบคทีเรียในถังปฏิกรณ์ชีวภาพไร้ออกซิเจน” (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา) อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: ศ.ดร.วรวุฒิ จุฬาลักษณานุกูล
  4. .ดร.ช่อเพชร พานระลึก จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ผลงานเรื่อง “สภาวะน่าสบายของผู้สูงอายุไทยสําหรับศูนย์ผู้สูงอายุแบบปรับอากาศ” (สาขาปรัชญา) อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: รศ.ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร
  5. .ดร.รังสรรค์ บัวทอง จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ  ผลงานเรื่อง “การสร้างสรรค์เพลงกลองอาเซียน” (สาขาปรัชญา) อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: ศ.ดร.บุษกร บิณฑสันต์
  6. ดร.วรพล มาลสุขุม จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ผลงานเรื่อง “วัฒนธรรมทางกฎหมาย หลักความชอบด้วยกฎหมาย และการพิจารณาฐานความชอบด้วยกฎหมายของการกระทําทางปกครองในประเทศอังกฤษและออสเตรเลีย” (สาขานิติศาสตร์) อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: Prof.Dr.Liz Fisher
  7. ดร.วริศ วงศ์พิพิธ จากคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ผลงานเรื่อง “การแทรกกิจกรรมทางกายระหว่างการนั่งเนือยนิ่งต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานและการตอบสนองของเมตาบอลิซึมหลังอาหารในผู้ชายเชื้อชาติจีนที่มีภาวะอ้วนลงพุง” (สาขาการศึกษา) อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: Prof.Dr.Stephen Heung-sang Wong

รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รางวัลจำนวน 18 ผลงาน จากทั้งหมด 55 ผลงานใน 9 สาขาวิชา ดังนี้

รางวัลระดับดีมาก จำนวน 2 รางวัล ได้แก่

  1. .ดร.สัญชัย พยุงภร และคณะ จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผลงานเรื่อง “ชุดตรวจคัดกรอง “โควิด-19 สแกน” (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์)
  2. ดร.นาฏนัดดา รอดทองคํา และคณะ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ

จุฬาฯผลงานเรื่อง “อุปกรณ์ตรวจวัดแลคเตทในเลือดแบบพกพาที่สามารถอ่านผลได้ทันที ณ จุดดูแลผู้ป่วย” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)

รางวัลระดับดี จำนวน 6 รางวัล ได้แก่

  1. .ดร.สนอง เอกสิทธิ์ และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ  ผลงานเรื่อง “VirionQ PPE: ชุดป้องกันอันตรายสงวนบุคคลที่มีประสิทธิภาพกําจัดไวรัส” (สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์)
  2. .ดร.รัตนวรรณ มกรพันธุ์ และคณะ จากวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ผลงานเรื่อง “ยางพารา-อิเลกโตรไลท์สถานะแข็งทั้งหมดสูงลิเธียมแบตเตอรี่ยืดหยุ่นยุคอัจฉริยะ” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)
  3. .ดร.ธนิษฐ์ ปราณีนรารัตน์ และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ผลงานเรื่อง “เซ็นเซอร์ฐานกระดาษเพื่อระบุจีโนไทป์ของยีนฮีโมโกลบินอีสําหรับการวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมีย” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)
  4. .ดร.ศุภกาญจน์ ชํานิ จากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ผลงานเรื่อง “ชุดทดสอบแอลกอฮอล์ แบบทรีอินวัน” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)
  5. ดร.เดวิด มกรพงศ์ และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ  ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมระบบยับยั้งจุลินทรีย์ด้วยแสงความยาวคลื่นสั้น เพื่อเพิ่มคุณภาพน้ำนมดิบให้กับฟาร์มโคนมขนาดเล็กและขนาดกลางในเขตร้อนชื้น” (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา)
  6. ดร.ลัญจกร อมรกิจบำรุง และคณะ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์

จุฬาฯ ผลงานเรื่อง “ผลิตภัณฑ์ทรายแมวจากมันสําปะหลังไทย” (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา)

รางวัลประกาศเกียรติคุณ จำนวน 10 รางวัล ได้แก่

  1. . ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ผลงานเรื่อง “เซ็นเซอร์ฐานกระดาษแบบพกพาสําหรับตรวจวัดโลหะหนักในอาหารกระป๋องจากผลผลิตทางการเกษตร” (สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์)
  2. ดร.สุดเขต ไชโย และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ผลงานเรื่อง “สตริปเทสเคมีไฟฟ้าร่วมกับสมาร์ทโฟนสําหรับการวินิจฉัยโรคฉี่หนู” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)
  3. .ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ผลงานเรื่อง “ชุดทดสอบแบบไหลตามแนวราบอย่างอัตโนมัติร่วมกับเทคนิคเคมีไฟฟ้าสําหรับการตรวจวัดสารพันธุกรรมของโรคไวรัสตับอักเสบบีด้วยการ หยดตัวอย่างเพียงขั้นตอนเดียว” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)
  4. .ดร.นายสัตวแพทย์นพดล พิฬารัตน์ และคณะ จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ  ผลงานเรื่อง “วัคซีนแชงนาโนแบบเกาะติดเยื่อเมือกต้านโรคเหงือกเน่าในปลา” (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา)
  5. .ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ และคณะ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ  ผลงานเรื่อง “รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ” (สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย)
  6. .ดร.พรพิมล ศุขะวาที และคณะ จากคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ  ผลงานเรื่อง “MALLO: นวัตกรรมแอปพลิเคชั่นพอทัลอันทรงพลังบนหลักการของเกมเพื่อเพิ่มพูนทักษะภาษาอังกฤษและแรงจูงใจแห่งยุคดิสรัปทีฟ” (สาขาการศึกษา)
  7. .ดร.จินตวีร์ คล้ายสังข์ และคณะ จากคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ผลงานเรื่อง “MALLIE:      

ความปกติใหมของการเรียนรู้ภาษาอังกฤษอย่างท้าทายด้วยแชท

บอทเกม” (สาขาการศึกษา)

  • .พรเทพ เลิศเทวศิริ จากคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ผลงานเรื่อง “ของเล่นเพื่อสร้างความเข้าอกเข้าใจการใช้ชีวิตร่วมกันของเด็กปกติกับคนพิการผ่านการเล่นของเล่น doll house” (สาขาการศึกษา)
  • .สพ..ภาวนา เชื้อศิริ และคณะ จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผลงานเรื่อง “หุ่นจําลองปฏิสัมพันธ์กายวิภาคหัวสุนัขเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง” (สาขาการศึกษา)
  • ดร.สุพรรษา ยอดเมือง และคณะ จากคณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ ผลงานเรื่อง “เครื่องพิมพ์ชีวภาพ 3 มิติ: จากการศึกษาสูงประโยชน์ในการวิจัยและการแพทย์” (สาขาการศึกษา)

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า