รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
5 ธันวาคม 2564
ภาพข่าว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยต่างๆ ร่วมกับเพจลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป และเซเว่น อีเลฟเว่น เปิดตัวโครงการ “ถังขยะอัจฉริยะ” (Circular Bin) สำหรับใช้บนแพลตฟอร์มแอปพลิเคชั่น “กรีนทูเก็ท” (Green2Get) กว่า 40 แห่งที่หน้าร้านเซเว่น อีเลฟเว่นใน 7 มหาวิทยาลัยในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อแนะนำวิธีการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง ง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว ต่อยอดไอเดียคนรุ่นใหม่ให้ใช้ได้จริง
งานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการฯ จัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม 2564 ณ Co-Working Space อาคาร THE TARA ถ.แจ้งวัฒนะในการนี้ ผศ.ดร.ฉัตรพันธ์ จินตนาภักดี ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านการจัดการทรัพย์สินและกายภาพ จุฬาฯ เป็นผู้แทนจุฬาฯ ร่วมในงานแถลงข่าวครั้งนี้
นายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล กรรมการผู้จัดการ (ร่วม) บมจ.ซีพี ออลล์ ผู้บริหาร เซเว่น อีเลฟเว่น และ เซเว่น เดลิเวอรี่ กล่าวว่าเซเว่น อีเลฟเว่น ได้ดำเนินโครงการด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายใต้นโยบาย เซเว่น โก กรีน เพื่อสิ่งแวดล้อม 24 ชั่วโมง ตั้งแต่ปี 2550 เพื่อ ลด และ เลิก ใช้ถุงพลาสติกที่ร้านเซเว่น อีเลฟเว่นทั่วประเทศ เพื่อเป็นการสานต่อแนวคิด “ปลูกจิตสำนึกเพื่อสิ่งแวดล้อม” ในการรณรงค์และเชิญชวนลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อป้องกันผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม เซเว่น อีเลฟเว่น ได้เปิดตัวโครงการ “Circular Bin จาก Application Green2Get” 7 มหาวิทยาลัย ร่วมกับ 7 GO Green ร่วมกับ ลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป เพื่อประสานความร่วมมือผลักดันโครงการนวัตกรรมที่เกิดจากไอเดียของคนรุ่นใหม่นำไปสู่การรณรงค์ให้เกิดการแยกขยะที่ถูกต้อง
โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างเพจลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป เซเว่น อีเลฟเว่น และมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) นำร่องโครงการเปลี่ยนถังขยะหน้าร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เป็นถังขยะอัจฉริยะ (Circular Bin) โดยทำงานร่วมกับแอฟพลิเคชั่นกรีนทูเก็ท (Green2Get Application) ผู้ใช้สแกนบาร์โค้ดสินค้าใดๆ บริเวณหน้าถัง แอปพลิเคชันจะบอก วิธีการคัดแยกและถังที่ควรทิ้งให้ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยให้ขยะพลาสติกเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) อย่างมีประสิทธิภาพ
เปรม พฤกษ์ทยานนท์ เจ้าของเพจ ลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป กล่าวว่า แอพลิเคชั่น Green2Get ได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากหน่วยบริหารและจัดการต้นทุนด้านการเพิ่มความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ภายใต้การกำกับของสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เพื่อให้เป็นเครื่องมือสำหรับผู้บริโภคในการช่วยคัดแยกขยะให้ง่ายขึ้น เพียงผู้ใช้งานสแกนบาร์โค้ดสินค้าก็จะพบวิธีการคัดแยกรวมถึงวัสดุที่แยกได้และสามารถหาผู้รีไซเคิลที่ต้องการวัสดุนั้นๆที่อยู่ใกล้ตัวได้
ในเบื้องต้นคู่มือการคัดแยกขยะจะถูกสร้างขึ้นโดยผู้ใช้งานช่วยกันทำฐานข้อมูลสินค้า ซึ่งปัจจุบันมีสินค้าพร้อมวิธีการคัดแยกขยะ จำนวนกว่า 25,000 ชิ้น ในระบบ โดยอนาคตจะเปิดให้ผู้ผลิตซึ่งเป็นเจ้าของสินค้านั้นๆเป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเองและเป็นผู้สนับสนุนการหมุนเวียนสินค้าของตนเองได้ จากนั้นทางผู้ออกแบบจะนำผลทการทดลองใช้จริงเพื่อนำไปสู่การพัฒนาฟีเจอร์ใหม่เพื่อใช้ข้อมูลที่มีอยู่ตอบโจทย์การคัดแยกขยะให้กับคนทั่วไปต่อไป
ภายในงานเปิดตัว “Circular Bin จาก Application Green2Get” 7 มหาวิทยาลัย ร่วมกับ 7 GO Green ร่วมกับลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป ได้รับเกียรติจาก นางจงรักษ์ ฐินะกุล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านส่งเสริมและเผยแพร่ และผู้อำนวยการกองส่งเสริมความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ ดร.ชัยพล จันทะวัง ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมกิจการเยาวชนและลูกเสือ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมงาน โดยมี นายสหภาพ วงศ์ราษฎร์ (มิกซ์) นิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งได้รับรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชน เนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติ ประจำปี 2564 มาร่วมพูดคุยถึงวิธีการคัดแยะขยะพลาสติกง่ายๆด้วยตัวเอง พร้อมเชิญชวนนิสิตนักศึกษาร่วมทดลองใช้แอพลิเคชั่น กรีนทูเก็ท (Green2Get) เพื่อลุ้นเป็นส่วนหนึ่งในงานแฟนมีตติ้ง ปลูกต้นไม้ในช่วงเดือนมกราคม 2565 อีกด้วย
ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลด แอพลิเคชั่น กรีนทูเก็ท (Green2Get) ได้ทาง App Store และ Play Store
นิสิต BBA จุฬาฯ กวาดรางวัลจากเวทีระดับโลก ASEAN-CHINA-INDIA Youth Leadership Summit 2024
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเยี่ยมชมศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ชื่นชมความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมฮาลาล
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ ร่วมมือ สสส. – พม. สานพลังภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานคนไร้บ้าน
โครงการ Dogcoola กิจกรรมดี ๆ ที่สร้างสรรค์โดยนิสิตสัตวแพทย์ จุฬาฯ เชิญชวนบริจาคโลหิตช่วยชีวิตคนและส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์
นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ครั้งที่ 24 Public Health 360: From Policy to Practice
เชิญร่วมกิจกรรม Chula Lunch Talk : GenAI x งานวิจัย: 1 ปี ที่เปลี่ยนไป! ความท้าทายใหม่ ที่นักวิจัยต้องรู้
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้