ข่าวสารจุฬาฯ

ศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ (FAAMAI) จัดเสวนา NFT TALK : การมาถึงของ NFT และระบบการศึกษาศิลปะ และ NFT Talk & Share

ศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (FAAMAI) จัดงานเสวนาออนไลน์ NFT TALK ในหัวข้อ “การมาถึงของ NFT และระบบการศึกษาศิลปะ”  ในวันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม 2564  เวลา 13.00 -15.00 น. ผ่านช่องทาง Facebook : Faamai Digital Arts Hub

ฟังการนำเสนอประเด็นที่น่าสนใจ อาทิ การปรับตัวของศิลปิน การเปลี่ยนแปลงและปรับตัวของพื้นที่ทางศิลปะ และนักสะสมผลงานศิลปะ จะหาโอกาสและพื้นที่ของ NFT Marketplace ในประเทศไทยได้อย่างไร

ร่วมเสวนาโดย

  • รศ.ธเนศ อ่าวสินธุ์ศิริ สาขาทัศนศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ผศ.เกรียงไกร กงกะนันทน์ คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม ศิลปิน และเจ้าของเพจ Kriangkrai Kongkhanun
  • คุณเชน สุวิกะปกรณ์กุล เจ้าของสำนักพิมพ์เชรินเดีย ผู้อำนวยการร้านหนังสือศิลปะฮาร์ดคัฟเวอร์และห้องสมุดเดอะโคโลฟอน นักวิจัยความรู้เรื่อง NFT ที่เกี่ยวกับศิลปะ
  • คุณธนะเมศฐ์ อาริยวัฒน์ Head of Venture Builder, KASIKORN X.
  • ดำเนินรายการโดย คุณสืบแสง แสงวชิระภิบาล หัวหน้าฝ่ายนิทรรศการ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

นอกจากนี้ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ (FAAMAI) จัดงานเสวนาเชิงแบ่งปันทักษะและประสบการณ์เกี่ยวกับ NFT (NFT Talk & Share) ระหว่างวันที่ 20 – 21 ธันวาคม 2564 ผ่านช่องทาง Zoom meeting ดำเนินรายการโดยคุณกิตติมา จารีประสิทธิ์ ภัณฑารักษ์ประจำพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่

วันที่ 20 ธันวาคม 2564      

–   เวลา 10.00 – 12.00 น. เสวนาหัวข้อ : อะไรคือ NFT แพลตฟอร์ม NFT คืออะไร สกุลเงินดิจิทัลทำงานร่วมกับ NFT อย่างไร  ศิลปะในโลก NFT เปรียบเทียบกับ ศิลปะทางกายภาพ  ฯลฯ

            วิทยากรรับเชิญ : ผศ.เกรียงไกร กงกะนันทน์ อาจารย์ประจำคณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม ศิลปิน และเจ้าของเพจ Kriangkrai Kongkhanun

           –  เวลา 14.00 – 16.00 น. เสวนาหัวข้อ : การเลือกตลาดสินค้า

การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ NFT การเปลี่ยนงานศิลปะสู่ NFT

           วิทยากรรับเชิญ :  คุณวัจนสินธุ์ จารุวัฒนกิตติ เจ้าของและภัณฑารักษ์ Palette Artspace ที่เป็นทั้งนักสะสมผลงานศิลปะ และพาร์ตเนอร์ในการนำผลงานของศิลปินไทยเข้าสู่ NFT และคุณจิรัสย์ รัฐวงศ์จิรกุล ผู้อำนวยการ Gallery VER และผู้ร่วมก่อตั้ง N22

           วันที่ 21 ธันวาคม 2564

   –  เวลา 10.00 – 12.00 น. เสวนาหัวข้อ : ทำไม NFT ถึงเขย่าวงการ Contemporary art การทำงานของศิลปิน Contemporary art ระดับโลก ทำงานอย่างไรเมื่อมาอยู่ใน NFT

วิทยากรรับเชิญ : คุณประพัทธ์ จิวะรังสรรค์ ศิลปินร่วมสมัยและผู้กำกับภาพยนตร์

  –  เวลา 14.00 – 16.00 น. เสวนาหัวข้อ : การโปรโมทผลงานสู่โซเชียลมีเดีย

จริยธรรม กฎหมายลิขสิทธิ์ 

วิทยากรรับเชิญ : คุณเชน สุวิกะปกรณ์กุล เจ้าของสำนักพิมพ์เซรินเดีย ผู้อำนวยการร้านหนังสือศิลปะฮาร์ดคัฟเวอร์ และห้องสมุดเดอะโคโลฟอน นักวิจัยความรู้เรื่อง NFT ที่เกี่ยวกับศิลปะ

     ผู้สนใจเข้าร่วมเสวนา สามารถลงทะเบียนได้ที่

https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScMgaFXRXw7H59BGWdd1XphfPqyeCFbqC98UuGvHdeU6MKqsQ/viewform?fbclid=IwAR3x7SmMNHGqaAusu0sXkDzV3Nu2U1NsrLSKfl2H2D6OIw2EJqtD7E-PgFs

หากลงทะเบียนเรียบร้อยจะมีอีเมลตอบกลับยืนยันสถานะการลงทะเบียน พร้อมลิงก์ Zoom meetting สำหรับเข้าร่วมเสวนา ผู้ที่เข้าร่วมเสวนาครบทั้ง 2 วัน จะได้รับประกาศนียบัตรจากศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/chulafaamai/

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า