รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
5 มกราคม 2565
ภาพข่าว
เมื่อวันอังคารที่ 4 มกราคม 2565 เวลา 07.08 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ มายังคณะอักษรศาสตร์ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทรงบาตร ร่วมกับ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี รศ.ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ผู้บริหารคณะอักษรศาสตร์ คณาจารย์ บุคลากร นิสิตเก่า และนิสิตปัจจุบัน เนื่องในโอกาสคล้ายวันสถาปนาคณะอักษรศาสตร์ ครบ 105 ปี
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เป็นหนึ่งในสี่คณะแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยถือเอาวันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ทรงวางศิลาพระฤกษ์ตึกบัญชาการ เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2458 เป็นวันสถาปนาคณะ ทั้งนี้ตึกบัญชาการต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นตึกอักษรศาสตร์ 1 และได้ใช้เป็นอาคารเรียนของคณะอักษรศาสตร์เรื่อยมา กระทั่งได้มีการบูรณะและเปลี่ยนชื่อเป็นอาคารมหาจุฬาลงกรณ์ในปัจจุบัน คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ มีการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก รวมทั้งสิ้น 16 สาขาวิชา
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเข้าศึกษาในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อปี 2516 ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาประวัติศาสตร์ และระดับปริญญาโท สาขาวิชาบาลี-สันสกฤต ทรงเสนอวิทยานิพนธ์เรื่อง ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท
ความภูมิใจของบัณฑิตจุฬาฯ ในวันรับปริญญาอันน่าภาคภูมิ
คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ รับสมัครเข้าศึกษาต่อปริญญาโท หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายเศรษฐกิจ
เสวนาแนวทางการลงทุนอย่างยั่งยืน “ทางเลือก! ทางรอด! หลังวิกฤติ COVID กับโอกาสการลงทุนในกองทุนต่างประเทศ”
2 พ.ค. 65 เวลา 13.00 น.
Zoom
เชิญส่งบทความวิชาการเพื่อนำเสนอใน การประชุมนิติวิชาการระดับชาติ “กฎหมายกับการพัฒนาที่ยั่งยืน” ครั้งที่ 1
20 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00 น. - 16.00 น.
เชิญเข้าร่วมอบรม “การใช้งานระบบการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการออนไลน์”
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเป็นประธานการสัมมนา “รักษ์ป่าน่าน” ครั้งที่ 5
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย