รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
11 มกราคม 2565
ข่าวเด่น
จากการสัมมนางานวิจัย “Sasin Research Seminar Series” ในหัวข้อ “Organic Tourism – Driving organic food system by conscious hospitality businesses” ซึ่งสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์แห่งจุฬาฯ จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ รศ.ดร.กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย สถาบันบัณฑิตฯ ศศินทร์ ได้กล่าวถึงงานวิจัยที่ทำมาอย่างต่อเนื่องกับผู้ประกอบการโรงแรม ร้านอาหารในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ และภูเก็ต เกี่ยวกับปัญหาหลักที่เกษตรกรในประเทศไทยต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหนี้สะสมของเกษตรกรจากการใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลง ระบบนิเวศเสียหาย และก่อปัญหาสุขภาพตามมา เนื่องจากอาชีพเกษตรกรเป็น 1 ใน 3 ของประชากรไทย ปัญหาเหล่านี้จึงมีความสำคัญต่อประเทศและนำไปสู่ปัญหาระบบอาหาร
รศ.ดร.กฤตินี กล่าวว่า ถึงแม้ว่าความต้องการผลผลิตอินทรีย์มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากกระแสความสนใจของตลาด แต่การหาผลิตภัณฑ์ที่น่าเชื่อถือในราคาที่สมเหตุผลยังเป็นความท้าทาย เนื่องจากปัญหาการขาดความเชื่อมโยงในห่วงโซ่คุณค่า นอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่นๆ เช่น สินค้าขาดแคลน ผลผลิตไม่ต่อเนื่อง และคุณภาพไม่คงที่ ปัญหาเหล่านี้ทำให้ รศ.ดร.กฤตินี ร่วมกับหน่วยงานสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) สามพรานโมเดล มูลนิธิส่งเสริมสุขภาพแห่งประเทศไทย และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมหาแนวทางแก้ไข พัฒนาแนวคิด ส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดในห่วงโซ่คุณค่าอาหาร ซึ่งไม่เพียงเกี่ยวข้องกับเกษตรกรและผู้ประกอบการเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวด้วย การขับเคลื่อนนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประสานประโยชน์ร่วมกันบนฐานการค้า ที่เป็นธรรม และส่งเสริมการเชื่อมห่วงโซ่อาหารอินทรีย์ เรียกว่าเป็น “Organic Tourism Movement” หรือ การขับเคลื่อนการท่องเที่ยววิถีอินทรีย์
รศ.ดร.กฤตินี ได้ร่วมวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) โดยงานวิจัยดังกล่าวมีโรงแรม ร้านอาหารในกรุงเทพฯและเชียงใหม่เข้าร่วม 20 แห่ง ทำการเก็บข้อมูลด้วยการสังเกตการณ์และสัมภาษณ์ เจ้าของกิจการ GM เชฟ ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ F&B การตลาด ประชาสัมพันธ์ โดยแนวคิดการท่องเที่ยววิถีอินทรีย์คือการที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน มีการซื้อตรงจากเกษตรกร พร้อมการสื่อสารสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภค ซึ่งจะนำไปสู่กระแสการผลิตอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม
สำหรับประเด็นอื่นๆ ที่พบในการศึกษาวิจัยได้แก่ การบริหารความสมดุลระหว่างผลตอบแทนทางธุรกิจกับการสร้างความยั่งยืน นำไปสู่ข้อเสนอการพัฒนาโมเดลธุรกิจ
งานวิจัยของ รศ.ดร.กฤตินี ได้เชื่อมโยงปัญหาและประเด็นที่เกิดขึ้นในระดับต่างๆ ของห่วงโซ่อาหาร ซึ่งรวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น บริษัทและพนักงานที่มีหน้าที่ในการจัดหาวัตถุดิบ การจัดซื้อ การผลิต และการตลาด ตลอดจนการแลกเปลี่ยนมุมมองในการใช้กลยุทธ์และกระบวนการเพื่อแก้ไขปัญหา ผลการวิจัยนำไปสู่การหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงข้อเสนอแนะสำหรับบริษัทต่างๆ ให้เห็นคุณค่าของการจัดการ value chain ตลอดจนการทำให้พนักงานมีความเข้าใจและมีส่วนร่วมกับองค์กรมากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องเปลี่ยนจากการมุ่งเน้นผลลัพธ์มาเป็นการมุ่งเน้นที่คุณค่า สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับซัพพลายเออร์ที่เชื่อถือได้ ต้องใส่ใจกับ product ทุกขั้นตอน ในขณะเดียวกัน การตลาดก็ต้องชวนให้ลูกค้าร่วมเรียนรู้และสนับสนุนผลิตภัณฑ์อินทรีย์และความยั่งยืน
“Sasin Research Seminar Series” จัดขึ้นศุกร์เว้นศุกร์ เวลา 13.00 -12.00 น. ผ่านทาง Zoom ผู้สนใจเข้าร่วมฟังงานวิจัยต่างๆที่น่าสนใจ สามารถติดตามหัวข้อการสัมมนาและลงทะเบียนเข้าฟังได้ที่
https://bit.ly/2TlJEHI หรือ www.sasin.edu
การประชุมวิชาการ “พระเสด็จโดยแดนชล”และพิธีมอบรางวัลการประกวดบทร้อยกรองประเภทกาพย์เห่ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อาสาสมัครกาชาดจากจุฬาฯ ร่วมกิจกรรมช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์
ความประทับใจของบัณฑิตจุฬาฯ ในรั้วจามจุรี และพิธีพระราชทานปริญญาบัตรที่ภาคภูมิใจ
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมแสดงผลงานแฟชั่นและสิ่งทอในงาน centralwOrld Thailand Graduate Fashion Week 2024
วิศวฯ จุฬาฯ เชิญร่วมบริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้