รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
18 มกราคม 2565
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
เมื่อวันอังคารที่ 18 มกราคม 2565 ณ โรงพยาบาลสนามศูนย์คัดกรอง กรมแพทย์ทหารบก นพ.วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค ร่วมกับกองทัพบก นำหน่วยรถพระราชทานออกตรวจคัดกรองโควิด-19 เชิงรุกให้กับประชาชนที่มีความเสี่ยงติดเชื้อ และรับมอบกล่องรอดตายจำนวน 1,000 กล่องจากนางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) โดย สนจ. ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายร่วมภารกิจดูแลผู้ป่วย Home Isolation (HI) ด้วยระบบติดตามอาการออนไลน์บนหอผู้ป่วยเสมือน (Virtual Ward) ตลอด 24 ชั่วโมง ที่สามารถรองรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้นับหมื่นราย
นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) กล่าวว่า “โครงการ “กล่องรอดตาย” เป็นความภาคภูมิใจของชาวจุฬาฯ ที่ได้จัดทำขึ้น ภายในกล่องบรรจุอุปกรณ์ที่จำเป็น และพัฒนาแอปพลิเคชันกลางที่สื่อสารระหว่างผู้ติดเชื้อกับทีมอาสาสมัครที่ทำหน้าที่จิตอาสารวมกว่า 400 คน ระบบกล่องรอดตายที่ สนจ. และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินการช่วยให้คำแนะนำปรึกษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพื่อดูแลผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ที่บ้าน รวมทั้งมีส่วนช่วยสนับสนุนภารกิจดูแลผู้ป่วยของกรมควบคุมโรคในภาวะวิกฤตโควิด-19 ระลอกนี้ ได้มีการเตรียมอาสาสมัครและทีมที่ปรึกษาทางการแพทย์ให้พร้อมติดตามอาการผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทางออนไลน์ ซึ่งจะเข้าสู่ระบบหอผู้ป่วยเสมือน (Virtual Ward) ของกล่องรอดตายได้ทันทีหลังจากที่ตรวจพบว่าติดเชื้อและได้รับกล่องรอดตาย โดยแต่ละ Ward จะรองรับผู้ป่วย Home Isolation ได้มากถึง 1,300 ราย ปัจจุบัน สนจ. มี Virtual Ward ทั้งสิ้น 9 Wards พร้อมดูแลคนไข้ Home Isolation ในระบบได้มากกว่าหมื่นราย พร้อมดูแลผู้ป่วย 24 ชั่วโมง”
นพ.วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กล่าวว่า “แนวทางการรับมือกับโควิดสายพันธุ์โอไมครอนที่กรมควบคุมโรคดำเนินการอยู่ในขณะนี้ คือ “ตรวจเร็ว-รู้เร็ว-รักษาเร็ว” เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงสามารถทำ Home Isolation ที่บ้านได้ ประกอบกับมีการนำร่องใช้ระบบติดตามอาการออนไลน์ต้นแบบในระบบ Virtual Ward โดยกล่องรอดตายของ สนจ. ที่ให้การดูแลพี่น้องประชาชน เพื่อเตรียมความพร้อมและตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของการดำเนินโรคโควิด-19 (Preparedness and Response Plan) ที่ลดระดับให้เป็นโรคประจำถิ่นได้ต่อไป”
พ.อ.สุขไชย สาทถาพร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสนามศูนย์คัดกรอง กรมแพทย์ทหารบก กล่าวว่า การตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในครั้งนี้ เป็นการทำงานร่วมกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขในรูปแบบ One Stop Service เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงระบบการรักษาพยาบาลได้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อตรวจพบผู้ติดเชื้อก็จะได้รับการเอกซเรย์ปอดและจ่ายยา กล่องรอดตายจะมีส่วนช่วยผู้ป่วยทั้งในด้านการติดตามอาการ การรักษาพยาบาล ยาที่จำเป็นต้องใช้ ทำให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจมากขึ้นในเรื่องการรักษาพยาบาลที่เป็นไปตามมาตรฐาน และมีการตรวจติดตามคนไข้เป็นเวลา 14 วัน ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์มาก ทีมงานที่ทำหน้าที่อาสาสมัครในระบบหอผู้ป่วยเสมือน (Virtual Ward) ช่วยให้การดูแลคนไข้เป็นไปอย่างครบวงจร
สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ได้ส่ง “กล่องรอดตาย” ให้ผู้ป่วย Home Isolation ทั่วประเทศไปแล้วมากกว่า 2 หมื่นกล่อง มีสมาชิกใน LINE Official “กล่องรอดตาย” ราว 8.3 หมื่นราย และยังคงมุ่งมั่นสนับสนุนภารกิจดูแลพี่น้องประชาชนสู้ภัยโควิด-19 ต่อไป
ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมสมทบทุนจัดทำกล่องรอดตาย กล่องละ 500 บาท ในแคมเปญ “Less is More” โดยบริจาคเงินผ่านมูลนิธิส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปไทย บัญชี ธนาคารกสิกรไทย เลขที่บัญชี 017-2-88191-2 ส่งหลักฐานการบริจาคเพื่อขอลดหย่อนภาษีมาที่ LINE ID : @donatesurvivalbox
ร่วมบริจาคยาและเวชภัณฑ์ในกล่องรอดตายได้ที่สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณแมค โทร 096-991-6363 และคุณโอม 093-698-9336
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
นิสิตเก่าจุฬาฯ พัฒนาโฟมล้างมือแบบเม็ดฟู่ “Fongdoo” ลดขยะพลาสติก ภายใต้การสนับสนุนของ CU Innovation Hub
วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนา “เข้าใจน้ำท่วม แนวคิดวิศวกร” เผยแพร่องค์ความรู้ใหม่รับมืออุทกภัยในอนาคต
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้