ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ ร่วมมือกรมโรงงานอุตสาหกรรมและภาคเอกชน จัดอบรมพัฒนา CE Coach ที่ปรึกษาในอุตสาหกรรมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ และสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ ผนึกความร่วมมือกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการสร้างที่ปรึกษาการพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในโรงงานอุตสาหกรรม (CE Coach) เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญในการยกระดับกระบวนการผลิตสู่ความยั่งยืนให้โรงงานทั่วประเทศ ด้วยการจับคู่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยและผู้ประกอบการธุรกิจระดับ SMEs เพื่อนำร่องสร้างต้นแบบโรงงานในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนด้านพลาสติกและฟอกหนัง

การอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 – 25 มกราคม 2565 ณ ห้องประชุมบุษบา โรงแรมแมนดาริน แมนเนจ บาย เซ็นเตอร์ พ้อยท์  โดยมีนายศุภกิจ บุญศิริ รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นประธานกล่าวเปิดงานและมอบเกียรติบัตรแก่ผู้ประกอบกิจการโรงงานและประกาศนียบัตรแก่ผู้ช่วยวิจัยที่เข้าร่วมโครงการ “มาตรการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน”  ภายใต้ทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ   

โครงการอบรมดังกล่าวมี ดร.ภัสราพร พลับเจริญสุข เป็นหัวหน้าโครงการฯ ศ.ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ (PETROMAT) เป็นหัวหน้าโครงการย่อยที่ 1 “มาตรการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมพลาสติกระดับ SMEs” และ ผศ.ดร.กฤษณา ศิรเลิศมุกุล อาจารย์สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ เป็นหัวหน้าโครงการย่อยที่ 2 “มาตรการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมฟอกหนังระดับ SMEs” โดยมีการบรรยายและนำเสนอวีดิทัศน์เยี่ยมชมโรงงานที่เข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนในกระบวนการผลิต การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสร้างแผนธุรกิจด้วยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

สำหรับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนจะมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากร รวมทั้งพลาสติกให้เกิดประโยชน์สูงสุดผ่านการจัดการในรูปแบบหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถซ่อมแซมเมื่อชำรุดเสียหายและนำไปรีไซเคิลได้เมื่อหมดอายุการใช้งาน โดยข้อมูลจากสถาบันพลาสติก ปี 2562 ระบุว่าประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกประมาณ 560,000 ล้านบาท และมีมูลค่าของอุตสาหกรรมพลาสติกในประเทศมากถึงประมาณ 1,100,000 ล้านบาท เท่ากับร้อยละ 7.2 ของ GDP ของไทย โดยส่วนใหญ่เกิดจากธุรกิจระดับ SMEs ขณะที่ขยะพลาสติกกำลังเป็นปัญหาทั่วโลก โครงการนี้นับเป็นก้าวสําคัญเพื่อนําประเทศเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนตามนโยบายเศรษฐกิจ BCG ของภาครัฐ ซึ่งจะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องภายในประเทศและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยไปสู่ความยั่งยืน  โดยในปีที่ผ่านมาโครงการฯ ได้สร้างต้นแบบโรงงานด้านพลาสติกจำนวนทั้งสิ้น 10 แห่ง และในปีนี้ได้ขยายผลโครงการฯ ด้วยการพัฒนาที่ปรึกษาเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมจำนวน 20 คน ให้สามารถปรับเปลี่ยนแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการจัดทำแผนธุรกิจร่วมกับโรงงานที่ผ่านการคัดเลือกให้ร่วมโครงการฯ จำนวนอย่างน้อย 150 แห่งในปีถัดไป

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า