ข่าวสารจุฬาฯ

ข้อแนะนำในการวางแผนการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2564 ในสถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสำนักบริหารวิชาการจุฬาฯ ได้เผยแพร่ข้อแนะนำในการวางแผนการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2564  ในสถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron ลงวันที่ 4 มกราคม 2565 โดยขอให้ปฏิบัติตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2564 ตามสถานการณ์ระดับที่ 1 โดยมีข้อแนะนำเพิ่มเติมดังนี้

การจัดการเรียนการสอน

▪ ในภาพรวมเป็นแบบผสมผสาน (Blended Learning)

            ➢ เน้นรูปแบบที่นิสิตสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ทุกที่ทุกเวลา ร่วมกับการเรียนรู้ร่วมกันแบบออนไลน์

            ➢ เลื่อนหรืองดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ร่วมกันในสถานที่ตั้ง จนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น

▪ รายวิชาบรรยาย/สัมมนา

            ➢ แนะนำให้จัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ร่วมกันแบบออนไลน์

▪ รายวิชาปฏิบัติการ

            ➢ แนะนำให้นำระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ (Learning Management System) ที่สนับสนุนโดยจุฬาฯ เช่น MyCourseVille หรือระบบที่ให้บริการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เช่น Google Classroom มาใช้ในการบริหารจัดการรายวิชา

            ➢ กรณีที่หลักสูตรมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด หัวหน้าส่วนงานอาจพิจารณาให้มีการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ร่วมกันในสถานที่ตั้ง  

▪ การฝึกงาน การทัศนศึกษา หรือการดูงานภายในประเทศ

            ➢ แนะนำให้ปรับรูปแบบการฝึกงาน การทัศนศึกษา หรือการดูงานของแต่ละหลักสูตรเป็นแบบออนไลน์ โดยให้ใช้การมอบหมายงาน (Assignment Based) หรือให้ทำงานที่บ้าน (WFH) หรือในลักษณะ มอบหมายโครงการ (Project Based) และนัดประเมินหรือให้ข้อสังเกตแก่นิสิตเป็นระยะๆ ผ่าน ช่องทางออนไลน์

            ➢ กรณีที่หลักสูตรมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด หัวหน้าส่วนงานอาจพิจารณาให้มีการฝึกงาน การทัศนศึกษา หรือการดูงานภายในประเทศ ในสถานที่ตั้ง (Onsite)

การวัดและประเมินผลการศึกษา

▪ ในภาพรวมเป็นแบบผสมผสาน

            ➢ เน้นการวัดและประเมินผลผู้เรียนด้วยการใช้วิธีการผ่านช่องทางออนไลน์  โดยปรับรูปแบบจากการประเมินผลด้วยการทำข้อสอบไปเป็นการประเมินในลักษณะอื่น ๆ เช่น การมอบหมายงาน การทำรายงาน

            ➢ กรณีที่หลักสูตรมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด หัวหน้าส่วนงานอาจพิจารณาให้มีการวัดและประเมินผล ผู้เรียนในสถานที่ตั้ง

การสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรในสังกัด

▪ ในภาพรวมเป็นแบบผสมผสาน

            ➢ เน้นการสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรในสังกัด ด้วยการใช้วิธีการผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น การสัมภาษณ์ออนไลน์ การส่งผลงานแบบออนไลน์

            ➢ กรณีที่หลักสูตรมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด หัวหน้าส่วนงานอาจพิจารณาให้มีการสอบคัดเลือก บุคคลเพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรในสังกัดในสถานที่ตั้ง

การบริหารจัดการทั่วไป

▪ ต้องสื่อสารถึงนิสิต ผู้สมัครสอบ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบล่วงหน้าถึงขั้นตอน กระบวนการ หรือรายละเอียดของการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลของรายวิชา หรือการสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรในสังกัด การฝึกงาน การทัศนศึกษา หรือการดูงานภายในประเทศของแต่ละหลักสูตร ในสถานการณ์ที่ปรับเปลี่ยนไป

▪ ปรับตารางสอนของนิสิตให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 เช่น ปรับรายวิชาที่จัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ให้อยู่ในวันเดียวกัน ปรับรายวิชาที่จัดการเรียนรู้ในสถานที่ตั้งให้ อยู่ในวันเดียวกัน ปรับลดจำนวนนิสิตที่เข้ามาในพื้นที่โดยปรับเพิ่มจำนวนตอนเรียนให้   มากขึ้น หรือให้สลับตอนเรียนระหว่างรายวิชาเพื่อกระจายจำนวนนิสิต

▪ กรณีมีความจำเป็นต้องจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลของรายวิชา หรือการสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรในสังกัดในสถานที่ตั้ง

            ➢ ต้องมีมาตรการป้องกันโรคเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 ตามที่ทางราชการ มหาวิทยาลัย หรือสภาวิชาชีพกำหนดไว้เคร่งครัด โดยยึดหลัก DMHTT

                        ▪ Distancing – เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างเหมาะสม การใช้ห้องหรือสถานที่ในมหาวิทยาลัยให้คำนวณการใช้พื้นที่อย่างน้อย 4 ตารางเมตรต่อคน

                        ▪ Mask Wearing – สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่อยู๋ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย

                        ▪ Hand Washing – ล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์บ่อยๆ รวมถึงทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสในบริเวณห้องเรียนและส่วนกลางของอาคารเป็นระยะๆ

                        ▪ Testing – ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายเป็นระยะๆ และตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในกรณีจำเป็น

                        ▪ Thai Cha Na – ให้มีจุดสแกนแอปพลิเคชั่นไทยชนะทุกอาคารที่มีการใช้งาน และให้นิสิต และบุคลากรทุกคนสแกนแอปพลิเคชั่นไทยชนะก่อนเข้าใช้งานตัวอาคาร

            ➢ ในกรณีที่ส่วนงานมีการจัดการเรียนการสอนทั้งแบบ Online และ Onsite ขอให้จัดเตรียมพื้นที่ให้เหมาะสมสำหรับนิสิตที่จำเป็นต้องเรียนทั้งสองรูปแบบในวันเดียวกัน หรือจำเป็นต้องทำกิจกรรมในวิชาเรียนร่วมกัน

            ➢ หากพบผู้ใดเริ่มมีอาการของโรคหรือสงสัยว่าจะติดโรค COVID-19 หรือมีกรณีติดโรค COVID-19 ขึ้น แจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบและดำเนินการตามข้อแนะนำของมหาวิทยาลัย

▪ ควรจัดทำคู่มือหรือแนวทางการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 และแจ้งให้อาจารย์ผู้สอนและนิสิตทราบ

▪ ควรจัดสรรเวลาและทรัพยากร รวมถึงจัดให้มีระบบและสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนให้นิสิตเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

▪ ควรมีระบบการติดตามดูแลและช่วยเหลือด้านสุขภาวะแก่นิสิตเป็นระยะๆ รวมถึงการแก้ไขปัญหาอัน เนื่องมาจากการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการศึกษา ในสถานการณ์ที่ปรับเปลี่ยนไป

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

▪ หัวหน้าส่วนงานสามารถวินิจฉัยสั่งการหรือกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ให้คอย ติดตามข้อมูลข่าวสารและสถานการณ์ต่างๆ กับทางมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง

▪ ในกรณีที่สถานการณ์รุนแรงขึ้นเป็นระดับที่ 2 หรือ 3 ขอให้ส่วนงานปฏิบัติตามประกาศและข้อกำหนดของ มหาวิทยาลัยอย่างเคร่งครัด


ผลผลิตของจุฬาฯ คือ การผลิตบัณฑิต สร้างคนคุณภาพสู่สังคม

ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า