รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
26 มกราคม 2565
ข่าวเด่น
จากเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิดใต้ทะเลบริเวณประเทศตองกา เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2565 ส่งผลให้เกิดฝุ่นควัน เถ้าถ่าน และเกิดสึนามิเคลื่อนตัวเข้าหาชายฝั่งหลายประเทศรอบมหาสมุทรแปซิฟิก ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ นักวิจัยด้านแผ่นดินไหว ได้อธิบายถึงปรากฏการณ์ภูเขาไฟใต้ทะเลระเบิดกับการเกิดสึนามิ และโอกาสที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทยว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร
ทำความเข้าใจ “ภูเขาไฟใต้ทะเล”
“ภูเขาไฟ” เป็นกลไกการสร้างแมกมา (Magma) ที่อยูลึกลงไปภายใต้เปลือกโลก ภูเขาไฟสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่บนโลก ไม่ว่าจะบนพื้นดินหรือพื้นน้ำใต้ทะเล ภูเขาไฟระเบิดจะเกิดขึ้นได้เนื่องจากแมกมามีแรงดันเพียงพอ ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดบริเวณวงแหวนแห่งไฟในมหาสมุทรแปซิฟิก และแหล่งกำเนิดภูเขาไฟส่วนใหญ่ของโลก เช่น กลางมหาสมุทรแอตแลนติก แนวร่องลึกร่องทรุดทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา และโดยรอบมหาสมุทรแปซิฟิก
“ภูเขาไฟใต้ทะเล” ส่งผลให้เกิดสึนามิได้อย่างไร
คลื่นยักษ์สึนามิเกิดขึ้นจากแรงกระเพื่อมของน้ำทะเล สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นจากการที่แผ่นเปลือกโลกมีการเคลื่อนตัวหรือยกตัวในแนวดิ่ง การเกิดภูเขาไฟระเบิดใต้ทะเล หรือกรณีที่อุกาบาตตกกระทบกลางทะเล เกิดดินถล่มใต้น้ำ ซึ่งการเกิดสึนามิในครั้งนี้เกิดจากภูเขาไฟที่อยู่ใต้พื้นผิวทะเลปะทุขึ้น มีแรงสูบฉีดใต้น้ำพุ่งขึ้นมาอย่างรุนแรง ทำให้เกิดแรงกระเพื่อมของน้ำจนเกิดเป็นสึนามิ
ประเทศไทยกับผลกระทบจากการเกิดภูเขาไฟระเบิด
ศ.ดร.สันติ กล่าวว่าประเทศเพื่อนบ้านของเราที่มีภูเขาไฟจำนวนมากคือประเทศอินโดนีเซีย บนเกาะสุมาตรา เกาะชวา ซึ่งมีภูเขาไฟปะทุเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ไม่ส่งผลต่อประเทศไทย เพราะในแง่ภูมิศาสตร์ สภาพหมู่เกาะจะปิดกั้นและป้องกันไม่ให้ภูเขาไฟที่ปะทุขึ้นเข้ามาในอ่าวไทยได้
ในขณะที่ภูเขาไฟที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยนั้นมีเพียงบริเวณนอกชายฝั่งอันดามันใกล้กับหมู่เกาะนิโคบาร์ เป็นภูเขาไฟที่มีพลังและมีโอกาสที่จะปะทุได้ แต่ในแง่ภัยพิบัติ ภูเขาไฟนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย เพราะเป็นภูเขาไฟลูกเล็ก ถ้ามีการระเบิดก็ไม่รุนแรง ดังนั้นประเทศไทยจึงไม่ต้องกังวลในเรื่องผลกระทบแผ่นดินไหวและสึนามิจากการเกิดภูเขาไฟระเบิด
การรับมือภูเขาไฟระเบิด
“ภูเขาไฟระเบิดเป็นสิ่งที่เราป้องกันไม่ได้ แต่เราสามารถศึกษาการเกิดและเตรียมพร้อมเพื่อตั้งรับได้” นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว ให้ความรู้ว่า โดยปกติก่อนภูเขาไฟจะปะทุขึ้นจะมีสัญญาณเกิดขึ้นก่อน เช่น เกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็ก ซึ่งในประเทศไทยไม่มีการเกิดภูเขาไฟระเบิด การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดจึงมีเพียงพอและเหมาะสมแล้วในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหว ทุ่นเตือนภัยสึนามิ และการซ้อมแผนฉุกเฉินเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติ
การให้ความรู้ด้านภัยพิบัติแก่นิสิตและประชาชน
ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ มีหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนิสิต เรื่องการประเมินภัยพิบัติแผ่นดินไหว ธรรมชาติของการเกิดแผ่นดินไหว ระบบเตือนภัยและการรับมือแผ่นดินไหว พร้อมกับสอดแทรกความรู้ด้านภัยพิบัติอื่นๆ ให้แก่นิสิตด้วย
นอกจากนี้ทางจุฬาฯ เปิดสอนหลักสูตรสหสาขาวิชาเกี่ยวกับเรื่องภัยพิบัติสำหรับบุคคลทั่วไปให้สามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ และมีคอร์สเรียนออนไลน์ Chula MOOC เรื่อง “แผ่นดินไหว ธรณีพิโรธที่น่ากลัว (Earthquake – A horror geohazard)” สอนโดย ศ.ดร.ปัญญา จารุศิริ ที่ปรึกษากรมทรัพยากรธรณี และอดีตอาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ผู้ที่สนใจสามารถเข้าเรียนได้ที่ https://mooc.chula.ac.th/courses/159
PMCU ร่วมกับ “ศิลปินรวมใจเปิดหมวก” ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือ กับคอนเสิร์ตเปิดหมวก ตอน “น้ำลดเพื่อนผุด” @SiamSquare Walking Street
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สาม
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ร่วมกับ Degree Plus เปิดอบรมหลักสูตรผู้บริหาร “Decentralized Finance and Blockchain”
วิศวฯ จุฬา จัดเสวนา “เข้าใจน้ำท่วม แนวคิดวิศวกร”
10 ต.ค. 67 เวลา 14.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 อาคารเจริญวิศวกรรม (ตึก 4) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สอง
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้