รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
17 กุมภาพันธ์ 2565
ข่าวเด่น
ศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ จัดการแสดงปาฐกถาพิเศษว่าด้วยความสำคัญของพันธมิตรหลากหลายอารยธรรม (The Importance of Alliance of Civilizations) โดย ดร.มุฮัมมัด บิน อับดุลกะรีม อัลอีซา (Dr. Muhammad bin Abdul Karim Al-Issa) เลขาธิการองค์การสันนิบาตมุสลิมโลก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ เพื่อรับฟังแนวคิดว่าด้วยการสานเสวนาทางวัฒนธรรม เพื่อสร้างความเข้าใจในความหลากหลายของสังคมโลก และส่งเสริมการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างอย่างมีเอกภาพ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญต่อความเข้าใจร่วมกันผ่านการสานเสวนาที่จะยังประโยชน์ให้แก่มวลมนุษยชาติ
โดยมี ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี กล่าวต้อนรับ และ ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดี มอบของที่ระลึกแก่เลขาธิการองค์การสันนิบาตมุสลิมโลก และถ่ายภาพร่วมกัน มีตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้าร่วมรับฟังการแสดงปาฐกถาพิเศษในครั้งนี้ด้วย
ดร.อารีฝีน ยามา นักวิจัยประจำศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการปาฐกถาครั้งนี้ว่า องค์การสันนิบาตมุสลิมโลกซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2495 มีบทบาทความสำคัญสูงมากต่อโลกมุสลิมและประชาคมมุสลิม มุ่งเน้นทางด้านศาสนา วัฒนธรรมและการศึกษา ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างและส่งเสริมการศึกษา การมาแสดงปาฐกถาโดย ดร.มุฮัมมัด บิน อับดุลกะรีม อัลอีซา ในครั้งนี้เพื่อสร้างพันธมิตรทางวัฒนธรรม ซึ่งประเทศไทยมีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นต้นแบบของประเทศที่ประชาชนอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม ได้รับฟังแนวคิดในการอยู่ร่วมกันท่ามกลางวัฒนธรรม อารยธรรมความเชื่อที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะการเคารพสิทธิและความเห็นต่างของแต่ละศาสนาและอารยธรรม รวมทั้งแนวคิดในการสร้างความปรองดอง แม้จะมีความต่างทางวัฒนธรรมและความเชื่อแต่ก็สามารถอยู่ด้วยกันอย่างเป็นเอกภาพ
ทั้งนี้การแสดงปาฐกถาม่งเน้นการสร้างความเชื่อมโยงทางอารยธรรมที่แม้จะมีความแตกต่างแต่ก็สามารถอยู่ร่วมกันยผ่านการเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการแก้ปัญหาเรื่องความขัดแย้งและความรุนแรง โดยพูดคุยถึงความแตกต่าง เพื่อหาจุดร่วมในการที่จะอยู่ร่วมกัน ตามทฤษฎีของแซมมวล พี ฮันติงตัน (Samuel P. Huntington) เรื่องการปะทะทางอารยธรรมที่มีอิทธิพลต่อการเกิดแนวคิดสุดโต่ง องค์การสันนิบาตมุสลิมโลกจึงมุ่งเน้นที่จะสร้างแนวคิดในเรื่องของการสร้างพันธมิตรทางอารยธรรมที่จะก่อให้เกิดผลดีต่อประชาคมโลก
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้