ข่าวสารจุฬาฯ

“อุปกรณ์ช่วยแสดงตำแหน่งของ QR Code สำหรับผู้พิการทางการเห็น” (QR Braille) โดย Chula UDC ได้รับการจดทะเบียนอนุสิทธิบัตร จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน ได้รับการจดทะเบียนอนุสิทธิบัตรและหนังสือสำคัญรับรองสิ่งประดิษฐ์ “อุปกรณ์ช่วยแสดงตำแหน่งของ QR Code สำหรับผู้พิการทางการเห็น” (QR Braille) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา 

ปัจจุบันข้อมูลดิจิตอลเข้ามามีบทบาทอย่างมากในพิพิธภัณฑ์และศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ  ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงลึกสำหรับผู้ที่สนใจติดตามข้อมูลเพิ่มเติม แต่ด้วยข้อจำกัดของการเข้าถึงสื่อสำหรับคนพิการทางการมองเห็นที่สนใจอยากจะรับรู้ข้อมูลดิจิตอลที่เพิ่มมากขึ้น แต่ไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยตัวเองได้ เนื่องจาก QR Code ที่มีรูปแบบ 2 มิติ ดังนั้น ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน (Center of Excellence in Universal Design) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โดยคุณสุจิตรา จิระวาณิชย์กุล ได้พัฒนา QR Code โดยมีการนำเม็ดเบรลล์ที่คนพิการทางการเห็นคุ้นเคยและสัมผัสได้ มาประยุกต์ให้เป็นรูปแบบกรอบล้อมรอบ QR Code เพื่อให้คนพิการได้สัมผัส รับรู้ตำแหน่งและใช้สมาร์ทโฟนกดเพื่อรับข้อมูล พร้อมทั้งฟังเสียงได้ ช่วยส่งเสริมและเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ของคนพิการทางการเห็นมากขึ้น 

“อุปกรณ์ช่วยแสดงตำแหน่งของ QR Code สำหรับผู้พิการทางการเห็น” (QR Braille)

จุดเด่นของสิ่งประดิษฐ์นี้คือ ง่ายต่อการผลิต เพราะรูปแบบเดียว สามารถนำไปใช้กับ QR Code ได้ทุกชิ้น ไม่จำเป็นต้องผลิตเฉพาะข้อมูลนั้นๆ (ปัจจุบันในต่างประเทศต้องผลิตข้อมูล QR Code และเม็ดนูนเฉพาะชิ้นนั้นๆ แบบ 1:1  รวมทั้ง QR Code ไม่ได้สื่อถึงรูปแบบของเอกลักษณ์ของ QR Code ทำให้คนพิการทางการเห็นตั้งแต่กำเนิดไม่รู้จัก) และวัสดุที่นำมาใช้เป็นเม็ดเบรลล์อะคริลิค หรือใช้เครื่องปริ้นเบรลล์กระดาษ สามารถทำได้ง่าย ไม่ซับซ้อน ซึ่งคนพิการทางการเห็นมีความคุ้นเคยอยู่แล้ว จึงมีความปลอดภัยไม่บาดมือ

ทั้งนี้ สิ่งประดิษฐ์ “อุปกรณ์ช่วยแสดงตำแหน่งของคิวอาร์โค้ดสำหรับคนพิการทางการเห็น” (QR Braille) ได้รับการจดทะเบียนอนุสิทธิบัตรและหนังสือรับรองสิ่งประดิษฐ์จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา อนุสิทธิบัตร เลขที่ 17871 ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2564 

ปัจจุบัน มีการนำ QR Braille มาใช้ครั้งแรกในประเทศไทยที่พิพิธบางลำพู ต่อมาได้นำมาใช้ในพิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ขอนแก่น  และคาดว่าจะมีการใช้งานอย่างหลากหลายในอนาคตต่อไป

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า