รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
10 มีนาคม 2565
ภาพข่าว
ผู้เขียน นิธิกานต์ ปภรภัฒ
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม 2565 ณ ห้องประชุมลำแพน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษาฯ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ และคุณโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือทางด้านวิชาการระหว่างหน่วยงานและบุคลากรของทั้งสองฝ่าย ทั้งในด้านสมุทรศาสตร์ (Oceanography) วิทยาศาสตร์ทางทะเล (Marine Science) นิเวศทางทะเล (Marine Ecosystem) และการจัดการชายฝั่ง (Coastal management) การกัดเซาะชายฝั่ง (Coastal Erosion) และนิเวศป่าชายเลน (Mangrove Ecosystem)
ทะเลและชายฝั่งเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อประเทศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การใช้ประโยชน์ของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี ได้รับการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจึงลงนามความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างกัน ภายใต้ศาสตร์ที่เกี่ยวกับสมุทรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ทางทะเลที่ครอบคลุมด้านกายภาพ ชีวภาพ และกระบวนการจัดการทั้งในเขตชายฝั่ง ใกล้ฝั่งและไกลฝั่งของทะเล ซึ่งจะทำให้เกิดการส่งเสริมและสนับสนุนด้านการศึกษาวิจัย สร้างความร่วมมือในการทำงาน การฝึกอบรมภายใต้หลักสูตรทางวิชาการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ด้านพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และข้อมูลทางวิชาการระหว่างหน่วยงาน รวมถึงการนำความรู้ไปเผยแพร่ในวงกว้าง ซึ่งจะเกิดประโยชน์แก่บุคลากร นิสิตจุฬาฯ และบุคลากรของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมีความร่วมมือในด้านวิจัยและวิชาการในหลายโครงการ อาทิ โครงการฟื้นฟูทรัพยากรปะการังและแนวปะการัง โครงการสัตว์ทะเลหายาก โครงการขยะทะเลและขยะพลาสติก เป็นต้น
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
นิสิตเก่าจุฬาฯ พัฒนาโฟมล้างมือแบบเม็ดฟู่ “Fongdoo” ลดขยะพลาสติก ภายใต้การสนับสนุนของ CU Innovation Hub
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้