รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
17 มีนาคม 2565
ภาพข่าว
เมื่อวันพุธที่ 16 มีนาคม 2565 นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดโครงการประกวดนโยบายทางเลือกและแนวคิดริเริ่มการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ภายใต้หัวข้อ“ชุมชนยั่งยืนหวนคืนวัฒนธรรม (Sustainable and Cultural Community)” และการเสวนาวิชาการหัวข้อ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” พร้อมเปิดตัวทีมผู้แข่งขันที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่รอบแรก 30 ทีม โดยมี ดร.ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ สถานีวิทยุแห่งจุฬาฯ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 กระทรวงวัฒนธรรม เปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานผ่านระบบออนไลน์
นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวถึงการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนบนรากฐานการคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์และวัฒนธรรมท้องถิ่นว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)ให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้นที่ชนบทอย่างบูรณาการ ทั้งในมิติด้านสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ รวมถึงมิติด้านวัฒนธรรม ซึ่งการดำเนินงานต่าง ๆ เหล่านี้สอดคล้องกับนโยบายของวธ. ในการสืบสาน รักษาและต่อยอดโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมในการสนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบนิเวศ เพื่อรองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ ภายใต้การพัฒนาสร้างความเข้มแข็งจากฐานราก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์และวัฒนธรรมท้องถิ่นของแต่ละพื้นที่ การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและการส่งเสริมภาพลักษณ์และการรับรู้ถึงสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมไทย รวมถึงการส่งเสริมการส่งออกสู่ต่างประเทศ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากคนในพื้นที่ที่เป็นผู้เข้าใจในวิถีความเป็นอยู่ รวมทั้งอัตลักษณ์วัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเองได้ดีที่สุด ดังนั้น โครงการประกวดนโยบายทางเลือกและแนวคิดริเริ่มการพัฒนาชุมชนยั่งยืน ภายใต้หัวข้อ “ชุมชนยั่งยืนหวนคืนวัฒนธรรม” จึงสนับสนุนและเปิดโอกาสให้เยาวชนคนรุ่นใหม่จากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยได้เข้ามามีส่วนร่วมในการนำเสนอแนวคิดการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน โดยยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์และวัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเอง เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ทั้งในมิติด้านสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศต่อไป
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า วธ.ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ สถานีวิทยุแห่งจุฬาฯ จัดโครงการประกวดนโยบายทางเลือกและแนวคิดริเริ่มการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ภายใต้หัวข้อ“ชุมชนยั่งยืนหวนคืนวัฒนธรรม”ตั้งแต่เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2565 เพื่อเปิดโอกาสให้แก่นักเรียน นิสิตและนักศึกษาได้มีส่วนร่วมเสนอแนวคิดการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน คงไว้ซึ่งวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งโครงการฯ เปิดรับสมัครนักเรียน นิสิตและนักศึกษาอายุไม่เกิน 25 ปี เข้าร่วมกิจกรรม ทีมละไม่เกิน 3 คน มีผู้สมัคร 169 ทีม และมีทีมผ่านการคัดเลือกรอบแรก 30 ทีม เพื่อเข้าร่วมทำกิจกรรมโครงการฯ และนำเสนอนโยบายทางเลือกและแนวคิดริเริ่ม การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน กิจกรรมในโครงการฯ อาทิ การเสวนาทางวิชาการ การบรรยายพิเศษหัวข้อต่าง ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรมไทย การสร้างแบรนด์ กิจกรรมการออกแบบแนวคิดริเริ่มและนวัตกรรมด้านชุมชนยั่งยืน
ทั้งนี้ ในเดือนกรกฎาคม 2565 จะมีพิธีปิดโครงการฯ และมอบรางวัลพร้อมเกียรติบัตร รางวัลชนะเลิศได้รับ 50,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้รับ 30,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้รับ 10,000 บาท และรางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้รับรางวัลละ 5,000 บาท ผู้สนใจติดตามกิจกรรมโครงการฯ ได้ที่ Facebook กระทรวงวัฒนธรรม Facebook “เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องของเรา” Facebook คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ cuengworkshop@gmail.com
จุฬาฯ จัดพิธีมอบเข็มทองคำเกียรติคุณและแสดงมุทิตาจิตแด่ผู้เกษียณอายุ ปี 2567
จุฬาฯ จัดโครงการ “CU Sharing for Charity แบ่งปันเพื่อน้อง ครั้งที่ 1”
จุฬาฯ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับมูลนิธิเพื่อนศิลปะ สร้างแพลตฟอร์มใหม่ยกระดับศิลปะการเต้นสู่เวทีนานาชาติ
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ พัฒนา “MANUGRIP” อุปกรณ์ฝึกออกกำลังมือ เพื่อสุขภาพผู้สูงวัย
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัท ดีกรีพลัส ส่งเสริมการเรียนรู้และทักษะวิชาชีพ พัฒนานิสิตสู่ความเป็น Lifelong Leader
นิสิตบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลจากการแข่งขันกรณีศึกษาทางบัญชีระดับประเทศ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2567
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้