ข่าวสารจุฬาฯ

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ร่วมลงนามความร่วมมือยกระดับหลักสูตรอาชีวะตามมาตรฐานฮาลาล

เมื่อวันอังคารที่ 29 มีนาคม 2565 ณ กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเพื่อสร้างความร่วมมือพัฒนาเนื้อหารายวิชาหรือหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการผลิตสินค้าและบริการฮาลาล เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าตามมาตรฐานฮาลาล ก่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการอันเป็นประโยชน์ เพื่อต่อยอดองค์ความรู้โดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมฮาลาล และสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนและประเทศชาติด้วยเศรษฐกิจฮาลาลได้ โดยมีคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ

รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ กล่าวว่า “ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพและประสบการณ์ในการพัฒนาเทคโนโลยี วิจัย และสร้างนวัตกรรมฮาลาล พัฒนารายวิชา และจัดการบริการวิชาการ โดยดำเนินงานใกล้ชิดกับชุมชนมีประสบการณ์ในการจัดสร้างหลักสูตรอบรมระยะสั้นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการผลิต ผลิตภัณฑ์เกษตรและสินค้าฮาลาล สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ร้านอาหาร โรงพยาบาล และราชทัณฑ์ฯ ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก

ซึ่งการตกลงทำความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง 3 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย จึงเป็นโครงการที่จะช่วยส่งเสริมและพัฒนารายวิชาหรือหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการผลิตสินค้าและบริการฮาลาล โดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมจากงานวิจัย เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในการบริหาร การจัดการ และการควบคุมการผลิตตามมาตรฐานฮาลาลได้อย่างถูกต้อง สามารถบูรณาการเข้ากับวิชาชีพ สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน หรือช่วยพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้เป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการและตลาดแรงงานอย่างแท้จริง การร่วมมือครั้งนี้ยังเป็นประโยชน์ในการร่วมกันพัฒนาเนื้อหารายวิชาหรือหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการผลิตสินค้าและบริการฮาลาล เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าตามมาตรฐานฮาลาล อันก่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการอันเป็นประโยชน์ต่อยอดองค์ความรู้โดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมฮาลาล ซึ่งจะสามารถช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนและประเทศชาติด้วยเศรษฐกิจฮาลาล

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า