รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
21 เมษายน 2565
ภาพข่าว
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 2565 ณ ห้องบุรฉัตรไชยากร กระทรวงพาณิชย์ นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญากับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างงานวิจัยขายได้ หนุนสตาร์ทอัพไทยสร้างธุรกิจด้วยทรัพย์สินทางปัญญา เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 50,000 ล้านบาท
นายสินิตย์ เลิศไกร เปิดเผยว่า “การนำทรัพย์สินทางปัญญามาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการของไทยเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงพาณิชย์ และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อเป็นกลไกสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา นำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการไทยอย่างยั่งยืน การลงนาม MOU ในครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญาและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อขับเคลื่อนประเทศด้วยทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม สร้างความได้เปรียบทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการและนักวิจัยไทย”
นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า “กรมทรัพย์สินทางปัญญา พร้อมเชื่อมโยงภาคธุรกิจกับสถาบันการศึกษาของไทย โดยเฉพาะจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีศักยภาพ ทั้งด้านทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นกำลังสำคัญของประเทศ และผลงานวิจัยที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด อีกทั้งมีเครือข่ายผู้ประกอบการที่เข้มแข็งกว่า 300 บริษัท ด้วยความร่วมมือที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ทำให้ผู้ประกอบการไทยใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยได้อย่างเต็มที่ ผ่านการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเป็นระบบ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 50,000 ล้านบาท และสามารถนำผลงานวิจัยที่ขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทยมาสร้างโอกาสในการเข้าสู่ตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่มีขนาดตลาดมูลค่ากว่า 1.3 ล้านล้านบาท ช่วยลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และสร้างรายได้เข้าประเทศอย่างยั่งยืน”
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า “ปัจจุบันจุฬาฯ ผลักดันให้นิสิต คณาจารย์ และนักวิจัยก้าวเข้ามาร่วมเดินบนวิถีใหม่ในระบบนิเวศสตาร์ทอัพ ร่วมกันนำงานวิจัยที่มีความหมายต่อการพัฒนาประเทศลงจากหิ้งและนำไปสู่ห้างหรือภาคธุรกิจ (Research to Commercial) โดยเฉพาะกลุ่ม Deep Tech Startups กลุ่มยาและเวชภัณฑ์ซึ่งมหาวิทยาลัยทำได้ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ผ่านแพลตฟอร์มการพัฒนาการนำส่งยาเข้าร่างกายมนุษย์ด้วยวิธีใหม่ ๆ การทดสอบยาและวัคซีนในระดับสัตว์ทดลองและมนุษย์ รวมไปถึงการผลิตให้ได้มาตรฐานระดับสากล ต่อยอดให้เกิดทรัพย์สินทางปัญญาและธุรกิจใหม่ผลักดันให้เศรษฐกิจไทยมีมูลค่าโตได้อีกมากกว่า 5 หมื่นล้านบาท”
ความสำเร็จภายใต้ MOU ฉบับนี้ เป็นเครื่องมือสำคัญช่วยส่งเสริมและสนับสนุนนักวิจัย นักประดิษฐ์ นิสิต และผู้ประกอบการไทยในเครือข่ายของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำผลงานวิจัยมาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยมีผลงานทรัพย์สินทางปัญญาที่โดดเด่น อาทิ สารสกัดโปรตีนพืช จากบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด สารละลายไฟโบรอินจากไหมสร้างระบบนำส่งยาเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ จากบริษัท เอนจินไลฟ์ จำกัด นวัตกรรมคาร์บอนนาโนผลิตแบตเตอรี่รถ EV จากบริษัท คริสตัลไลต์ จำกัด นวัตกรรมแผ่นแปะเข็มระดับไมโครนีดละลายได้ จากบริษัท ไมนีด เทคโนโลยี จำกัด นวัตกรรมสเปรย์แอนติบอดี้พ่นจมูกยับยั้งและรักษาโควิด-19 จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ นวัตกรรมเคลือบพื้นผิวต้านทานการกัดกร่อน จากบริษัท เนกซัส เซแร์เฟส อินโนเวชั่น จำกัด การพัฒนาคุณภาพน้ำบาดาลให้ดื่มได้ จากบริษัท ไอโฟลว์เทค จำกัด เท้าเทียมช่วยเหลือคนพิการ จากบริษัท มุทา จำกัด นาโนแคลเซียมคาร์บอเนตในกลุ่มเครื่องสำอางปกป้องผิว จากบริษัท ทีดีเอช เพรสทีจเจียส เดอร์มาโทโลจิ จำกัด และและสารเคลือบผักและผลไม้ยืดอายุความสด จากบริษัท อีเด็น อะกริเทค จำกัด รวมถึงการจัดทำรายงานวิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยีจากฐานข้อมูลสิทธิบัตรทั่วโลก ช่วยให้ผู้ประกอบการไทยรู้แนวโน้มเทคโนโลยีโลก
นิสิต BBA จุฬาฯ กวาดรางวัลจากเวทีระดับโลก ASEAN-CHINA-INDIA Youth Leadership Summit 2024
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเยี่ยมชมศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ชื่นชมความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมฮาลาล
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ ร่วมมือ สสส. – พม. สานพลังภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานคนไร้บ้าน
โครงการ Dogcoola กิจกรรมดี ๆ ที่สร้างสรรค์โดยนิสิตสัตวแพทย์ จุฬาฯ เชิญชวนบริจาคโลหิตช่วยชีวิตคนและส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์
นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ครั้งที่ 24 Public Health 360: From Policy to Practice
เชิญร่วมกิจกรรม Chula Lunch Talk : GenAI x งานวิจัย: 1 ปี ที่เปลี่ยนไป! ความท้าทายใหม่ ที่นักวิจัยต้องรู้
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้