รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
28 เมษายน 2565
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่สร้างผลกระทบต่อสังคมสูง (SDGs Impact) โดย THE Impact Ranking ปี 2022 ซึ่งประกาศผลเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2565 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างความภาคภูมิใจให้มหาวิทยาลัยไทยอีกครั้งด้วยการครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยในประเทศไทยเป็นปีที่สามติดต่อกัน และอันดับที่ 16 ของโลก จากมหาวิทยาลัย 1,524 แห่งทั่วโลก จาก 110 ประเทศ ซึ่งถือเป็นอันดับที่สูงที่สุดที่มหาวิทยาลัยไทยเคยได้รับ
ผลงานที่โดดเด่นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ติดอันดับตามเป้าหมายของ SDG มีดังนี้
SDG 3 – Good Health and Well-being (สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี) ได้อันดับที่ 16 จาก 1,101 มหาวิทยาลัย เพิ่มขึ้น 1 อันดับ
SDG 9 – Industry Innovation and Infrastructure (โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรมและอุตสาหกรรม) ได้อันดับที่ 26 จาก 785 มหาวิทยาลัย เพิ่มขึ้น 34 อันดับ
SDG 14 – Life Below Water (ทรัพยากรทางทะเล) ได้อันดับที่ 26 จาก 452 มหาวิทยาลัย
SDG 15 – Life on Land (ระบบนิเวศบนบก) ได้อันดับที่ 16 จาก 521 มหาวิทยาลัย เพิ่มขึ้น 34 อันดับ
SDG 17 – Partnerships for the Goals (ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน) ได้อันดับที่ 10 จาก 1,438 มหาวิทยาลัย เพิ่มขึ้น 34 อันดับ
ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก THE Impact Rankings 2022 สะท้อนถึงการก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกด้าน SDGs Impact ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินการในเรื่องนวัตกรรมเพื่อสังคม และการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
อธิการบดีจุฬาฯ ต้อนรับนิสิตจุฬาฯในโอกาสเปิดภาคการศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2565
เปิดเทอมแล้ว จุฬาฯ 1 – 2 – 3 ชวนนิสิตและบุคลากรจุฬาฯ จัดการโควิดง่ายๆ
นิสิตจุฬาฯ คว้ารางวัล “ผลงานนวัตกรรมอุดมศึกษา 2565”
อบจ. จัดงาน “ดนตรีในสวน” ที่อุทยาน 100 ปีจุฬาฯความสุขสนุกสนานและรักษ์สิ่งแวดล้อม
FAAMAI Digital Arts Hub เชิญร่วมงาน Exclusive Talk “The Making of DuckUnit”
13 สิงหาคม 2565 เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป
Facebook Live และ YouTube
“แผนที่เศรษฐกิจชุมชนแบบดิจิทัล” ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน สร้างขีดความสามารถ สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้