รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
12 พฤษภาคม 2565
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จัดงานแถลงข่าวความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม “สารสกัดอินนูลินจากแก่นตะวันสำหรับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ” ความร่วมมือระหว่างนักวิจัยคณะแพทยศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อศึกษาวิจัยคิดค้นการสกัดอินนูลินจากแก่นตะวัน ทำให้ได้ใยอาหารละลายน้ำชนิดพิเศษ มีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติกที่ช่วยสร้างสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้แบบจำเพาะได้ ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพของเด็กอ้วน ผู้สูงวัย และผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและดูแลสุขภาพ ทุกเพศ ทุกวัยให้มีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน พร้อมร่วมมือกับภาคเอกชนในการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้สู่ภาคปฏิบัติได้ในวงกว้างมากขึ้น
งานแถลงข่าวความร่วมมือระหว่างคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงพยาบาลผู้สูงอายุเฌ้อสเซอรี่โฮมในงานนวัตกรรมนี้จัดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม 2565ณห้องประชุม 1301 ชั้น 13 โซนซีอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยมี รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผศ.ดร.นพ.อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์ รองผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์และการประกอบการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผศ.(พิเศษ) พญ.ชนนิกานต์ วิสูตรานุกูล ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ นพ.เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลผู้สูงอายุเฌ้อสเซอรี่โฮม ร่วมในงานแถลงข่าว นอกจากนี้ภายในงานมีการเสวนาเรื่อง “Innovative Special Inulin for All-age Good Health and Well-being”โดยมี รศ.ดร.ศุภกาญจน์ ชำนิ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และคุณนิรุตติ์ ศิริจรรยา ดารานักแสดง ร่วมเสวนา
“โรคอ้วน” นับเป็นปัญหาสุขภาพของคนทุกเพศ ทุกวัย ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ผู้ป่วยโรคอ้วนมีความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้และมักขาดจุลินทรีย์ที่ดีบางประเภท คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ศึกษาวิจัยคิดค้นอินนูลินจากแก่นตะวันที่สกัดด้วยวิธีการใหม่ที่ยังไม่เคยมีผู้ใดใช้มาก่อนและพัฒนาขึ้นเพื่อให้ได้ใยอาหารละลายน้ำชนิดพิเศษ พบว่ามีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติกที่ช่วยสร้างสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้แบบจำเพาะได้ ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพของเด็กอ้วน ผู้สูงวัย และผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและดูแลสุขภาพ ทุกเพศ ทุกวัย ให้มีสุขภาพดีอย่างยั่งยืนและทำให้จุลินทรีย์สุขภาพเจริญเติบโตได้ดีกว่าอินนูลินที่ผลิตจากพืชชนิดอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ผลงานนวัตกรรมนี้ได้รับอนุสิทธิบัตรเรื่องกระบวนการสกัดอินนูลินจากแก่นตะวันเรียบร้อยแล้ว
ผศ.(พิเศษ) พญ.ชนนิกานต์ วิสูตรานุกูล ในฐานะผู้วิจัยคิดค้นการสกัดอินนูลินจากแก่นตะวัน เปิดเผยว่า อินนูลินพบในหัวหรือรากของพืชผัก ผลไม้และสมุนไพรหลายชนิด เช่น หอมหัวใหญ่ชิโครี (Chicory) กระเทียม กล้วยหอม และข้าวบาร์เลย์ แต่พบว่า“แก่นตะวัน” (Jerusalem Artichoke) มีปริมาณอินนูลินสูงถึงร้อยละ 15 – 20 ของน้ำหนักแห้ง ผลงานวิจัยนี้เป็นการคิดค้นวิจัยวิธีการสกัดอินนูลินจากแก่นตะวันด้วยวิธีพิเศษ โดยทำงานวิจัยร่วมกับ รศ.ดร.ศุภกาญจน์ ชำนิ ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ
ผศ.(พิเศษ) พญ.ชนนิกานต์ เผยถึงการดำเนินการวิจัยทางคลินิกในการให้อินนูลินจากแก่นตะวันในเด็กโรคอ้วนอายุ 7 – 15 ปี พบว่าเมื่อเด็กรับประทานอินนูลินจากแก่นตะวันเป็นประจำทุกวันๆ ละ 1 ครั้งติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน สามารถปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ของเด็กโรคอ้วนให้เป็นปกติ โดยไม่พบผลข้างเคียงใดๆ ถือได้ว่าเป็นอินนูลินจากแก่นตะวัน การปรับสมดุลลำไส้เพื่อรักษาโรคอ้วนในเด็ก ไร้ผลข้างเคียงครั้งแรกของโลก เนื่องจากแตกต่างจากงานวิจัยในต่างประเทศที่ใช้อินนูลินจากพืชชนิดอื่นและผ่านกระบวนการสกัดด้วยวิธีอื่นซึ่งพบผลข้างเคียง เช่น ท้องอืดและท้องเสียถึงร้อยละ 30 – 40 นอกจากนี้งานวิจัยยังได้รับรางวัลระดับโลก FISPGHAN Abstract Award for the Best Oral Presentation อันดับที่ 1 จากงานประชุม World Congress of Gastroenterology, Hepatology and Nutrition 2021 ที่ Vienna, Austria เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2564
อินนูลินจากแก่นตะวันสามารถนำไปใช้ในผู้ป่วยโรคอ้วนได้ทุกช่วงวัย รวมถึงผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวก็สามารถรับประทานได้เช่นกัน โดยนำผงอินนูลินจากแก่นตะวันที่สกัดด้วยวิธีพิเศษมาละลายในน้ำ โดยแนะนำให้ดื่มก่อนรับประทานอาหารมื้อเย็น เพื่อทำให้เกิดความรู้สึกอิ่มเร็วขึ้นและรับประทานอาหารน้อยลง ควรรับประทานต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือนขึ้นไป เพื่อให้ได้ผลดีต่อการปรับสมดุลจุลินทรีย์ ในลำไส้เพื่อดูแลรักษาโรคอ้วน นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพัฒนาเครื่องดื่มอินนูลินรสโกโก้ที่คงคุณสมบัติการเป็นพรีไบโอติกไว้อย่างสมบูรณ์ แต่มีรสชาติถูกปากยิ่งขึ้น เด็กดื่มง่าย ผู้ใหญ่ดื่มดี พร้อมทั้งมีการสุ่มตรวจตัวอย่างเพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์มีปริมาณอินนูลินตามมาตรฐานที่กำหนด ปราศจากโลหะหนักและยาฆ่าแมลง ผู้บริโภคจึงมั่นใจในความปลอดภัยสูงสุด นับเป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มคุณค่างานวิจัยให้นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
นพ.เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลผู้สูงอายุเฌ้อสเซอรี่โฮม กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า ในส่วนของภาคเอกชนมีความยินดีที่จะร่วมมือกันในการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้สู่ภาคปฏิบัติได้ในวงกว้างมากขึ้น เริ่มจากแนวคิด “100-Year Happy Living Solution นวัตกรรมจากองค์ความรู้…สู่สังคมร้อยปีที่ยั่งยืน” ซึ่งสามารถตอบโจทย์สังคมในอนาคตที่เราทุกคนมีความปรารถนาเดียวกันที่จะมีสุขภาวะที่สมบูรณ์และมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการแพทย์และสาธารณสุข จึงเป็นหัวใจของการขับเคลื่อนสังคมร้อยปีที่มีสุขภาวะที่ดี สร้างอนาคต สร้างรอยยิ้ม สร้างความสุขให้คนไทยมีสุขภาพที่แข็งแรง มีอายุยืนยาว และอยู่ในสังคมที่ยั่งยืน
ผู้สนใจนวัตกรรมนี้สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ผศ.(พิเศษ) พญ.ชนนิกานต์ วิสูตรานุกูล ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โทร. 0-2256-4951 E-mail: chonnikant.v@chula.ac.th และ รศ.ดร.ศุภกาญจน์ ชำนิ ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ โทร. 0-2-218-8357 E-mail: supakarn.c@pharm.chula.ac.th
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ร่วมกับ Degree Plus เปิดอบรมหลักสูตรผู้บริหาร “Decentralized Finance and Blockchain”
วิศวฯ จุฬา จัดเสวนา “เข้าใจน้ำท่วม แนวคิดวิศวกร”
10 ต.ค. 67 เวลา 14.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 อาคารเจริญวิศวกรรม (ตึก 4) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สอง
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566
ความประทับใจของบัณฑิตจุฬาฯ ในรั้วจามจุรี และพิธีพระราชทานปริญญาบัตรที่ภาคภูมิใจ
การประชุมวิชาการ “พระเสด็จโดยแดนชล” วัฒนธรรมเห่เรือในวรรณคดีและศิลปกรรมไทย เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพิธีมอบรางวัลการประกวดบทร้อยกรองประเภทกาพย์เห่
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้