ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ ริเริ่มพัฒนา Dashboard เครื่องมือวิเคราะห์ตัดสินใจ วางแผนและติดตามงานอย่างมีประสิทธิภาพ

         จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีการนำข้อมูลจากหน่วยงานของมหาวิทยาลัยและส่วนงานคณะ สถาบัน มาทำการวิเคราะห์ (Data Analytic) จัดทำเป็น Dashboard เพื่อนำมาใช้ในการบริหาร วางแผนตัดสินใจ ติดตามงาน และนำเสนอข้อมูลสรุปผลการดำเนินงานและสถิติต่างๆของมหาวิทยาลัย คณะ และหน่วยงาน ทำให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องในคณะ สถาบัน หน่วยงานต่างๆ ได้รับทราบข้อมูลได้โดยง่ายและรวดเร็ว อีกทั้งยังช่วยสื่อสารให้ประชาคมจุฬาฯ ได้เห็นเป้าหมาย ทิศทางการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยร่วมกัน จุฬาฯ ถือเป็นมหาวิทยาลัยแรกที่ริเริ่มนำข้อมูลมาใช้ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย (Data-Driven Organization) อย่างจริงจัง

         รศ.ภก.ดร.วันชัย ตรียะประเสริฐ ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านกิจการพิเศษ จุฬาฯ เปิดเผยว่า Dashboard เป็นเครื่องมือที่นำเสนอข้อมูลในด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัย คณะ สถาบัน และหน่วยงานในจุฬาฯ โดยนำมาวิเคราะห์และสรุปให้เห็นเป็นภาพกราฟิกที่เข้าใจง่ายในหน้าจอเดียว โดย Dashboard   มีฟิลเตอร์ตัวเลือกที่ทำให้ผู้ใช้งานเห็นมุมมองข้อมูลในระดับต่างๆ ตามความต้องการในการใช้งานของผู้ใช้งานแต่ละกลุ่ม แต่ละระดับสายงาน ตั้งแต่กลุ่มผู้บริหารระดับมหาวิทยาลัย กลุ่มผู้บริหารระดับคณะ/สถาบัน/หน่วยงาน กลุ่มหัวหน้าภาควิชา กลุ่มอาจารย์ และกลุ่มเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ทุกคนจะเห็นข้อมูลที่แตกต่างกันตามกลุ่มของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ ทุกคนในมหาวิทยาลัยสามารถเข้ามาดูและเข้ามาใช้งาน Dashboard จุฬาฯ ได้ทุกที่ทุกเวลา ช่วยในการวางแผนการบริหารจัดการตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยได้ตลอดเวลา รวมทั้งช่วยในการติดตามวัดผลงานในช่วงเวลาต่างๆ ว่าเป็นไปเป้าหมายที่ตั้งไว้ หรือไม่อย่างไร สอดคล้องกับแนวคิดในการวัดผลแบบ OKR

Dashboard ที่จุฬาฯ พัฒนาขึ้นมี 4 ประเภท ประกอบด้วย

– Strategic Dashboards เป็น Dashboard เชิงกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณบดี ผู้อำนวยการนำเสนอข้อมูลภาพรวมของมหาวิทยาลัย

– Analytical Dashboards เป็น Dashboard เชิงวิเคราะห์ ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับหัวหน้าภาควิชา

– Operational Dashboards เป็น Dashboard ที่ใช้ตรวจสอบการทำงานอย่างต่อเนื่อง

– Information Dashboards เป็น Dashboard ที่แสดงข้อเท็จจริงหรือสถิติที่ทุกคนสามารถเห็นข้อมูลได้

         “Dashboard เหล่านี้จะช่วยให้ชาวจุฬาฯ ทุกระดับตั้งแต่ผู้บริหารมหาวิทยาลัย หัวหน้าส่วนงาน คณาจารย์ และบุคลากรเห็นเป้าหมายร่วมกันและเป้าหมายเดียวกัน เพื่อผลักดันจุฬาฯ ให้ก้าวไปข้างหน้าในทิศทางเดียวกัน” รศ.ภก.ดร.วันชัยกล่าว

         รศ.ภก.ดร.วันชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า Dashboard จุฬาฯ ช่วยให้เห็นข้อมูลเชิงลึก (Data Insight)  ที่เป็นประโยชน์ในการนำมาใช้วิเคราะห์ ตัดสินใจ วางแผนและติดตามงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ประชาคมจุฬาฯ ทุกระดับและสายงาน ตั้งแต่ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้บริหารคณะ สถาบัน หน่วยงาน หัวหน้าภาควิชา อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสายสนับสนุนสามารถเข้ามาดูข้อมูลใน Dashboard จุฬาฯ ได้ เพียงแค่มี CUNET Account สามารถ login เข้ามาได้ที่ MISDashboard การเข้าถึงWebsite MISDashboard ผ่านคอมพิวเตอร์ก็ทำได้ง่ายดาย เพียงค้นหาในGoogle พิมพ์คำว่าMISDashboard.chula.ac.th

         สำหรับการพัฒนา Dashboard ในเบื้องต้น ปัจจุบันมีอยู่ 20 Dashboard ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัย เช่น สำนักบริหารแผนและงบประมาณ สำนักยุทธศาสตร์และการขับเคลื่อน สำนักงานการทะเบียน สำนักงานแผนงานกองทุนศตวรรษที่ 2 (C2F) สำนักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ ในอนาคตจะขยายความร่วมมือไปยังส่วนงาน คณะ สถาบัน เพื่อช่วยกันจัดทำ Dashboard มาใช้ในการบริหารงานของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมีแผนงานที่จะจ้างบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญมาปรับปรุง Website: MISDashboard ของจุฬาฯ ให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น โดยสามารถดูข้อมูลDashboard ให้เห็นเต็มจอทั้งใน Notebook, Tablet และสมาร์ทโฟน

         ขอเชิญชวนชาวจุฬาฯ ที่สนใจใช้งาน Dashboard จุฬาฯ พร้อมให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปรับปรุงพัฒนา Dashboard ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการมากที่สุด   โดยสามารถส่งข้อเสนอแนะมาได้ที่ รศ.ภก.ดร.วันชัย ตรียะประเสริฐ ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ โทร. 0-2218-3239 อีเมล twanchai@chula.ac.th

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า