รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
26 พฤษภาคม 2565
ข่าวเด่น
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
“โรคฝีดาษลิง” ซึ่งมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในต่างประเทศเป็นโรคที่ใกล้ตัวเราเข้ามาทุกที สร้างความวิตกกังวลให้หลายคนที่กลัวว่าจะติดเชื้อหลังจากที่สถานการณ์โรคโควิด-19 เริ่มจะคลี่คลาย ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง เกษแดงสกลวุฒิ ภาควิชาพยาธิวิทยาและหน่วยชันสูตรโรคสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคฝีดาษลิง เพื่อสร้างความเข้าใจให้ประชาชนไม่ตื่นตระหนก พร้อมแนะวิธีป้องกันตนเองให้ปลอดภัยให้ห่างจากโรคนี้
จุดเริ่มต้นโรคฝีดาษลิง
ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง อธิบายว่าโรคฝีดาษลิงเกิดจากเชื้อไวรัส Monkeypox ซึ่งเป็นไวรัสที่มีความใกล้เคียงกับโรคฝีดาษคนหรือไข้ทรพิษ พบครั้งแรกเมื่อปี 2501 ในห้องแลปที่ประเทศเดนมาร์ก จากลิงที่ใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ส่วนการพบในมนุษย์ครั้งแรกเมื่อปี 2513 ที่ประเทศคองโก ทวีปแอฟริกา ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ระบาดคือทางแถบแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกากลาง ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากคือไนจีเรีย เมื่อปี 2546 พบผู้ป่วยเป็นโรคฝีดาษลิงมีความสัมพันธ์กับสัตว์คือ แพรีด็อก ซึ่งซื้อมาจากร้านขายสัตว์เลี้ยง โดยมีการสัมผัสใกล้ชิดแล้วโดนกัด จากการสืบสวนโรคพบว่ามีการเลี้ยงแพรีด็อกอยู่ในกรงใกล้ๆ กับสัตว์ฟันแทะที่นำเข้ามาจากจากประเทศกาน่า ซึ่งสัตว์อาจจะมีพาหะอยู่แต่ไม่ได้แสดงอาการชัดเจน
การติดเชื้อและการแพร่ระบาดในปัจจุบัน
พาหะของโรคฝีดาษลิงคือสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนู แพรีด็อก ฯลฯ โดยติดเชื้อได้จากการโดนสารคัดหลังจากสัตว์ป่วยที่มีเชื้ออยู่ สำหรับกลุ่มคนที่ล่าสัตว์และนำเนื้อมาชำแหละก็มีความเสี่ยงได้เช่นกัน ส่วนการแพร่เชื้อจากคนสู่คนพบในประเทศอังกฤษ เป็นการติดจากสารคัดหลั่งเนื่องจากมีการใกล้ชิดกัน แต่ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าติดจากการมีเพศสัมพันธ์หรือไม่ ทั้งนี้การแพร่กระจายเชื้อผ่านอากาศ (Airborne) ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง กล่าวว่าสามารถเกิดขึ้นได้แต่น้อยมาก ปัจจุบันโรคฝีดาษลิงกลับมาแพร่ระบาดมากขึ้นจากการเดินทางข้ามประเทศมากขึ้น ที่เป็นข่าวแพร่หลายในระยะนี้เนื่องจากมีการระบาดหลายประเทศพร้อมกัน
อาการและความรุนแรงของโรคฝีดาษลิง
ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง กล่าวว่า ระยะ 3-4 วันแรกผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการเหมือนการติดเชื้อไวรัสคือมีไข้ ปวดหัว ปวดตัว ไม่มีแรง บางคนอาจเจ็บคอ หลังจากนั้นที่ผิวหนังจะมีลักษณะเป็นผื่น ตุ่มหนองขึ้นเหมือนอีสุกอีใส แล้วก็จะค่อยๆ แห้งกลายเป็นสะเก็ด และสามารถหายเองได้ในระยะเวลา 2-4 สัปดาห์
“โรคนี้ไม่ได้รุนแรงมาก เมื่อติดเชื้อแล้วมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 1-10 % เท่านั้น ถึงแม้อัตราการเสียชีวิตจะต่ำ แต่สิ่งที่ต้องระวังคือเราไม่รู้ว่าใครติดแล้วจะรุนแรงแค่ไหน ดังนั้นควรป้องกันตนเองและไม่ไปสัมผัสเชื้อจะดีที่สุด” ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง กล่าว
วิธีรักษาและวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษลิง
เนื่องจากโรคฝีดาษลิงเป็นเชื้อไวรัสจึงไม่มีวิธีการรักษา แต่มีการศึกษาเกี่ยวกับโรคฝีดาษสำหรับคนที่มีการปลูกฝี พบว่าสามารถป้องกันได้ 85% ซึ่งปัจจุบันไม่มีการปลูกฝีให้เด็กเช่นคนรุ่นก่อน การทดลองให้ยาต้านไวรัสสำหรับผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงยังไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดี 100% กำลังอยู่ในขั้นการทดลอง และต้องศึกษาอย่างละเอียดเนื่องจากยาต้านไวรัสอาจมีผลข้างเคียงที่รุนแรงได้
สำหรับเรื่องวัคซีน ในอดีตมีวัคซีนฝีดาษในคน แต่ประเทศไทยหยุดการฉีดวัคซีนฝีดาษเนื่องจากอุบัติการณ์ของโรคน้อยลง ทั้งนี้วัคซีนฝีดาษสามารถป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ 80% เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสในกลุ่มเดียวกัน
“วัคซีนฝีดาษลิงนั้นมีความเป็นไปได้ ขึ้นอยู่กับอุบัติการณ์ของโรคนี้ว่ามีมากน้อยเพียงใด ความสำคัญของโรคมีมากขึ้นหรือไม่ สถานการณ์ปัจจุบันอาจยังไม่สามารถระบุได้ว่าจำเป็นต้องมีการใช้วัคซีนในประชาชนทั่วไปหรือไม่ เนื่องจากการกระจายของเชื้อยังเป็นกระจุกเท่านั้น” ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง ให้ความเห็น
การเตรียมพร้อมรับมือและการป้องกันโรคฝีดาษลิงในประเทศไทย
ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง เผยว่าสิ่งที่น่ากังวลที่สุดของโรคฝีดาษลิงในประเทศไทยคือการเดินทางท่องเที่ยวไปยังประเทศที่มีผู้ติดเชื้อ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะที่ด่าน สนามบินต้องเฝ้าระวัง และมีระบบตรวจสอบผู้คนหรือนักท่องเที่ยวที่เข้ามาว่าไปที่ไหนมา มีอาการป่วยหรือไม่ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลในส่วนนี้แล้ว อีกส่วนหนึ่งที่ต้องระวังคือสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะเลี้ยงสัตว์ฟันแทะ การนำสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะสัตว์ต่างถิ่นเข้ามาโดยไม่รู้ที่มาเป็นสิ่งที่น่ากลัว เพราะถึงแม้สัตว์จะเป็นพาหะนำโรคแต่อาการของสัตว์จะไม่แสดงออกชัดเจน จึงต้องเฝ้าระวังสัตว์ที่นำเข้ามา และควรให้ความรู้กับคนที่เลี้ยงสัตว์ต่างถิ่นในเรื่องความเสี่ยงและวิธีการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล
“สำหรับการป้องกันโรคฝีดาษลิง สุขอนามัยที่เราป้องกันโควิด-19 ในขณะนี้สามารถป้องกันโรคฝีดาษลิงได้เช่นกัน เพราะโรคฝีดาษลิงจะติดได้จากสารคัดหลั่ง การเว้นระยะห่างกัน 1-2 เมตร ล้างมือบ่อยๆด้วยสบู่และแอลกอฮอล์เจล หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ที่มีประวัติมาจากพื้นที่เสี่ยงและมีอาการ ก็จะสามารถช่วยป้องกันโรคนี้ได้” อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวทิ้งท้าย
จุฬาฯ Triple Champions อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทยจากสามรายการจัดอันดับที่เป็นที่ยอมรับระดับโลก
สัมมนา “จับตาโค้งสุดท้ายเลือกตั้งสหรัฐฯ 2024: โอกาสและความท้าทายระดับโลก”
จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย TOP ของประเทศ 3 ด้าน โดย THE WUR 2025
สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อมจุฬาฯ เปิดตัวหนังสือ “การเดินทาง 50 ปี สู่สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน”
เชิญร่วมประกวดวงดนตรีและประกวดหนังสั้น เนื่องในวันเอดส์โลก ครั้งที่ 32 ประจำปี 2567
นักวิชาการศศินทร์ เผยผลวิจัยข้อเท็จจริงและโอกาสสำหรับผู้ดูแลผู้ที่มีความแตกต่างทางการรับรู้
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้