รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
13 มิถุนายน 2565
ข่าวเด่น, ปฏิทินกิจกรรม
ผู้เขียน ขนิษฐา จันทร์เจริญ
28 - 29 มิถุนายน 2565
คณะครุศาสตร์
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ The Research Centre for Global Learning (GLEA), Coventry University สหราชอาณาจักร จัดโครงการวิจัย“UK-SEA PEER Research” เวทีนำเสนอผลการวิจัยและรับฟังข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรูปแบบความร่วมมือ ความเป็นไปได้ในการขยายความร่วมมือ และการรักษาความร่วมมือให้ยั่งยืน ทั้งด้านวิชาการ วิจัย บุคลากร นิสิตนักศึกษา และ UK-SEA Research Findings Dissemination Event Provisional Programme ในวันอังคารที่ 28 มิถุนายน 2565 เวลา 14.00-18.00 น. แบบ onsite ณ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแบบออนไลน์ ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานหรือดูรายละเอียดการจัดงานได้โดยสแกน QR Code ที่โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
โครงการวิจัยในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อศึกษา ถอดบทเรียนความร่วมมือตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในสหราชอาณาจักรกับสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอื่นๆ จำนวน 15 ประเทศ ทั้งในด้านการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ นักวิจัย นิสิตนักศึกษา การฝึกอบรม การให้ทุนการศึกษา ทุนวิจัย การจัดทำหลักสูตรร่วม การทำวิจัยร่วม นำไปสู่การนำเสนอแนวทางในการสร้างความร่วมมือรูปแบบต่างๆ ในอนาคต
ทั้งนี้ในวันพุธที่ 29 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00 น. จะมีการประชุมหารือเพื่อขยายความร่วมมือ (Partnership) ด้านวิชาการ วิจัย บุคลากร นิสิตนักศึกษา และอื่น ๆ ในระดับอุดมศึกษาให้เป็นรูปธรรม เช่น การแลกเปลี่ยนคณาจารย์ นักวิจัย นิสิตนักศึกษา การฝึกอบรม การให้ทุนการศึกษา ทุนวิจัย การจัดทำหลักสูตรร่วม และการทำวิจัยร่วมระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในสหราชอาณาจักรกับสถาบันอุดมศึกษาไทย
โครงการ UK-Southeast Asia Partnerships and Exchanges Baseline Research (UK-SEA PEER )
เป็นโครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก British Council เป็นความร่วมมือระหว่าง The Research Centre for Global Learning (GLEA), Coventry University สหราชอาณาจักร กับสถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศต่าง ๆ ซึ่งมีนักวิจัยเป็นคณาจารย์และนักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษามากกว่า 20 คน จากประเทศต่าง ๆ อาทิ สหราชอาณาจักร ไทย ฮ่องกง จีน ญี่ปุ่น บูรไน เป็นต้น ระยะเวลาศึกษาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 ถึงกันยายน 2565 โดยได้รับความร่วมมือจาก ASEAN University Network (AUN) และ Asia-Europe Foundation
จุฬาฯ ผนึกความร่วมมือการบินไทย “จุฬาฯ – การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge”
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการ “ผลกระทบของแผ่นดินไหวต่อเขื่อนภูมิพล (ยันฮี)” แลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อการป้องกันและรับมือภัยพิบัติในอนาคต
6 พ.ค. 2568 เวลา 10.00 – 12.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 ตึก 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการและงานเปิดตัว “เรื่องของเรา” ภาพยนตร์จากงานวิจัย สู่สันติภาพชายแดนใต้
6 พฤษภาคม 2568 เวลา 16.30 - 19.30 น. โรงภาพยนตร์ลิโด้
จุฬาฯ ร่วมมือ UOB เปิดตัวระบบ Virtual Account สนับสนุนงานวิจัย
จุฬาฯ เปิดเวทีปาฐกถาเกียรติยศ “เวฬา ณ จุฬาลงกรณ์ฯ” ครั้งที่ 3 รับฟังวิสัยทัศน์ “การพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อฝ่าวิกฤติภัยพิบัติทางธรรมชาติ”
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เชิญร่วมฟังเสวนา “ธุรกิจไทยหลังนโยบาย Trump”
2 พฤษภาคม 2568 เวลา 15.00 - 16.30 น. CBS Cinema อาคารไชยยศสมบัติ 1 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้