ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ ร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดลงทะเบียนออนไลน์รับบัณฑิตจบใหม่และประชาชน ร่วมโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG”

โครงการ U2T for BCG เป็นการรวมพลังของมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนกว่า 98 แห่ง สำหรับบัณฑิตจบใหม่และประชาชนในพื้นที่รวม 68,350 คน ครอบคลุม 7,435 ตำบล ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเป็นรายตำบลทั่วประเทศ ซึ่งเป็นโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green Economy (BCG หรือเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว)

โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับผิดชอบ 62 ตำบล ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร 1 ตำบล น่าน 4 ตำบล ปัตตานี 1 ตำบล ยโสธร 1 ตำบล สระบุรี 55 ตำบล สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมโครงการกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถกรอกข้อมูลผ่านระบบกลางออนไลน์ของ อว. หลังจากคัดเลือกได้แล้ว จะมีการลงพื้นที่เพื่อทำงานร่วมกับชุมชน ตำบลละ 8-10 คน เพื่อทำหน้าที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการของชุมชน เช่น การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและบริการ การส่งเสริมการขยายและการตลาด การพัฒนาสินค้าและบริการให้มีมูลค่าสูง การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการ การขนส่งและกระจายสินค้า เป็นต้น

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รับผิดชอบพื้นที่ดำเนินการ : 62 ตำบล (ตำบลเดิม 9 ตำบล/ ตำบลใหม่ 53 ตำบล)

ระยะเวลาการจ้างงาน : 3 เดือน (กรกฎาคม – กันยายน 2565)

รอบการสมัครและคัดเลือก

เปิดรับสมัครบัณฑิตและประชาชน ผ่านระบบการรับสมัครกลางทางเว็บไซต์ https://u2tbcg.com โดยผู้ประสงค์เข้าร่วมโครงการ สามารถกรอกข้อมูลคุณสมบัติเบื้องต้นและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง พร้อมระบุพื้นที่ที่ประสงค์ในการปฏิบัติงาน

การจ้างงาน

  • พื้นที่ตำบลเดิม ที่ต่อยอดจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) กำหนดจำนวนผู้ข้าร่วมโครงการ จำนวน 8 คน/ตำบล ประกอบด้วย
    • บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษามาไม่กิน 5 ปี ในอัตรา 15,000 บาทต่อเดือน จำนวน 4 คน/ตำบล
    • ผู้ที่ถูกเลิกจ้าง/ประชาชนในพื้นที่ ในอัตรา 9,000 บาทต่อเดือน จำนวน 4 คน/ตำบล
  • พื้นที่ตำบลใหม่ กำหนดจำนวนผู้ข้าร่วมโครงการ จำนวน 10 คน/ตำบล ประกอบด้วย
    • บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษามาไม่กิน 5 ปี ในอัตรา 15,000 บาทต่อเดือน จำนวน 5 คน/ตำบล
    • ผู้ที่ถูกเลิกจ้าง/ประชาชนในพื้นที่ ในอัตรา 9,000 มาทต่อเดือน จำนวน 5 คน/ตำบล

คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ

  • บัณฑิตจบใหม่ เป็นบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาไม่กิน 5 ปี และมีความรู้ ความสามารถที่ตรงต่อภารกิจในการปฏิบัติงานที่ว่างงาน และไม่ได้รับค่าตอบแทน ค่าจ้าง จากหน่วยงานอื่นของภาครัฐและภาคเอกชน และไม่ได้รับความช่วยเหลือในการจ้างงานจากภาครัฐที่ให้การช่วยเหลืออยู่
  • ผู้ที่ถูกเลิกจ้างหรือประชาชนในพื้นที่ เป็นผู้ที่อยู่ในพื้นที่หรือพื้นที่ใกล้เคียงและสามารถเดินทางมาปฏิบัติงานในพื้นที่ได้ ที่ว่างงานหรือไม่ได้รับคำตอบแทนค่าจ้างจากหน่วยงานอื่นของภาครัฐและภาคเอกชนและไม่ได้รับความช่วยเหลือในการจ้างงานจากภาครัฐที่ให้การช่วยเหลืออยู่
  • มีคุณสมบัติเหมาะสมตามที่สถาบันอุดมศึกษากำหนด

ลักษณะและรายละเอียดภาระหน้าที่ของงาน

  1. พัฒนา สั่งเสริม ผลักดัน ผลิตภัณฑ์และบริการต้าน BCG ของชุมชนออกสู่ตลาดอย่างเป็นระบบและยั่งยืน เช่น
    • พัฒนาสินค้าและบริการชุมชนให้ได้มาตรฐานและมีมูลค่าสูงด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
    • ทำการตลาดและขายสินค้า ทั้งแบบ online / offline และทั้งใน และต่างประเทศ
    • การพัฒนาบรรจุภัณฑ์หรืออัตลักษณ์และ brand สินค้า เพื่อให้สินค้าและบริการนั้นให้มีความโดดเด่น น่าสนใจ และสามารถกระจายสินค้าและบริการได้อย่างกว้างขวาง
    • การพัฒนา U2T Market Place Platform เพื่อเป็นตลาดการขายผลิตภัณฑ์และบริการชุมชนที่ได้รับการส่งเริมผลักดันในโครงการ
    • ยกระดับสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐานสากล
    • การถ่ายทอดเทคโนโลยีในด้านการผลิตและบริการ
    • พัฒนาการขนส่งและกระจายสินค้า
  2. ทำหน้าที่ในการปฏิบัติงานสนับสนุน
    • การจัดทำข้อมูล TCD ให้สมบูรณ์
    • การปรับปรุงและพัฒนา Platform ให้ตอบสนองการใช้ประโยชน์ในหลากหลายมิติ
    • การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่
    • การถ่ายทอดการใช้ประโยชน์จาก TCD ให้ผู้ที่จะใช้ประโยชน์ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชน
  3. เข้าร่วมโครงการพัฒนาทักษะ BCG ผ่านช่องทางออนไลน์

ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่

  • เรื่องเว็บไซต์การสมัคร โทร. 0-2026-6589
  • รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการภายใต้การดำเนินงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร. 0-2218-3106
สแกนเพื่อลงทะเบียน
เข้าร่วมโครงการ
https://u2tbcg.com/

ผลผลิตของจุฬาฯ คือ การผลิตบัณฑิต สร้างคนคุณภาพสู่สังคม

ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า