รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
1 กรกฎาคม 2565
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์ / Thitirat Somboon
จากเวทีนำเสนอโครงการวิจัย “UK-SEA PEER Research” ซึ่งคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ The Research Centre for Global Learning (GLEA), Coventry University สหราชอาณาจักร จัดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม 101 อาคารประชุมสุข อาชวอำรุง คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อถอดบทเรียนความร่วมมือตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในสหราชอาณาจักรกับสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำไปสู่การนำเสนอแนวทางในการสร้างความร่วมมือรูปแบบต่างๆ ในอนาคต
ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ รองอธิการบดี ด้านวิชาการและการเชื่อมโยงกับสังคม จุฬาฯ เปิดเผยว่า โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาของผู้เรียนมีความสำคัญอย่างยิ่ง ความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในสหราชอาณาจักรกับสถาบันอุดมศึกษาไทยและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยได้รับการสนับสนุนผ่านทาง British Council จะส่งผลต่อการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยในระดับนานาชาติ ความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยพัฒนาการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาให้มีประสิทธิภาพและก้าวไกลยิ่งขึ้น ทำให้เกิดโอกาสทางการศึกษามากขึ้น เพื่อมองไปข้างหน้าว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร ตลอดจนลำดับในการแก้ปัญหาก่อนหลัง เพื่อให้ทุกคนมีโอกาสที่จะเข้าถึงความรู้แบบที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง การปิดเส้นทางการเดินทางข้ามพรมแดนในช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา แต่มีการเปิดเชื่อมโยงการเรียนรู้กันในโลกออนไลน์ส่งผลต่อข้อดีและโอกาสของความร่วมมือทางวิชาการในรูปแบบใหม่ๆ รวมถึงอุปสรรคที่จะต้องแก้ไขเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงการเรียนรู้ได้ เกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เกิดการขยับและขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม
ศ.ดร.ปาริชาต กล่าวถึงทิศทางการเรียนรู้ข้ามพรมแดนว่ามีความสำคัญกับสถาบันอุดมศึกษาทั้งไทยและต่างประเทศ การเรียนรู้ข้ามพรมแดนอาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่ ความแตกต่างของการเรียนรู้ข้ามพรมแดนในอดีตและปัจจุบันคือเรื่องเวลาและสถานที่ ในอดีตเราต้องเดินทางไปมา มีค่าใช้จ่ายและใช้เวลา แต่ในปัจจุบันเมื่อโลกอินเทอร์เน็ตเข้ามาทำให้การเรียนรู้เปิดกว้างมากขึ้น ส่งผลให้การเรียนรู้ข้ามพรมแดนสามารถทำได้รวดเร็วและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ผู้เรียนต้องพัฒนาทักษะตนเองอยู่ตลอดเวลาโดยไม่จำเป็นต้องเรียนในห้องเรียน จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อทุกคนในแวดวงการศึกษา ต้องมีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อให้กระบวนการเรียนรู้ทางออนไลน์ดีขึ้นกว่าเดิม “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเล็งเห็นและส่งเสริมความเท่าเทียมทางการศึกษา ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพ (SDG 4: Quality Education) ซึ่งความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในครั้งนี้เป็นประโยชน์และส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในข้อนี้เป็นอย่างยยิ่ง” ศ.ดร.ปาริชาต กล่าวทิ้งท้าย
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ปัตตานี คว้ารางวัลระดับชาติ โล่ประกาศเกียรติคุณ “ผู้มีคุณูปการต่อเยาวชนมุสลิมดีเด่นแห่งชาติ” สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ศ.ดร.นพ.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล อดีตรองอธิการบดีจุฬาฯ ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่น ประเภทบริหาร ด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2567 จากกระทรวงสาธารณสุข
จุฬาฯ เปิดโครงการอบรมครู “พิพิธภารัต 2567” และพิธีลงนาม MOU ส่งเสริมการสอนภาษาฮินดี
เชิญชวนนิสิตร่วมโครงการประเมินผลการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านระบบ myCourseVille
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้