รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
7 กรกฎาคม 2565
ข่าวเด่น
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะมีจำนวนผู้ติดเชื้อลดลง แต่การปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ เพื่อความปลอดภัยและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ยังคงเป็นสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ ที่ผ่านมายังมีผู้ที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับโควิด-19 ในหลายเรื่อง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์ปฏิบัติการโควิด-19 จึงได้รวบรวมคำถาม-คำตอบ “เรื่องที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับโควิด-19” เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ชาวจุฬาฯ ดังนี้
– ไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยแล้ว?
ยังคงใส่หน้ากากอนามัย ยกเว้นอยู่ตามลำพัง หรืออยู่ในที่โล่งแจ้งที่เว้นระยะห่างจากผู้อื่นมาก”
– ไม่จำเป็นต้องเว้นระยะห่างแล้ว?
แนะนำให้ยังรักษาระยะห่าง เนื่องจากการติดเชื้อยังเกิดขึ้นได้เมื่ออยู่ใกล้ชิดกัน
– ต้องตรวจ ATK เป็นประจำ หรือทุกครั้งที่เดินทางไปเรียน หรือทำงาน
ไม่จำเป็น หากไม่มีไข้ เจ็บคอ หรืออยู่ในกลุ่มของคนที่มีความเสี่ยง
– จำเป็นต้องฉีดวัคซีนเข็มที่ 5 หรือไม่?
การต้องฉีดวัคซีนเข็มที่ 5 หรือไม่นั้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์
– ถ้าติดโควิด-19 แล้ว ไม่จำเป็นต้องรับวัคซีนแล้ว?
– “ไม่จริง” ผู้ที่ติดเชื้อแล้วยังสามารถกลับมาติดได้อีก ควรเข้ารับวัคซีนหลังจากที่หายจากการติดเชื้อแล้ว 3 – 6 เดือน
– หากมีคนติดโควิด-19 ในออฟฟิศ หรือห้องเรียน ต้องทำอย่างไร?
มีแนวทางปฏิบัติดังนี้
1. ให้ผู้ติดเชื้อแยกตัวออกจากพื้นที่
2. แจ้งผู้เกี่ยวข้องให้ทำความสะอาดพื้นที่
3. ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวให้เฝ้าระวังอาการของตนเอง
4. ดำเนินการเรียนการสอนและการทำงานได้เป็นปกติ
– เมื่อมีเพื่อนร่วมงาน หรือเพื่อนร่วมชั้นติดโควิด-19 ผู้ที่ใกล้ชิดจำเป็นต้องกักตัวอยู่ที่บ้าน?
ไม่จำเป็นต้องกักตัว แต่ให้เฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิด
– เมื่อติดโควิดแล้วควรทำอย่างไร?
ดำเนินการตามแนวปฏิบัติของจุฬาฯ
– เมื่อติดโควิดแล้วเริ่มนับการกักตัว 7 วันเมื่อใด?
เริ่มนับจากวันแรกที่ตรวจพบ
PMCU ร่วมกับ “ศิลปินรวมใจเปิดหมวก” ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือ กับคอนเสิร์ตเปิดหมวก ตอน “น้ำลดเพื่อนผุด” @SiamSquare Walking Street
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สาม
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ร่วมกับ Degree Plus เปิดอบรมหลักสูตรผู้บริหาร “Decentralized Finance and Blockchain”
วิศวฯ จุฬา จัดเสวนา “เข้าใจน้ำท่วม แนวคิดวิศวกร”
10 ต.ค. 67 เวลา 14.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 อาคารเจริญวิศวกรรม (ตึก 4) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สอง
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้