รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
8 กรกฎาคม 2565
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน นิธิกานต์ ปภรภัฒ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขยายระยะเวลาของข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ จำนวน 87 แห่ง ในการใช้โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ออกไปอีกเป็นเวลา 5 ปี จนถึงวันที่ 26 มีนาคม 2570 พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับสถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจต่างๆ ในการขยายเวลาข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการฯ จัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ผ่านทางโปรแกรม Zoom เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม 2565 โดยมี นายวันนี นนท์ศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานกล่าวเปิดงานและร่วมเป็นสักขีพยาน กล่าวรายงานโดย รศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยริเริ่มพัฒนา “โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์” เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมทางวิชาการของบุคคลอื่นจนสำเร็จตั้งแต่ปี 2556 และในปี 2557 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีนโยบายอนุญาตให้สถาบันการศึกษา หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจใช้งานโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย โดยทำความร่วมมือทางวิชาการกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา มีสถาบันการศึกษา หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ จำนวนทั้งสิ้น 150 แห่ง ให้ความสนใจใช้โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์และร่วมทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อขยายเครือข่ายความร่วมมือในการตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมในวิทยานิพนธ์ งานวิจัย และผลงานทางวิชาการ โดยใช้โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์
นายวันนี นนท์ศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้นอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายทางวิชาการที่ใช้งานโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ในการตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมแล้ว ยังเป็นการแสดงจุดยืน เจตนารมณ์ และความมุ่งมั่นของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจต่อการแก้ไขปัญหาการลอกเลียนวรรณกรรม ที่กำลังเป็นปัญหาคุกคามอยู่ในแวดวงวิชาการในปัจจุบัน และยังเป็นอีกหนึ่งมาตรการสำคัญในการปลูกฝังความซื่อสัตย์ ซึ่งเป็นคุณธรรมสำคัญของนิสิตนักศึกษา นักวิชาการ ทั้งในแวดวงการศึกษาและวงวิชาการต่าง ๆ รวมถึงการร่วมมือกันส่งเสริมและผลักดันเพื่อสร้างและขยายฐานข้อมูลอ้างอิง เพื่อการตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมของประเทศไทยให้มีความแข็งแกร่งและเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากทุกสถาบันการศึกษา และหน่วยงานด้านการศึกษาและวิชาการ
รศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ กล่าวว่า โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ริเริ่มจากแนวคิดของ รศ.ดร.อมร เพชรสม อดีตคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เป็นการสร้างมาตรฐานในการป้องกันการลักลอกผลงานวิชาการเพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับนิสิตนักศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ไม่หยุดนิ่งที่จะพัฒนาปรับปรุงระบบโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อต่อยอดไปสู่ความเป็น “อักขราวิสุทธิ์ (พลัส)” โดยมีการขยายฐานข้อมูลต่างๆ เช่น ฐานข้อมูลงานวิจัยกับศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index Centre) หรือ TCI รวมไปถึงฐานข้อมูลสำคัญอื่นๆ เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงในการตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมที่กว้างขวางยิ่งขึ้น
รศ.ดร.ยุทธนาเผยว่าการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงสัญลักษณ์ของการตระหนักรู้ในเรื่องจริยธรรมทางงานวิชาการซึ่งไม่ได้อยู่ในระดับอุดมศึกษาเท่านั้น เนื่องจากยังมีปัญหาทับซ้อนอยู่ในการลอกเลียนงานวรรณกรรมในทุกระดับของการศึกษาและวิชาชีพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเล็งเห็นถึงความสำคัญจึงได้ขยายระยะเวลาการใช้โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ต่อไปอีก 5 ปีและไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการใช้งาน เพื่อให้เกิดคลังข้อมูลขนาดใหญ่ด้านวิชาการของประเทศไทย
“จุฬาฯ ได้พันธมิตรสำคัญมากมายในการสร้างความร่วมมือใช้โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ (พลัส) การได้ฐานข้อมูลสำคัญของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Centre หรือ TCI) จะทำให้เกิดความแม่นยำสูงในการตรวจจับการทำซ้ำ ลอกเลียนวรรณกรรมได้ดียิ่งขึ้น หวังว่าโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ (พลัส) จะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการให้บริการกลาง ในการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลด้านวิชาการะหว่างกระทรวงต่างๆ ให้เกิดเป็น Academic Public Service เพื่อให้บริการทั้งประเทศไทยในอนาคต” รศ.ดร.ยุทธนา กล่าวทิ้งท้าย
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ “รักษาฟันฟรี” ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ
17 ต.ค. 67 เวลา 08.00 น.
อาคารบรมนาถศรีนครินทร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
เสวนา Chula the Impact ครั้งที่ 25 “แพลตฟอร์มจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ: Digital War Room” นวัตกรรมจากจุฬาฯ ที่ใช้ชี้จุด คาดคะเน และให้ข้อมูลผู้ประสบภัยได้อย่างแม่นยำและทันสมัย
9 ต.ค. 67
ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาฯ
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดการประชุมวิชาการ The 1st International Study Group on Creative Arts Therapy ดูแลสุขภาวะด้วยศิลปะบำบัด
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ จัดบรรยายพิเศษครั้งที่ 7 “Human + Machine: A New Territories of Design” แลกเปลี่ยนความรู้การออกแบบในโลกดิจิทัล
PMCU เชิญร่วมงานเทศกาลอิ่มเจ อิ่มบุญ อิ่มความสุข ที่สามย่าน-บรรทัดทอง
ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ และ PMCU รับมอบคอมพิวเตอร์ให้โรงเรียนที่ประสบอุทกภัยจังหวัดน่าน
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้