รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
22 กันยายน 2565
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ขนิษฐา จันทร์เจริญ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับองค์กรผู้นำนักศึกษา ไอเซค ประเทศไทย และบริษัทโกลบิช อคาเดเมีย (ไทยแลนด์) ซึ่งเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการศึกษาของศูนย์นวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn University Innovation Hub) เป็นเจ้าภาพจัดโครงการ International Friends for Peace 2022 เนื่องในวันสันติภาพโลก 21 กันยายน 2565 นำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 30 คนจาก 10 ทีมนำเสนอแนวคิดในหัวข้อ “หลังเสียงออดดังขึ้น น้องและเพื่อนจะช่วยลดความรุนแรงในโรงเรียนได้อย่างไร” โดยจัดการแข่งขันประชันไอเดียสุดยอดในรอบชิงชนะเลิศและพิธีมอบรางวัลซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันพุธที่ 21 กันยายนที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม 801 อาคารจามจุรี 10 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จากนักเรียนชั้นมัธยมปลายจากทั่วประเทศที่ผ่านเข้าร่วมโครงการในรอบแรกจำนวน 1,300 คน ได้มีการแข่งขันเพื่อคัดเลือกให้เหลือ 10 ทีมสุดท้ายผ่านเข้าแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ โดยมี อ.กัญญสร ตัณศุภผล ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน การแข่งขันครั้งนี้แต่ละทีมได้นำเสนอไอเดียและนวัตกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจ ด้วยความมุ่งหวังที่จะยุติความรุนแรงและการข่มเหงรังแกในโรงเรียน นอกจากนี้ในงานยังมีการบรรยายโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวไทยและต่างชาติ ในหัวข้อต่างๆ อาทิ ทำไมเราต้องยุติความรุนแรงและการข่มเหงรังแกในโรงเรียน แนวคิดและนวัตกรรมเพื่อยุติความรุนแรงและการข่มเหงรังแกในโรงเรียน เป็นต้น
โครงการ International Friends for Peace 2022 เริ่มต้นจากการค้นหาตัวแทนเยาวชนเพื่อเป็นผู้นำด้านสันติภาพ หรือ Peace Leader รุ่นแรกตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2565 โดยจัดกิจกรรมคัดเลือกนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวนกว่าหมื่นคนจากโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อเป็นตัวแทนผู้นำที่มีคุณสมบัติหลักคือมีความปรารถนา (Passion) และความมุ่งมั่น (Commitment) ที่พร้อมจะสร้างความเปลี่ยนแปลง และเป็นกระบอกเสียงให้กับเพื่อนเยาวชนด้วยกันในการคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อช่วยลดปัญหาความรุนแรงในโรงเรียน เยาวชนกลุ่มนี้ได้คิดค้นและสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อลดความรุนแรงในโรงเรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ในลักษณะของการคิดเพื่อออกแบบ หรือ Design Thinking และการสร้างโครงการ (Project Creation) พร้อมนำเสนอต่อหน้าสาธารณชน
โครงการนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ เพื่อเตรียมพร้อมสร้างตัวแทนเยาวชนที่จะมาร่วมเป็นผู้นำด้านสันติภาพในระดับมัธยมปลายและระดับมหาวิทยาลัยในปีต่อไป ประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้และออกแบบสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อลดความรุนแรงในโรงเรียนจะสามารถช่วยเหลือเพื่อนนักเรียน ครู โรงเรียนและสังคมไทยได้ นอกจากนี้ตัวแทนเยาวชนผู้นำด้านสันติภาพทั้ง 30 คนจะช่วยเป็นกระบอกเสียงสร้างความตระหนักรู้เรื่องความรุนแรงทั้งในโรงเรียนและครอบครัวได้ดียิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จะขยายเครือข่ายตัวแทนเยาวชนไทยและสร้างผู้นำด้านสันติภาพ หรือ Peace Leader กว้างขวางมากยิ่งขึ้น เพื่อให้นักเรียนไทยได้เตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้นำและพลเมืองโลกในศตวรรษที่ 21 สามารถช่วยยุติปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในเร็ววัน
นายธีรกร อานันโทไทย ผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันสอนภาษาอังกฤษ Globish และน.ส.ศรัญญา ศิริรัตน์ สมาคมไอเซคแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานจัดงานโครงการนี้ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ปัจจุบันข่าวที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงในโรงเรียนเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก โครงการนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อรณรงค์หาแนวทางยุติปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในโรงเรียน โดยมุ่งไปที่กลุ่มน้องๆ มัธยมต้นเพราะมีความเป็นได้สูงมากที่จะเจอกับการ bully ซึ่งเยาวชนกลุ่มนี้จะมีส่วนรับรู้ รวมถึงแก้ปัญหาในเรื่องนี้ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ การสร้างภาคีเครือข่ายที่เรียกว่า Peace Leader จะทำให้น้องๆ นำวิธี Design Thinking มาใช้ในกระบวนการการเข้าใจเหยื่อที่ถูกกระทำ และช่วยหาวิธีการที่เหมาะสมสำหรับยุติความรุนแรงและการข่มเหงรังแกในโรงเรียน ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างเครือข่ายเพื่อร่วมกันลดปัญหานี้ให้เกิดได้จริง
ด.ญ.ประณิตา อุทัยเฉลิม โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ด.ญ.มัญชุวีร์ ศักดิ์ชนะลายา โรงเรียนศูนย์การเรียนรู้เซนต์ยอห์นบอสโก และ ด.ญ.ธนิกา ชมภูทีป โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย จากทีม “School-ly” ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 กล่าวว่า การแก้ปัญหาการกลั่นแกล้งที่แสดงออกด้วยคำพูดหรือพฤติกรรมที่ก้าวร้าวต่อผู้อื่น (bully) ที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียนไม่ควรแก้ที่ปลายเหตุคือตัวนักเรียนที่ตกเป็นเหยื่อของการ bully แต่ควรย้อนกลับไปที่ต้นเหตุ ด้วยการทำให้เด็กมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ซึ่งการปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีแก่นักเรียนจะช่วยแก้ปัญหาการ bully ให้ลดลงได้
การแข่งขันในครั้งนี้ นักเรียนทั้งสามได้สร้างเกมที่ชื่อว่า “School-ly” เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาการถูก bully ในลักษณะ Edutainment เพื่อทำให้เด็กๆ เรียนได้สนุก ไม่รู้สึกเบื่อ ซึ่งเกมนี้มีจุดเด่นในการใช้ AI มาช่วยวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็ก ตัวเกมจะถามว่าเราควรทำอะไร โดยมีการให้สวมบทบาทต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ bully ในโรงเรียน นวัตกรรมที่สร้างขึ้นนี้จะมีส่วนช่วยตรวจสุขภาพจิตของเราได้ รวมทั้งเป็นการฝึกตัวเองว่าถ้าเจอสถานการณ์จริงเราควรทำอย่างไร
“ปัญหาความรุนแรงและการข่มเหงรังแกในโรงเรียนเป็นสิ่งที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น เพราะจะทำให้เด็กเสียความมั่นใจ และเป็นปมในใจไปอีกนาน อยากบอกว่าปัญหานี้ไม่สามารถแก้ได้ด้วยใครคนใดคนหนึ่ง เราควรแก้ปัญหาในภาพรวม เพื่อช่วยให้ปัญหานี้ค่อยๆ หายไป” สามนักเรียนคนเก่งได้ฝากข้อคิดที่น่าสนใจทิ้งท้าย
การประชุมวิชาการ “พระเสด็จโดยแดนชล”และพิธีมอบรางวัลการประกวดบทร้อยกรองประเภทกาพย์เห่ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อาสาสมัครกาชาดจากจุฬาฯ ร่วมกิจกรรมช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์
ความประทับใจของบัณฑิตจุฬาฯ ในรั้วจามจุรี และพิธีพระราชทานปริญญาบัตรที่ภาคภูมิใจ
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมแสดงผลงานแฟชั่นและสิ่งทอในงาน centralwOrld Thailand Graduate Fashion Week 2024
วิศวฯ จุฬาฯ เชิญร่วมบริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้