รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
16 พฤษภาคม 2561
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
รศ.(พิเศษ) ดร.พญ.รัชต์ธร ปัญจประทีป สาขาวิชาตจวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลที่ 1 ประเภทงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในรูปแบบโปสเตอร์ “ISHRS Poster Awards 2017” ในการประชุมของสมาคมศัลยกรรมปลูกผมนานาชาติ (International Society of Hair Restoration Surgery) ซึ่งเป็นการประชุมของแพทย์จากทั่วโลกกว่าพันคนที่ทำงานวิจัยในเรื่องเส้นผม จัดที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก จากผลงานวิจัยเรื่องการใช้เลเซอร์ความเข้มข้นต่ำกระตุ้นหนังศีรษะสร้างเส้นผม เพื่อแก้ปัญหาสำหรับผู้ที่มีอาการผมร่วงที่เกิดจากพันธุกรรม ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของการศึกษาในประเทศไทย และเป็นความภูมิใจที่งานวิจัยจากแพทย์ไทยได้รับรางวัลระดับโลก
รศ.(พิเศษ) ดร.พญ.รัชต์ธร เปิดเผยว่า อาการผมร่วงที่เกิดจากพันธุกรรมเป็นอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในคนอายุ 50 ปีขึ้นไปราว 50% ซึ่งเป็นในเพศชายมากกว่าเพศหญิง มีสาเหตุเกิดจากยีนของพ่อและแม่ ส่งผลให้ลูกมีลักษณะผมร่วงผมบาง รวมทั้งเกิดจากฮอร์โมนเพศชายไปเกาะที่รากผม ทำให้เส้นผมบางลงเรื่อยๆ ประกอบกับความเครียดและสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยเสริม อาการผมร่วงจากพันธุกรรมเกิดได้ตั้งแต่วัยรุ่น อายุ 16 – 17 ปีขึ้นไป ที่ผ่านมาการรักษาอาการผมร่วงด้วยสาเหตุนี้ทำได้เพียงการชะลอไม่ให้ผมร่วงเร็วกว่ากำหนด โดยทั่วไปใช้การรับประทานยาและการผ่าตัดปลูกผม
ในต่างประเทศมีการใช้เลเซอร์ความเข้มข้นต่ำกระตุ้นหนังศีรษะสร้างเส้นผมมาพอสมควรแล้ว จากประสบการณ์ในการศึกษาเรื่องของการปลูกผมที่คลินิกเส้นผมและหนังศีรษะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ทำให้ รศ.(พิเศษ) ดร.พญ.รัชต์ธร นำวิธีการนี้มาศึกษาวิจัยในคนไทย โดยศึกษาในผู้ชายและผู้หญิงอย่างละ 10 คน แบ่งการศึกษาวิจัยอออกเป็น 2 เฟส ในเฟสแรก เป็นการศึกษาทางคลินิก เริ่มจากการถ่ายรูปผม ประเมินตรวจนับเส้นผมทั้งก่อนและหลังฉายเลเซอร์ไปแล้ว 6 เดือน ส่วนในเฟสที่สองซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยที่ได้รับรางวัลครั้งนี้ เป็นการศึกษาโดยการตัดชิ้นเนื้อหนังศีรษะก่อนการรักษาและหลังจากฉายแสงเลเซอร์แล้วเป็นเวลา 6 เดือน มาศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนที่อยู่ในรากผม ซึ่งพบว่าแสงเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำมีผลทำให้เส้นผมมีโปรตีนที่สำคัญในการกระบวนการในการสร้างเส้นผมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
“วิธีการศึกษาวิจัยในเฟสที่สองนี้ จะให้คนไข้ทั้งชายและหญิงนำเครื่องเลเซอร์ที่มีลักษณะเป็นหมวกครอบที่ศีรษะซึ่งจะปล่อยแสงเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำไปที่เส้นผม ระยะเวลาการใช้งานสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆ ละ 25 นาที เป็นเวลา 6 เดือน โดยคนไข้สามารถใช้งานเองได้ ที่บ้าน ปกติแล้วมีการนำเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำมาใช้ในการรักษาผู้ทีมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เจ็บกระดูก รักษาแผลที่หายยาก เลเซอร์ความเข้มข้นต่ำเป็นแสงสีแดงที่มีความเข้มข้นต่ำมาก ไม่มีอันตรายต่อผู้ใช้งาน ปัจจุบันเครื่องมือนี้ยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แต่เริ่มมีการต่อยอดงานวิจัยโดยร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในการผลิตเครื่องมือนี้ในอนาคต”
ด้วยความโดดเด่นของการศึกษาวิจัยที่ผ่านกระบวนการศึกษาวิจัยอย่างถูกต้องที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รวมทั้งเป็นการศึกษาในระดับโมเลกุลถึงการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนในรากผมจากการฉายแสงเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำ นับเป็นงานวิจัยแรกในโลกที่ยังไม่มีการศึกษาวิจัยยืนยันในเรื่องนี้มาก่อน จึงทำให้ผลงานวิจัยเรื่องนี้ได้รับรางวัลที่ 1 ISHRS Poster Awards 2017
รศ.(พิเศษ) ดร.พญ.รัชต์ธร กล่าวเสริมว่า “อาการผมร่วงผมบางที่เกิดจากพันธุกรรมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เนื่องจากเป็นความผิดปกติของยีน คนไข้ต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง สำหรับผู้ที่มีอาการผมร่วงที่เกิดจากพันธุกรรมและต้องการรักษาด้วยเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำ ขอแนะนำว่าในขั้นแรกควรมาปรึกษาแพทย์ที่คลินิกเส้นผมและหนังศีรษะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อตรวจว่าเป็นอาการผมร่วงผมบางในระยะใด จะได้ทำการรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลา”
จุฬาฯ ต้อนรับคณะครูและนักเรียนจาก YAAE สาธารณรัฐประชาชนจีน เยี่ยมชม รับฟังข้อมูลหลักสูตรศึกษาต่อจุฬาฯ
จุฬาฯ ร่วมกับ ททท.เชิญร่วมงาน “อะ’ลอง Uttaradit” นำเสนอมุมมองใหม่ด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ณ อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ
เชิญฟังบรรยาย Chula Lunch Talk : Generative AI หนึ่งปีที่ผ่านมามีอะไรเปลี่ยนไปบ้างนะ
19 ก.ย. 67 เวลา 12.00 น.
บางโพลีฟวิ่งแลป สถาปัตย์ จุฬาฯ เป็นตัวอย่างระดับนานาชาติด้านความยั่งยืนของ ISCN report 2024
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ร่วมช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย “จุฬาฯ ร่วมใจ ช่วยภัยน้ำท่วม”
สัมมนา “From Startups to Scale-Ups: Swedish Perspective” CUTIP จุฬาฯ ร่วมส่งเสริมความสำเร็จสตาร์ทอัพไทยในระดับสากลสู่สวีเดน
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้