ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ – กรมวิชาการเกษตร ร่วมลงนามความร่วมมือด้านวิชาการ วิจัยพัฒนากัญชา กัญชง เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และเชิงพาณิชย์แบบครบวงจร

เมื่อวันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม 2565 ณ ตึกกสิกรรม กรมวิชาการเกษตร บางเขน นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมเป็นสักขีพยานพิธีลงนามความร่วมมือระหว่าง กรมวิชาการเกษตร และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการพัฒนาพืชสกุลกัญชา เพื่อพัฒนาประเทศสู่การเป็นผู้นำความเป็นเลิศทางวิชาการของเอเชีย สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ และรายได้ให้ประเทศในอนาคต ในวาระครบรอบ 50 ปี กรมวิชาการเกษตร

ในการนี้ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมวิชาการเกษตร และ ศูนย์วิจัยยาเสพติด วิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ โดยมี ศ.ดร.สถิรกร พงศ์พานิช คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ ศ.ดร.จิตรลดา อารีย์สันติชัย รองคณบดีฝ่ายวิจัย วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ และ ผศ.ดร.อุษณีย์ พึ่งปาน ที่ปรึกษาศูนย์วิจัยยาเสพติด วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามในครั้งนี้ เพื่อร่วมกันวิจัย พัฒนา และ ทดสอบสายพันธุ์กัญชาสายพันธุ์ “เพชรชมพู 1-5” ซึ่งเป็นสายพันธุ์มีลักษณะดี ปริมาณสารสำคัญ THC เด่น ทำให้ง่ายต่อการสกัดและการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีการปลูก การควบคุมป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชด้วยชีวภัณฑ์ เพื่อให้ได้ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ต่างๆ สำหรับใช้ทางการแพทย์ โดยจะทดลองในในสัตว์และมนุษย์ต่อไป

ศูนย์วิจัยยาเสพติด วิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ มีความเชี่ยวชาญเรื่องยาเสพติด เป็นศูนย์ที่ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) และ เพื่อก้าวเป็นผู้นำความเป็นเลิศทางวิชาการของเอเชีย ซึ่งจะสามารถยกระดับการพัฒนาวิจัยพืชกัญชา กัญชง ให้เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ สร้างรายได้ให้กับประชาชนทุกระดับ ทั้งเกษตรกร ประชาชนทั่วไปและภาคธุรกิจทุกประเภท เป็นการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและรายได้ให้แก่ประเทศในอนาคตต่อไป

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า