รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
4 ตุลาคม 2565
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ขนิษฐา จันทร์เจริญ
หลายคนอาจเคยประสบปัญหาฟันผุ และได้รับการอุดฟันจากทันตแพทย์กันมาบ้างแล้ว ซึ่งมักเป็นประสบการณ์ที่มาพร้อมความเจ็บปวดจนหลายครั้งเรามักจะไม่อยากไปรับการรักษา แต่ฟันผุนี่เอง ที่สามารถก่อปัญหาได้มากกว่าที่คิด
จากโพสต์ของ นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางโรคระบบทางเดินหายใจ เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2565 เกี่ยวกับผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยอาการไอ มีเสมหะ และเจ็บหน้าอกเวลาไอ ต่อมาได้รับการตรวจเพิ่มเติมและวินิจฉัยว่าเป็นหนองในช่องเยื่อหุ้มปอด (Empyema Thoracis) มีสาเหตุมาจากฟันผุหลายซี่จนเกิดเป็นหนองและลุกลามไปที่ช่องเยื่อหุ้มปอด ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ไม่บ่อยนัก แต่หากเกิดแล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงทีอาจส่งผลเสียจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
อ.นพ.ทพ.เฉลิมฤทธิ์ พฤกษ์สดใส ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับฟันผุว่ามีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียในช่องปากสะสมบริเวณฟัน และสร้างกรดทำลายเนื้อฟัน หากไม่ได้รับการอุดฟันจะมีการลุกลามจนถึงประสาทฟันทำให้มีอาการปวด ซึ่งหลายคนมักซื้อยามารับประทานบรรเทาอาการจนหายและเข้าใจว่าไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาต่อ จนส่งผลให้เกิดการติดเชื้อบริเวณช่องปาก ขากรรไกรและใบหน้าได้
การติดเชื้อบริเวณช่องปาก ขากรรไกรและใบหน้า (Oral and Maxillofacial Infection) นั้นอาจมีสาเหตุจากฟันหรือโพรงอากาศไซนัสได้ มักมีอาการปวดและบวม ซึ่งสามารถบวมได้ตั้งแต่บริเวณแก้ม ขมับ หรือใต้คาง หากลุกลามถึงกล้ามเนื้อบดเคี้ยวจะมีอาการอ้าปากได้น้อย อาจมีการติดเชื้อรุนแรงถึงบริเวณคอทำให้มีอาการกลืนลำบาก และกดหลอดลมจนหายใจลำบาก หรืออาจรุนแรงถึงขั้นติดเชื้อในกระแสเลือด จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งนอกจากการติดเชื้อลุกลามไปบริเวณทรวงอกแล้ว การติดเชื้อนั้น ยังสามารถลุกลามไปบริเวณผิวหนังทำให้เกิดการตายของผิวหนังบริเวณคอและอก รวมทั้งยังสามารถลุกลามไปบริเวณตาและสมองได้
“จะเห็นได้ว่า “แค่ฟันผุ” คงไม่ใช่แค่คำว่า “แค่” อีกต่อไป อยากให้ทุกคนมารับการตรวจสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอ หรือรีบมาปรึกษาทันตแพทย์เมื่อมีอาการดังกล่าวก่อนที่จะสายเกินไป” อ.นพ.ทพ. เฉลิมฤทธิ์ กล่าวในที่สุด
จุฬาฯ Triple Champions อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทยจากสามรายการจัดอันดับที่เป็นที่ยอมรับระดับโลก
สัมมนา “จับตาโค้งสุดท้ายเลือกตั้งสหรัฐฯ 2024: โอกาสและความท้าทายระดับโลก”
จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย TOP ของประเทศ 3 ด้าน โดย THE WUR 2025
สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อมจุฬาฯ เปิดตัวหนังสือ “การเดินทาง 50 ปี สู่สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน”
เชิญร่วมประกวดวงดนตรีและประกวดหนังสั้น เนื่องในวันเอดส์โลก ครั้งที่ 32 ประจำปี 2567
นักวิชาการศศินทร์ เผยผลวิจัยข้อเท็จจริงและโอกาสสำหรับผู้ดูแลผู้ที่มีความแตกต่างทางการรับรู้
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้