รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
5 ตุลาคม 2565
ข่าวเด่น, ความเป็นนานาชาติ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สมาคมประกันวินาศภัยไทย และสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรรมศาสตร์แห่งจุฬาฯ ประกาศเป้าหมายความร่วมมือการร่วมผลิตกำลังคนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษากับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากภาคเอกชน เพื่อให้การผลิตกำลังคนตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงาน ภายใต้ข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher education sandbox) โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นสักขีพยานในการร่วมลงนามปฏิญญาความร่วมมือและมอบนโยบายเกี่ยวกับนโยบายด้านการพัฒนากำลังคนและการสร้างความเป็นเลิศที่จำเป็นต้องสร้างกำลังคนที่มีสมรรถะสูงให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน 2565 ณ ห้องประชุม 111 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์
ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับตัวการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้ทันกับบริบทโลกที่เปลี่ยนไป ทำให้มองเห็นโอกาสของความต้องการบุคลากรด้านอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัลที่ปัจจุบันถือว่าขาดแคลนอย่างมากในตลาดแรงงาน จึงได้จัดการศึกษาในสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (Bachelor of Engineering in Computer Engineering and Digital Technology) ที่แตกต่างไปจากการเรียนตามหลักสูตรทั่วไป ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรของวงการศึกษาไทย ภายใต้ Sandbox ที่คณะมองว่าเป็นแพลตฟอร์มหนึ่งที่สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning Platform) ต้องปรับตัวให้เกิดความแตกต่าง และตอบโจทย์ของโลกยุคใหม่ในหลักสูตรภายใต้ข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างไปจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher education sandbox) เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัลให้มีทักษะที่ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี และมีความสามารถในการทำงานในภาคอุตสาหกรรมได้จริง จำนวนบัณฑิตตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการไม่ต่ำกว่า 1,000 คน ตามนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ต้องการผลิตกำลังคนสมรรถนะสูงตามความต้องการของประเทศ
หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Computer Engineering & Digital Technology เป็นหลักสูตรปริญญาตรี 3 ปีครึ่ง ที่มุ่งสร้างผลสัมฤทธิ์ทั้ง hard skills และ soft skills ในตัวบัณฑิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและรวดเร็ว โดยอาศัยคณาจารย์คุณภาพสูง เทคโนโลยีทางการศึกษา และความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมที่เข้มแข็งตลอดหลักสูตร ผ่านการเรียนและการทำงานจริงในสถานประกอบการที่มีความต่อเนื่องจนเกิดความชำนาญ โดยเริ่มจากโครงงาน การร่วมสอน และการฝึกงาน ส่งผลให้สามารถผลิตบุคลากรทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีคุณภาพให้กับประเทศไทย ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมได้เป็นจำนวนมาก โดยตั้งเป้าไว้ว่าหลักสูตรนี้จะเปิดรับนิสิต 300 คนต่อปี เริ่มรับนิสิตรุ่นแรกในปีการศึกษา 2566 ผ่านระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย TCAS รอบที่ 1-3
ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งสร้างกำลังคนสมรรถนะสูงอย่างเร่งด่วนและต้องมีคุณภาพ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวของการเคลื่อนย้ายกำลังคนสมรรถนะสูงระหว่างอุตสาหกรรม และรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยี ขั้นสูง ซึ่งการพลิกโฉมระบบการอุดมศึกษาจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องอาศัยการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมทั้งทางด้านนวัตกรรมเชิงนโยบาย นวัตกรรมเชิงโมเดลการจัดการศึกษา นวัตกรรมเชิงหลักสูตร และนวัตกรรมเชิงบริหารจัดการการจัดหลักสูตรในรูปแบบแซนด์บ็อกซ์ จึงมุ่งเน้นการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) เป็นการก้าวข้ามขีดจำกัดของการจัดการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานเดิม เพื่อจัดการศึกษารูปแบบใหม่ สร้างนวัตกรรมการอุดมศึกษา มุ่งเน้นผลิตคนให้ตอบโจทย์ความต้องการของภาคการผลิต (Demand Driven) เท่าทันความต้องการของประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งจะช่วยปลดล็อกข้อจำกัดในการจัดการศึกษา เพื่อนำไปสู่การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นสมรรถนะของผู้เรียนอย่างแท้จริง
คุณกอบศักดิ์ ดวงดี เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ปัจจุบันองค์กรภาคเอกชนกำลังมุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพบุคลากรและความสามารถในการแข่งขัน การลงนามปฏิญญาความร่วมมือการร่วมผลิตคนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาในครั้งนี้ ถือเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และภาคเอกชนไทยได้ร่วมกันสร้างแรงงานด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดิจิทัลเพื่อสนองตอบและตรงกับความต้องการของตลาดอย่างแท้จริง และยังส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญภาคเอกชน เพื่อให้เกิดการผลิตกำลังคนสมรรถนะสูงที่ตรงตามความต้องการของประเทศ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ และยังได้ผลักดันให้เกิดแนวทางการจัดการศึกษาที่แตกต่างไปจากมาตรฐานการอุดมศึกษาปัจจุบัน ผ่านการจัดการศึกษาหลักสูตร Sandbox ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล จุฬาฯ
ผศ.ดร.อรรถวิทย์ สุดแสง หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวเสริมว่า หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นรากฐานที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งเป็นยุคก้าวกระโดดที่ต้องการกำลังคนที่มีความรู้ในหลากหลายด้าน ทั้งด้านระบบฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ปัญญาประดิษฐ์ เครือข่ายคลาวด์คอมพิวเตอร์และความปลอดภัยในเครือข่ายที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลสมัยใหม่ และสามารถผสมผสานกันเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและรองรับกับเทคโนโลยีใหม่ให้กับสถานประกอบการจึงได้เปิดหลักสูตรนี้ขึ้นตามนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และเชื่อมั่นว่าจะสามารถผลิตกำลังคนสมรรถนะสูงจำนวนมากได้ตามความต้องการของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา จัดการเรียนการสอนด้วยคณาจารย์คุณภาพสูง และความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมชั้นนำ ผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้จะมีความเชี่ยวชาญในการออกแบบ วิเคราะห์ และสร้างโปรแกรมประยุกต์ของระบบซอฟต์แวร์ ระบบเชิงเลขและการประมวลผลสารสนเทศ สามารถประยุกต์หลักการทางวิศวกรรมเพื่อการแก้ปัญหาในสาขาอาชีพอื่นด้วยคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้หลักสูตรนี้ยังสามารถทำให้นิสิตมีทักษะในทุกช่วงชั้นปี ตั้งแต่ปีที่ 1 สามารถเข้าสู่กระบวนการทำงานกับองค์กรภาคเอกชนที่มีความร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในรูปแบบการฝึกงานและสหกิจศึกษา ซึ่งเป็นการเสริมความเข้มแข็งให้แก่องค์กรคู่สัญญา และเสริมสร้างสมรรถนะให้แก่นิสิตจากประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ณ สถานที่จริงและสถานการณ์จริงด้วย
หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัลต่างจากหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ปกติที่จะเน้นที่การฝึกงานและทำงานจริง โดยจะมีการฝึกงานทุกภาคฤดูร้อนและ ปี 4 เทอม 1 มีการปรับปรุงวิชาพื้นฐานให้เน้นเฉพาะเนื้อหาที่จำเป็นและเพิ่มวิชาทางเทคโนโลยีดิจิทัลที่เป็นที่ต้องการอย่างมากในอุตสาหกรรม เช่น Data Science, AI, Cloud, IoT, Agile Software Development และวิชาเลือกที่สอนโดยบริษัทภาคเอกชนชั้นนำ คาดว่าจะเปิดรับสมัครนิสิตใหม่ในปีการศึกษา 2566 ผ่านระบบ TCAS ได้ โดยมีการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทยและค่าใช้จ่ายเหมือนหลักสูตรภาษาไทยภาคปกติ ดำเนินการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาที่มีการผสมผสานการเรียนแบบออนไลน์และออนไซต์เข้าด้วยกัน โดยมีเป้าหมายด้านสัมฤทธิผลในการพัฒนาทักษะของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ ในปีการศึกษา 2566 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จะเปิดรับสมัครนิสิตระดับปริญญาตรีทั้งสองหลักสูตร คือ หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ของเดิม และหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อรองรับความต้องการกำลังคนด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ขาดแคลนอย่างมาก
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สาม
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ร่วมกับ Degree Plus เปิดอบรมหลักสูตรผู้บริหาร “Decentralized Finance and Blockchain”
วิศวฯ จุฬา จัดเสวนา “เข้าใจน้ำท่วม แนวคิดวิศวกร”
10 ต.ค. 67 เวลา 14.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 อาคารเจริญวิศวกรรม (ตึก 4) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สอง
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566
ความประทับใจของบัณฑิตจุฬาฯ ในรั้วจามจุรี และพิธีพระราชทานปริญญาบัตรที่ภาคภูมิใจ
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้