ข่าวสารจุฬาฯ

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานในพิธีไหว้ครูดนตรีไทย ชมรมดนตรีไทย สโมสรนิสิตจุฬาฯ ประจำปีการศึกษา 2565

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00 น. ณ หอประชุมจุฬาฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
เสด็จฯทรงเป็นประธานในพิธีไหว้ครูดนตรีไทย ชมรมดนตรีไทย สโมสรนิสิตจุฬาฯ ประจำปีการศึกษา 2565 โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กราบบังคมทูลรายงาน และ อ.สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ ทำหน้าที่ครูผู้ทำพิธีไหว้ครู ในการนี้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงดนตรีร่วมกับวงดนตรีชมรมดนตรีไทยสโมสรนิสิตจุฬาฯ ในเพลงโหมโรงมหาจุฬาลงกรณ์ วงดนตรีชมรมดนตรีไทย สโมสรนิสิตจุฬาฯ บรรเลงเพลงชุด “สังคีตภิสสดุดี สองขัตติยนารีศรีแผ่นดิน”เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคลแด่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษาและเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
นอกจากนี้ยังบรรเลงและขับร้องในบทเพลง “รฤกเสียงซอแสนยืนยงครูเบ็ญจรงค์ ธนโกเศศ” เพื่อระลึกถึง
อ.เบ็ญจรงค์ ธนโกเศศ ศิลปินแห่งชาติ อาจารย์ผู้สอนดนตรีไทยของชมรมดนตรีไทยมาเป็นเวลายาวนานถึง50 ปี

ในโอกาสนี้ ศ.ดร.วิพรรณ ประจวบเหมาะ อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมดนตรีไทย สโมสรนิสิตจุฬาฯ
นำคณะกรรมการชมรมเฝ้าทูลละอองพระบาทและทูลเกล้าฯ ถวายพานดอกไม้ ธูปเทียนแพ นายปฏิพล ชำนาญกลาง
ประธานชมรมดนตรีไทย สโมสรนิสิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2565
กราบบังคมทูลรายงานกิจการของชมรมดนตรีไทยในรอบปีที่ผ่านมา
จากนั้น สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ อ.สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ ครูผู้ทำพิธีไหว้ครู ครูผู้สอนของชมรมดนตรีไทย เข้าเฝ้าฯรับพระราชทานของที่ระลึก
จากนั้นทรงลงพระนามาภิไธยในสมุดทะเบียนและสมุดเยี่ยมและพระราชทานพระราชดำรัสแก่นิสิตชมรมดนตรีไทย
ทรงฉายพระฉายาลักษณ์ร่วมกับนิสิตชมรมดนตรีไทย ประจำปีการศึกษา 2564 และ 2565 ชมรมดนตรีไทย
สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดพิธีไหว้ครูดนตรีไทยขึ้นเพื่อรำลึกถึงพระคุณของครูที่สอนดนตรีไทย รวมถึงเทพทางด้านการดนตรี
ซึ่งทำให้เอกลักษณ์ทางด้านดนตรีไทยของชาติได้รับการสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน รวมถึงเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับศิษย์ และระหว่างนิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบันที่เป็นสมาชิกชมรมดนตรีไทยอีกด้วย

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า