รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
23 พฤศจิกายน 2565
ข่าวเด่น
ผู้เขียน สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทความโดย GJ van der Zanden, Senior Advisor & Visiting Professor Sustainability Leadership (สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ประชากรที่เพิ่มขึ้น
องค์การสหประชาชาติได้คาดว่าวันที่ 15 พฤศจิกายน พศ. 2565 เป็นวันที่จำนวนประชากรโลกจะถึง 8 พันล้านคน เมื่อ 100 ปีก่อนเราเกิดขึ้นมาในโลกที่มีประชากรน้อยกว่า 2 พันล้านคน ถึงแม้ว่าการเติบโตจะชะลอตัวบ้าง แต่ก็กล่าวได้ว่าประชากรในโลกเพิ่มขึ้น 200,000 คนในทุกๆวัน
มนุษย์ไม่เพียงแต่เพิ่มจำนวนขึ้น แต่ยังสูงวัยขึ้นอีกด้วย ประเทศญี่ปุ่นและบางส่วนของยุโรปมีจำนวนผู้สูงวัยมากที่สุดในโลก ในทศวรรษข้างหน้าคาดว่าประเทศจีนจะมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด โดยอาจมีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เพิ่มจาก 18% จากประชากรทั้งหมด 1.4 ล้านคน ในวันนี้เป็น 32% ในปี พ.ศ. 2583
ประชากรที่อาศัยในเมืองคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 55% ในวันนี้เป็น 68% ภายในปี พ.ศ. 2593 ซึ่งหมายความว่าจะมีคนเพิ่มขึ้น 2.2 พันล้านคน ซึ่งต้องมีที่พัก อาหาร ต้องเดินทางและใช้บริการต่างๆ การเติบโตนี้จะทำให้เกิดมหานครใหม่ในแอฟริกาและเอเชีย ส่งผลให้มีการบริโภคอุปโภคเพิ่มขึ้นอย่างมาก เฉพาะในเอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้เพียงอย่างเดียว ภายในปี พ.ศ. 2583 คาดว่าจะมีปริมาณการบริโภคอุปโภคตามเมืองต่างๆเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2553
การจัดการกับผลกระทบ
ธรรมชาติจัดสรรทุกอย่างให้เราอย่างน่าทึ่ง ตั้งแต่การรีไซเคิลน้ำ การย่อยของเสีย การผลิตอาหารหรือการนำ CO2 ออกจากอากาศเพื่อสร้างออกซิเจนที่เราหายใจเข้าไป เมื่อมนุษย์เติบโตขึ้น ผลกระทบที่ตามมาก็สูงขึ้นไปด้วย เมื่อธรรมชาติมาอยู่ในมือมนุษย์ ความสามารถของธรรมชาติในการจัดสรรทรัพยากรและความสามารถในการรับผลกระทบก็ถูกลดลงด้วย
วิถีชีวิตในบางรูปแบบส่งผลกระทบต่อโลกมากกว่ารูปแบบอื่น ปัจจุบันมนุษย์ “over-use” ธรรมชาติบนโลกมากเกินไป ถ้าทุกคนใช้ชีวิตบนโลกสไตล์สหรัฐอเมริกา เราต้องมีโลกมากกว่า 5 โลก ถ้าใช้ชีวิตสไตล์ยุโรปเราต้องมีประมาณ 3 โลก สไตล์บราซิล 1.6 โลก ในสไตล์อินเดีย 0.8 โลก เราใช้ทรัพยากรธรรมชาติ สร้างก๊าซเรือนกระจกสู่อากาศ และสร้างขยะเกินกว่าวัฏจักรของโลกจะรับได้ เชื้อเพลิงฟอสซิลที่เราเผาผลาญในแต่ละปี (และ CO2 ที่ปล่อยสู่ชั้นอากาศ) เทียบเท่ากับ การเผาผลาญพืชทั้งโลกเป็นเวลา 400 ปี ในขณะเดียวกันการตัดไม้ทำลายป่าอย่างไม่หยุดยั้งนั้นได้เปลี่ยนป่าอเมซอนจากแหล่งกักคาร์บอนให้กลายเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจก คาดว่าช่องว่างระหว่างอุปสงค์และอุปทานในการใช้น้ำจะเพิ่มขึ้นถึง 40% ภายใน พ.ศ. 2573 หากทุกคนยังใช้ชีวิตแบบเดิม
ผลกระทบของมนุษย์ต่อโลกมักมีการแสดงเป็นสูตรง่ายๆคือ: Impact = Population x Affluence x Technology การเติบโตของประชากรนั้นไม่ได้ช่วยลด Impact ของมนุษย์แน่นอน สำหรับปริมาณการบริโภคต่อคนหากใช้ GDP เป็นตัวชี้วัดนั้น เติบโตเกือบ 7 เท่า (PPP) ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา ความหวังสุดท้ายคือเทคโนโลยี หลายๆ คนอาจบอกว่าเทคโนโลยีมีพลังมหาศาล ที่จะนำมาสู่นวัตกรรมที่สามารถมาแก้ไขปัญหาของมนุษย์ได้
แต่คนมักจะมองข้ามประเด็นสำคัญ 3 ประเด็น ซึ่งเทคโนโลยีอาจทำให้เกิดผลกระทบเพิ่มขึ้นมากกว่าที่จะลดลง
1. The rebound effect (ผลย้อนกลับ): ประสิทธิภาพในการผลิตทำให้สินค้าราคาลดลงกระตุ้นให้เราบริโภคมาก เช่น เมื่อมีเครื่องปรับอากาศประสิทธิภาพสูง เราก็ซื้อมาใช้มากขึ้น หรือเที่ยวบินถูกลงคนก็เดินทางมากขึ้นเป็นเท่าตัว ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา
2. Unintended consequences (ผลที่ตามมาโดยไม่ได้ตั้งใจ) ข้อดีของเทคโนโลยีมักทำให้เรามองข้ามผลกระทบด้านลบ เช่น เทคโนโลยีใหม่อย่าง 5G สร้างความเหลื่อมล้ำมากขึ้น เนื่องจากการลงทุนในการเข้าถึงเทคโนโลยีนั้นจำกัดเฉพาะประชากรที่มีฐานะและพื้นที่ประชากรหนาแน่น หรือการที่ social media สามารถเชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกันได้ ในขณะที่สามารถที่จะให้ข้อมูลที่ผิดๆและส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของผู้ใช้จำนวนมาก
3. Politics and invested interests (การเมืองและผลประโยชน์) ถึงโลกจะไม่ขาดแคลนเงินในการแก้ปัญหาความยากจน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือด้านมลพิษ การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ มักจะชะลอตัวลงเพราะการต่อต้านทางการเมืองหรืออิทธิพลและผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมใหญ่ๆ เช่น อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล
เมื่อเราใช้ต้นทุนธรรมชาติไป ความสามารถในการรับผลกระทบของธรรมชาติก็ลดลง โมเดลปัจจุบันเน้นไปที่การสร้างความมั่งคั่ง เป็นการเติบโตด้วยต้นทุนของธรรมชาติหรือของสังคม ที่เรียกได้ว่า เป็น ‘perverse growth’ ในปี พ.ศ. 2552 Trucost ระบุว่าต้นทุนธรรมชาติของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของเราคือ 7.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 13% ของ GDP ในทำนองเดียวกัน สหรัฐฯ ใช้เงินประมาณ 120-190 พันล้านเหรียญสหรัฐในแต่ละปี เพื่อรักษาอาการหมดกำลังใจและภาวะซึมเศร้า ที่มาพร้อมกับ GDP ของประเทศ นี่คือการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เราต้องการหรือไม่ ?
Reinventing growth
ในอนาคตเราอาจเป็น “คนหลายโลก” ปัญหาและแนวทางแก้ไขของเราเป็นแบบ “หลายโลก” แต่ตอนนี้เรามีเพียงโลกเดียว ผู้นำต้องลืมความฝันลมลมแล้งแล้งของเรื่องหลายโลกและหันมาแก้ไขปัญหาของวันนี้ และลืมความเชื่อที่ว่าเมื่อเราบริโภคมากขึ้นจะทำให้ GDP สูงขึ้น และเราจะมีชีวิตที่ดีขึ้น เราต้องหาทางระดมนวัตกรรมสร้างการเติบโตใหม่ให้เข้ากับขีดจำกัดทางนิเวศวิทยาโลก และตอบโจทย์ทางสังคม
แนวคิดใหม่ๆ และโมเดลทางธุรกิจอย่างการหมุนเวียนกลับมาใช้ การร่วมมือกันของอุตสาหกรรม การแบ่งปันต่างๆ การมี Products เป็น Service แทนที่จะเป็นผลิตภัณฑ์ การคิดใหม่และแก้ปัญหาโดยวิถีธรรมชาติ แสดงให้เห็นว่าเราสามารถลดทอนการผลิตเพื่อการบริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ยังคงเติบโตทางเศรษฐกิจ งานวิจัยโดย Accenture พ.ศ. 2558 คาดการณ์ว่า Circular Economy สามารถสร้างผลผลิตเพิ่มเติมได้มากถึง 4.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี พ.ศ. 2573 โดยการลดของเสีย การกระตุ้นนวัตกรรม และการสร้างงาน สหภาพยุโรปนำร่อง แผนปฏิบัติการ Circular Economy Action Plan เพื่อนำไปสู่ EU Green Deal บริษัทต่างๆ เช่น Philips บริษัทข้ามชาติของเนเธอร์แลนด์ใช้แนวคิด Circularity เป็นแกนกลางของกลยุทธ์ และกำลังจะบรรลุเป้าหมายในปี พ.ศ. 2568 ที่ 25% ของรายได้จะมาจากธุรกิจ Circular Business และไม่เพียงแค่นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเท่านั้น นักลงทุนก็ดูให้ความสนใจกับ Circularity ดูจากข้อมูลอ้างอิงจาก Circular Business ของ Blackrock ที่ว่าเงินลงทุนใน Seed capital 20 ล้านในปี พ.ศ. 2562 กลายมาเป็น 2 พันล้านในปี พ.ศ. 2564
การที่มีคนอาศัยในเมืองหนาแน่นทำให้ระบบการทำ Urban Farming โดยใช้ hydroponics เป็นที่สนใจมากขึ้น แม้การลงทุนจะสูงและยังคงมีความท้าทายหลายอย่าง แต่เทคนิคนี้สามารถผลิตอาหารโดยใช้น้ำน้อยลง 90% ไม่ต้องใช้ดินและสามารถผลิตอาหารได้มากถึง 4 เท่าของผลผลิตต่อตารางเมตรด้วยวิธีดั้งเดิม หลายแหล่งข้อมูลคาดว่า การผลิตด้วย hydroponics ทั่วโลกจะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญเป็น 10-13 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในสิ้นทศวรรษนี้
เราต้องปรับตัวรับสังคมสูงวัย ไม่เพียงแต่การคงไว้ซึ่งผลิตภาพโดยรวม แต่รวมถึงการให้บริการ แก่กลุ่มผู้สูงวัยนี้ด้วย ซึ่งทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจมหาศาลในด้านต่างๆ เช่น การแพทย์ทางไกล เทคโนโลยีด้านสุขภาพ โภชนาการผู้สูงวัย และความช่วยเหลือในการดำรงชีวิต รวมถึงการเชื่อมโยงทางสังคม เฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างเดียว ตลาดเศรษฐกิจสำหรับผู้สูงอายุคาดว่าจะมีมูลค่า 4.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี พ.ศ. 2568 เพื่อรองรับผู้สูงวัย 600 ล้านคนที่มีอายุมากกว่า 60 ปีตามรายงานของ Ageing Asia Alliance
ญี่ปุ่นกำลังแสดงให้เห็นว่าการใช้หุ่นยนต์ช่วยมนุษย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมากกว่าจะนำมาใช้แทนที่มนุษย์ สามารถช่วยให้ประเทศดูแลประชากรผู้สูงวัยที่เพิ่มมากขึ้นและทำให้ผู้สูงวัยสามารถมีส่วนร่วมในการทำงานได้นานขึ้น นอกจากนี้ ระบบ Automation ยังตอบโจทย์ในการรักษาผลิตผลทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ในขณะที่มีปัญหาสังคมสูงวัยและจำนวนคนทำงานลดน้อยลง อย่างไรก็ตาม Automation ที่เพิ่มขึ้นมักจะทำให้พนักงานสับสนในระยะแรก จริงอยู่ที่ Automation สามารถแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสังคมผู้สูงวัยได้หลายอย่าง แต่เราต้องลงทุนกับการพัฒนาบุคลากร และคิดทบทวนนโยบายการกระจายเทคโนโลยีควบคู่กันไป เพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสและจะไม่มีใครถูกลืม
ส่วนในฟินแลนด์ การทดลองปรับรายได้พื้นฐานทั่วประเทศในปี พ.ศ. 2563 แม้จะไม่ได้เพิ่มการจ้างงานอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้เข้าร่วมการทดลองดีขึ้นอย่างมาก เช่นเดียวกับการสร้างการตอบรับเชิงบวกทางสังคม เช่น ระดับความไว้ใจในสังคมและสถาบันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างประสิทธิผลโดยรวม การทดลองของฟินแลนด์กระตุ้นให้เกิดการทดลองเพิ่มเติมกับแนวคิดนี้ ในส่วนอื่นๆ ของโลก
นอกเหนือจากการหาวิธีแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีแล้ว นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญกำลังเบนความสนใจไปยังพฤติกรรมการบริโภค เราสามารถช่วยให้คนในสังคมมีความสุขและมีสุขภาพดีขึ้นด้วยการสนับสนุนความเจริญทางด้านจิตใจมากกว่าทางด้านวัตถุได้หรือไม่ ?
เมื่อคนเราอายุมากขึ้นและมีสติปัญญามากขึ้นก็มักจะเรียนรู้ว่า ‘สิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตนั้นได้มาฟรี’ เช่น การเข้าถึงจิตใจของตนเอง การเข้าใจเพื่อนหรือการเชื่อมโยงกับธรรมชาติ บางทีประชากรสูงวัยอาจเห็นคุณค่าทางวัตถุน้อยลงและนิยมปรัชญาชีวิตเพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมต่างๆ เช่น FMCG แฟชั่น การท่องเที่ยว อาหาร รีเทล เป็นผู้สร้างแบรนด์และสร้าง เทรนด์การบริโภคที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด ผู้สร้างแบรนด์มีความพร้อมมากในการนำไปสู่ การบริโภคแบบ ‘dematerialise’ โดยไม่ลดคุณค่าของสินค้า แต่เน้นในคุณค่าที่จับต้องไม่ได้ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาด หรือโดยการเปลี่ยนค่านิยมของผู้บริโภค วัฒนธรรมการทำอาหารญี่ปุ่นดูเหมือนจะใช้หลักปรัชญานี้ได้เป็นอย่างดี เช่น ในการเสิรฟ์สตรอเบอร์รี่ลูกเดียวเป็นของหวานตอนจบมื้ออาหาร นับเป็นสุดยอดการนำเสนออาหารมื้อค่ำพิเศษแบบมินิมอล เมื่อใดที่เราเรียนรู้และนำปรัชญานี้มาใช้และจะชื่นชมว่าคำว่า ‘Less is more’ หรือ ‘น้อย (สิ่ง) คือมากกว่า (ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น)’ เมื่อนั้นเราอาจจะเดินมาถูกทางที่จะนำไปสู่ความเติบโตแบบยั่งยืน
จุฬาฯ Triple Champions อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทยจากสามรายการจัดอันดับที่เป็นที่ยอมรับระดับโลก
สัมมนา “จับตาโค้งสุดท้ายเลือกตั้งสหรัฐฯ 2024: โอกาสและความท้าทายระดับโลก”
จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย TOP ของประเทศ 3 ด้าน โดย THE WUR 2025
สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อมจุฬาฯ เปิดตัวหนังสือ “การเดินทาง 50 ปี สู่สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน”
เชิญร่วมประกวดวงดนตรีและประกวดหนังสั้น เนื่องในวันเอดส์โลก ครั้งที่ 32 ประจำปี 2567
นักวิชาการศศินทร์ เผยผลวิจัยข้อเท็จจริงและโอกาสสำหรับผู้ดูแลผู้ที่มีความแตกต่างทางการรับรู้
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้