รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
10 มกราคม 2566
ข่าวเด่น
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ผสานความร่วมมือระหว่างกันเพื่อการพัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการและการบริหารจัดการ โดยมี รศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และ ศ.นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้ เมื่อวันจันทร์ที่ 9 มกราคม 2566 ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 2 อาคารไชยยศสมบัติ 2 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ
ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพของบุคลากร นิสิตนักศึกษาทั้งสองสถาบัน ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการ การบริหารจัดการ และเรื่องที่เกี่ยวข้องต่อไป
รศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เปิดเผยว่า การผสานกันระหว่างความรู้ในด้านบริหารธุรกิจกับการแพทย์และสาธารณสุขเป็นสิ่งสำคัญที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน ความร่วมมือระหว่างคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นการบูรณาการข้ามศาสตร์ระหว่างสองสถาบัน เชื่อมั่นว่าจะเป็นพลังที่ ทำให้นิสิตนักศึกษาได้เกิดความรู้และประสบการณ์ ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการผนึกกำลังกันเพื่อสร้างผู้นำแห่งอนาคต (Future Leaders) สิ่งที่จะดำเนินการในระยะเริ่มแรกคือการจัดการโครงการต่างๆ ทางด้านธุรกิจและการตลาดเพื่อพัฒนาความรู้ระหว่างทั้งสองสถาบัน การนำความรู้คืนสู่ประชาชนและสังคม และการจัดสัมมนาให้ความรู้การจัดการด้านการสาธารณสุขแก่สองสถาบันและชุมชน
ศ.นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลมีความตั้งใจที่จะใช้ความรู้ความสามารถของทั้งสองสถาบันในการบริหารจัดการโรงพยาบาล โดยนำศาสตร์ทั้งสองสาขามาบูรณาการร่วมกัน เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์สร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการดูแลผู้ป่วย และการทำวิจัย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ก่อให้เกิดเป็นประโยชน์ต่อนิสิตนักศึกษาและต่อสังคมไทย ทั้งนี้จะมีโครงการอีกมากที่จะดำเนินการต่อไปภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้
รศ.นพ.ประภัทร วานิชพงษ์พันธุ์ รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและวิเทศสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลเป็นสถาบันการแพทย์แห่งแรกของประเทศไทย มีจุดแข็งทางด้านความรู้และวิชาการแพทย์ เป็นศูนย์รวมของบุคลากรทางการแพทย์ระดับสูงที่มีความรู้ความชำนาญที่ผลิตแพทย์ที่มีคุณภาพออกไปรับใช้สังคม ในขณะเดียวกัน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลก็ยังต้องการรับความร่วมมือจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เพื่อพัฒนาการดำเนินการด้านการบริหารงาน ความร่วมมือในครั้งนี้จึงเป็นโอกาสที่ดีในการพัฒนาการดำเนินการของคณะฯ ให้ได้มาตรฐานด้านวิชาการแพทย์และการเลี้ยงตัวเองได้ในระยะยาว
ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล หัวหน้าภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ กล่าวว่า การพัฒนานิสิตนักศึกษาเป็นหัวใจสำคัญที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้เกิดขึ้น การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลจะร่วมมือระหว่างกันใน 4 ด้าน ได้แก่ 1. ความร่วมมือเพื่อพัฒนานิสิตนักศึกษา จะจัดให้มีกิจกรรมให้นิสิตภาควิชาการตลาดชั้นปีที่ 4 ได้ทำวิจัยและแผนกลยุทธ์แก่คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล รวมทั้งมีการเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างนิสิตนักศึกษาทั้งสองสถาบัน 2. การแลกเปลี่ยนบรรยายให้ความรู้ซึ่งกันและกัน 3. การทำวิจัยในเชิงสหวิทยาการ (Interdisplinary Research) ร่วมกัน และ 4. การสร้างหลักสูตรระดับปริญญาตรีและปริญญาโทร่วมกันในอนาคต ความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นมิติสำคัญที่จะสร้างปรากฏการณ์ให้กับวงการอุดมศึกษาไทย
จุฬาฯ จัดงาน Chulalongkorn University’s Open House for International Programs 2025 แนะนำหลักสูตรภาษาอังกฤษของจุฬาฯ สู่การเป็นผู้นำทางการศึกษาระดับนานาชาติ
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ปัตตานี คว้ารางวัลระดับชาติ โล่ประกาศเกียรติคุณ “ผู้มีคุณูปการต่อเยาวชนมุสลิมดีเด่นแห่งชาติ” สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ศ.ดร.นพ.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล อดีตรองอธิการบดีจุฬาฯ ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่น ประเภทบริหาร ด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2567 จากกระทรวงสาธารณสุข
จุฬาฯ เปิดโครงการอบรมครู “พิพิธภารัต 2567” และพิธีลงนาม MOU ส่งเสริมการสอนภาษาฮินดี
เชิญชวนนิสิตร่วมโครงการประเมินผลการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านระบบ myCourseVille ปีการศึกษา 2567
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้