รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
สีหนาท สวนแก้ว
สีหนาท สวนแก้ว/ชรภิญญ์ พงษ์ธรพิพัฒน์
เพลง “ร่มจามจุรี” คาดว่า แต่งขึ้นในราวปี พ.ศ. 2523 ด้วยเงื่อนไขของเวลาและความพลัดพรากอันเป็นสัจธรรม เนื้อหาและทำนองของบทเพลงจึงเต็มไปด้วยความรู้สึกที่อาลัยอาวรณ์ แสนเสียดาย ที่จะต้องจากสถานศึกษา ซึ่งอุดมไปด้วยมิตรภาพ ความรัก และความผูกพัน บทเพลงทำให้นึกถึงภาพบรรยากาศภายในรั้วจุฬาฯ ที่ร่วมสานสายใยระหว่างพี่น้องและเพื่อนใต้ร่มจามจุรี จนกระทั่งกลายมาเป็นสายสัมพันธ์ระหว่างลูกจุฬาฯ ที่สืบทอดต่อกันมาอย่างไม่มีวันขาดสาย บทเพลงนี้จึงเปรียบเสมือนเพลงร่ำลาอีกบทหนึ่งของชีวิตนิสิตแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เชื่อว่าชาวจุฬาฯ ทุกคนคงรู้สึก เช่นเดียวกันว่า ถึงแม้ว่า จะต้องจากไปก็จะมิไปลับ “จะกลับมาเยือน” ดังปรากฏเป็นข้อความในวรรคสุดท้ายของเพลงนี้
เมื่อก้าวเข้ามาสู่แดนร่มจามจุรี เอิบอิ่มฤดีเย็นใจใต้ร่มใบบัง เหมือนไม้โอบอวยชัยให้สมหวัง เหมือนเป็นกำลังใจให้ก้าวเดิน ได้อาศัยร่มใบต้นจามจุรี สุขฤดีนี้คือจุฬาลงกรณ์ รู้เรียนร่ำพร่ำเพียรเพื่อเกียรติขจร หวังเชิดชูนามกรแห่งจุฬาฯ เมื่อจะก้าวออกไปจากอกไกลเงาจามจุรี จากถิ่นนี้นามที่จุฬาลงกรณ์ ลมโชยโบกก้านใบให้พร ขอลาก่อนไม่ไปลับจะกลับเยือน
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย