โครงการ Chula Zero Waste เป็นโครงการจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตรายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อมและสำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาฯ ร่วมกับคณาจารย์ นิสิต และบุคลากรที่สนใจ
Chula Zero Waste มีเป้าหมายเพื่อจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตรายภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างเป็นระบบและยั่งยืน รวมทั้งปลูกฝังจิตสำนึกให้นิสิตและบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความรู้ ความเข้าใจ เห็นความสำคัญของการลดและคัดแยกขยะ และปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและความเป็นพลเมืองโลก
Chula Zero Waste ดำเนินงานเพื่อจัดการขยะอย่างครบวงจรด้วยหลักการ Waste Management Hierarchy และ หลัก 3Rs Reduce, Reuse, Recycle มุ่งเน้นการลดหรือป้องกันไม่ให้เกิดขยะตั้งแต่ต้นทาง มีการดำเนินงานหลากหลายรูปแบบ เช่น การประกาศมาตรการลดขยะพลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการ My Bottle ติดตั้งตู้กดน้ำดื่มฟรีทั่วมหาวิทยาลัย ส่งเสริมให้ชาวจุฬาฯ พกกระบอกน้ำส่วนตัว โครงการ My Cup สนับสนุนร้านกาแฟที่ให้ส่วนลดราคาเครื่องดื่มแก่ลูกค้าที่นำแก้วส่วนตัวมาใส่เครื่องดื่ม การบริหารพลาสติกชีวภาพอย่างครบวงจร (แก้ว Zero-Waste Cup) และโครงการจัดการขยะอื่นๆ เช่น โครงการลดและแยกขยะในสำนักงาน (Green Office) โครงการถังขยะเเยกขยะอันตรายและขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) เป็นต้น
จากการดำเนินงานของ Chula Zero Waste จุฬาฯ ลดการใช้ถุงพลาสติกในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปได้ร้อยละ 90 หรือราว 4,700,000 ใบ และมีปริมาณขยะที่แยกและจัดการได้อย่างถูกวิธีตั้งแต่เริ่มโครงการ 493 ตัน จากความสำเร็จนี้ Chula Zero Waste ได้ส่งต่อองค์ความรู้ด้านการจัดการขยะอย่างยั่งยืนสู่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง ทั้งภาครัฐ เอกชน และสถานศึกษา
254 อาคารสถาบัน 2ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทรศัพท์0 2218 8127
อีเมลchulazerowaste@gmail.com
254 อาคารจามจุรี 5 ชั้น 4ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวันกรุงเทพมหานคร 10330
โทรศัพท์0 2218 0139
อีเมลprm@chula.ac.th
เว็บไซต์http://www.chulazerowaste.chula.ac.th/
Facebookhttps://www.facebook.com/chulazerowaste
Twitterhttps://twitter.com/chulazerowaste
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย