รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 สิงหาคม 2567
ข่าวเด่น
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
ชมรม CEO Chula หรือ Chulalongkorn Entrepreneur Organization ชมรมที่ก่อตั้งขึ้นโดยนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ Whizdom Craftz Samyan by MQDC บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด จัดงานเปิดตัวการแข่งขัน “Beat the Biz 2024 by Whizdom Craftz Samyan” เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2567 ณ Lido Connect ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้เยาวชนที่มีความสนใจในธุรกิจ SMEs และมีความใฝ่ฝันที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจ ได้พัฒนาทักษะและองค์ความรู้จากผู้ประกอบการธุรกิจที่มีชื่อเสียงกว่า 40 แบรนด์ ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้และการลงมือทำจริงตลอดการแข่งขัน
นายรัญชน์ ตั้งกิจงามวงศ์ ประธาน CEO Chula กล่าวว่าการแข่งขันครั้งนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 5 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้นิสิตจุฬาฯ ได้มีโอกาสเริ่มต้นธุรกิจ SMEs ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย การแข่งขันในปีนี้เปิดรับนิสิตจากทุกคณะและชั้นปี ที่มีความสนใจและต้องการพัฒนาทักษะทางธุรกิจผ่านประสบการณ์จริง โดยมี Stakeholders ที่เป็นเจ้าของธุรกิจให้คำปรึกษาและคำแนะนำตลอดการแข่งขัน ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2567 จนถึงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2567
นายรัญชน์ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “ผมและทีมงาน CEO Chula รู้สึกขอบคุณทุกองค์กรที่ให้การสนับสนุนการแข่งขันในครั้งนี้ พวกเราเชื่อมั่นว่างานนี้จะสร้างแรงบันดาลใจและเปิดโอกาสให้เยาวชนที่มีความสนใจในธุรกิจ SMEs ได้เริ่มต้นอย่างมีหลักการ และสร้างความสำเร็จอย่างยั่งยืนในอนาคต”
การแข่งขัน “Beat the Biz 2024” ในปีนี้พิเศษกว่าที่ผ่านมา เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจาก Whizdom Craftz Samyan ซึ่งเป็นโครงการคอนโดมิเนียมจาก MQDC
ดร.วิทยา สินทราพรรณทร ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการตลาดโครงการ MQDC กล่าวถึงการร่วมมือในครั้งนี้ว่า “โครงการนี้เป็นเวทีให้นิสิตจุฬาฯ ได้แสดงความคิดและความสามารถในการพัฒนาโมเดลธุรกิจต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อนิสิตในการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่โลกธุรกิจจริง”
นายชนวีร์ หอมเตย CEO Shinkanzen Sushi และ นายวริศ บูลกุล CEO & Co-Founder Acai Story ซึ่งเป็นที่ปรึกษาในการจัดการแข่งขันนี้ เผยว่า การแข่งขันนี้มีพัฒนาการที่น่าสนใจมากขึ้นทุกปี และเป็นโอกาสที่ดีให้นิสิตได้พัฒนาแนวคิดและแบรนด์ของตนจนเป็นที่รู้จักในวงกว้าง
การแข่งขันจะสิ้นสุดลงด้วยการนำเสนอผลงานในรอบ Final Pitch ที่นิสิตทุกทีมจะได้นำเสนอผลงานของตนต่อคณะกรรมการและแขกผู้มีเกียรติ รวมทั้งการทดลองขายสินค้าจริงในงาน CEO Festival ซึ่งถือเป็นเทศกาลดนตรีและอาหารที่ประสบความสำเร็จที่สุดงานหนึ่งในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากยอดผู้เข้าร่วมกว่า 8,000 คนในปีที่ผ่านมา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการ “ผลกระทบของแผ่นดินไหวต่อเขื่อนภูมิพล (ยันฮี)” แลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อการป้องกันและรับมือภัยพิบัติในอนาคต
6 พ.ค. 2568 เวลา 10.00 – 12.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 ตึก 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการและงานเปิดตัว “เรื่องของเรา” ภาพยนตร์จากงานวิจัย สู่สันติภาพชายแดนใต้
6 พฤษภาคม 2568 เวลา 16.30 - 19.30 น. โรงภาพยนตร์ลิโด้
จุฬาฯ ร่วมมือ UOB เปิดตัวระบบ Virtual Account สนับสนุนงานวิจัย
จุฬาฯ เปิดเวทีปาฐกถาเกียรติยศ “เวฬา ณ จุฬาลงกรณ์ฯ” ครั้งที่ 3 รับฟังวิสัยทัศน์ “การพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อฝ่าวิกฤติภัยพิบัติทางธรรมชาติ”
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เชิญร่วมฟังเสวนา “ธุรกิจไทยหลังนโยบาย Trump”
2 พฤษภาคม 2568 เวลา 15.00 - 16.30 น. CBS Cinema อาคารไชยยศสมบัติ 1 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
อบรมเชิงปฏิบัติการ “Work Fit By Chula ทำงานก็ต้องฟิต บุคลิกและสุขภาพต้องดี”
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้